เรามีไอเดียแผนการเรียนการสอนเรื่องมลพิษพลาสติก และโลกที่ปราศจากขยะในอนาคตมาฝาก

เริ่มจากในห้องเรียน: ทิปส์ 5 ข้อในการสร้างบรรยากาศห้องเรียนให้ไม่มีพลาสติก

  1. ใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนแบบใช้ซ้ำได้ และหลีกเลี่ยงการซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ห่อหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วทิ้ง
  2. ติดป้ายการเรียนการสอนเรื่องมลพิษพลาสติกแบบเข้าใจง่ายบนผนังห้องเรียนที่เด็กๆ ทุกคนมองเห็นตลอด
  3. ในชั่วโมงศิลปะ ลองหาภาชนะใช้ซ้ำมาใส่อุปกรณ์ศิลปะ เช่น สี แทนการใช้ภาชนะใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  4. เปลี่ยนสิ่งของอื่นๆ ในห้องเรียนที่เป็นแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งให้เป็นแบบใช้ซ้ำแทน
  5. การตกแต่งห้องเรียน ลองมองหาสิ่งของใช้ซ้ำ แล้วเศษกระดาษเหลือใช้มาตัดตกแต่งเป็นรูปดอกไม้ รูปสัตว์ต่างๆ แล้วเอามาตกแต่งห้องเรียนเพิ่มความน่ารัก

กิจกรรมสนุกๆ ที่สอนเด็กๆ เรื่องปัญหาขยะพลาสิกที่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ 

ในกิจกรรมนี้ คุณครูลองใช้สิ่งที่นักเรียนมองเห็นและจินตนาการตามได้ และนำสิ่งตามธรรมชาติมาช่วยให้เด็กๆ รู้สึกได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา


กิจกรรม Plastic pollution 

มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย 

  1. ปากกา หรือชอล์กเขียนกระดาน
  2. กระดานดำ หรือกระดานไวท์บอร์ด
  3. รูปภาพธรรมชาติใกล้ตัวเด็กๆ เช่น แม่น้ำลำคลอง ทะเล ภาพตัวอย่างคลิก
  4. สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่พบได้ในธรรมชาติใกล้ตัวเด็กๆ เช่น ก้อนหิน สาหร่าย ทราย 
  5. พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก แก้วกาแฟพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติก

ขั้นตอนการเล่น

  1. ให้นักเรียนยืน/นั่งแบบครึ่งวงกลม
  2. ให้นักเรียนดูภาพธรรมชาติรอบตัวที่เตรียมไว้ เช่น แม่น้ำลำคลอง เราจะใช้ภาพนี้เป็นตัวอย่างในการวาดรูปลงบนกระดาน โดยวาด 2 รูป
  3. ถามนักเรียนว่า สภาพแวดล้อมแต่ละที่จะมีสัตว์ชนิดใดอาศัยอยู่ และคุณครูก็วาดเพิ่มลงไป
  4. แนะนำสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน ที่คุณครูเตรียมมา ให้นักเรียนบอกลักษณะของสิ่งนั้นๆ และให้พวกเขาระบุด้วยว่า เขาพบสิ่งเหล่านี้ได้แถวไหนใกล้บ้านและพวกมันเป็นของแม่น้ำลำคลอง ทะเล หรือทั้งสองอย่าง
  5. นำพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งมาให้นักเรียนดูและให้เด็กๆ บอกลักษณะของสิ่งนั้น คุณครูวาดรูปพลาสติกเหล่านี้ลงบนกระดาน และถามนักเรียนว่ามลพิษพลาสติกมันดีหรือไม่ดี และมันส่งผลกระทบอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่า   
  6. หลังจากนั้นเริ่มพูดคุยกับเด็กๆ ในเรื่องนี้ ฟังความเห็นพวกเขาว่าเขาอยากทำอะไรให้โลกดีขึ้น 

ARTWORK: WHERE? - No one wears a watch. © Mandy Barker / Greenpeace
© Mandy Barker / Greenpeace

The Story of Plastic

เลือกของใช้ที่ทำจากพลาสติกมาจำนวนหนึ่งแล้วบอกเล่าเรื่องราววงจรชีวิตของพวกมัน เปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนถึงระยะเวลาที่มันมีประโยชน์กับระยะเวลาที่มันทำลายสิ่งแวดล้อม แบบไหนยาวนานกว่ากัน

มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย

  1. พลาสติกที่ทำความสะอาดแล้ว เช่น ขวดน้ำดื่ม พลาสติกหุ้มฝาเครื่องดื่ม  ช้อนส้อมพลาสติก ถุงพลาสติก แก้วกาแฟ
  2. กระดาษรีไซเคิล
  3. ดินสอสี

ขั้นตอนการเล่น

  1. คุณครูเลือกพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่พบได้ทั่วไปและใช้ในชีวิตประจำวันมาให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน
  2. เล่าเรื่องราวของพลาสติกชิ้นนั้นให้นักเรียนฟัง เช่น วงจรชีวิต แหล่งกำเนิด เช่น ทำไมมันจึงถูกสร้างขึ้นมาและมันจะจบลงที่ไหน ลองให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงระยะเวลาอันสั้นที่มันมีชีวิตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เปรียบเทียบกับระยะเวลาอันยาวนานที่มันเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า พลาสติกชิ้นนั้นๆ ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ สัตว์ และมนุษย์อย่างไร
  4. นักเรียนสร้างเรื่องราวพลาสติกในความเข้าใจของตนเอง โดยการให้พวกเขาวาดภาพวงจรชีวิตแต่ละขั้นของพลาสติกและนำพลาสติกที่ครูเตรียมไว้ติดลงบนกระดาษ
  5. นักเรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเองวาดกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน
  6. ก่อนจบกิจกรรม คุณครูชวนนักเรียนพูดคุยถึงแนวทางหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

MAKE SMTHNG Event in Zagreb. © Ivan  Šejic / Greenpeace
© Ivan Šejic / Greenpeace

กิจกรรม ‘แต่งแต้มสิ่งของใช้ซ้ำตามใจชอบ’

สร้างพลังบวกให้นักเรียนอยากหยุดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยการให้พวกเขาแต่งแต้มวัสดุทางเลือกที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ให้สวยงามตามความชอบของพวกเขาเอง

มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย

  1. ปากกามาร์คเกอร์กันน้ำ 
  2. แปรงและสีที่ไม่มีสารอันตรายเป็นส่วนประกอบ
  3. สิ่งของใช้ซ้ำซึ่งนักเรียนสามารถปรับแต่งได้ เช่น แก้วเซรามิกขนาดเล็ก
  4. จานและช้อนส้อมที่นำมาใช้ซ้ำได้ 
  5. ขวดน้ำดื่มใช้ซ้ำ

ขั้นตอนการประดิษฐ์

  1. จัดมุมสิ่งประดิษฐ์งานศิลปะ ที่มีสิ่งของใช้ซ้ำ เช่น แก้วเซรามิก ช้อนส้อม และขวดน้ำดื่ม ฯลฯ ซึ่งนักเรียนสามารถหยิบไปตกแต่งได้
  2. ให้นักเรียนตกแต่งสิ่งของที่พวกเขาเลือกมาด้วยปากกามาร์คเกอร์และสี
  3. กระตุ้นนักเรียนให้ใช้ของที่พวกเขาแต่งแต้มแทนการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และลองตั้งคำถามให้พวกเขาลองคิดดูว่า ทำไมเราถึงต้องใช้แก้วพลาสติกหล่ะ ในเมื่อเรามีแก้วเซรามิกสวยๆ อยู่แล้ว เป็นต้น 

เรื่องเล่าจากธรรมชาติ

คุณครูสร้างมุมอ่านหนังสือสำหรับหนังสือเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน และทำให้มุมนี้กลายเป็นมุมอ่านหนังสือสำหรับนักเรียนทุกคน หรือคุณครูลองพิจารณาหยิบหัวข้อสักหนึ่งหัวข้อในหนังสือมาอ่านในชั้นเรียนได้ หรือจัดทำมุมใดมุมหนึ่งในห้องเรียนเป็นหนังสือสำหรับโลกหรือสิ่งแวดล้อม

หนังสือแนะนำ

  1. Somebody Swallowed Stanley by Sarah Roberts (bonus lesson plan) 
  2. One Plastic Bag by Miranda Paul
  3. I Can Save the Earth by Alison Inches
  4. Don’t Throw That Away! by Lara Bergen
  5. Touch the Earth by Julian Lennon
  6. Miss Fox’ Class Goes Green by Eileen Spinelli