เริ่มจากในห้องเรียน: ทิปส์ 5 ข้อในการสร้างบรรยากาศห้องเรียนให้ไม่มีพลาสติก

สร้างพลังบวกให้นักเรียนมองหาทางออกของมลพิษพลาสติกอย่างสร้างสรรค์

เด็กๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะพร้อมในการสำรวจและทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ความยุติธรรม การดูแลรักษา และชุมชนของพวกเขา กิจกรรมด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของบทเรียนที่สอดคล้องกับความใคร่รู้ของเด็กๆ ซึ่งคุณครูสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียนภายใต้การดูแลได้

ARTWORK: WHERE? - No one wears a watch. © Mandy Barker / Greenpeace
© Mandy Barker / Greenpeace

กิจกรรม พลาสติกคืออะไร?

คุณครูสร้างแบบทดสอบสั้นๆ เพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับพลาสติกของเด็กๆ และช่วยให้พวกเขาเข้าใจผลกระทบของมลพิษพลาสติกในสิ่งแวดล้อม

มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย

ขั้นตอนการเล่น

  1. ตั้งคำถามกับนักเรียนว่าพวกเขารู้เรื่องพลาสติกอย่างไรบ้าง และให้พวกเขาทราบ ลองให้พวกเขาอธิบายให้ฟังง่ายๆ 
  2. หลังจากนั้นสร้างความท้าทายให้นักเรียนเพิ่มขึ้นโดยการให้พวกเขาลองทำแบบทดสอบ
  3. คุณครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบพร้อมกันทีละคำถาม ให้นักเรียนลองเดาคำตอบและยกมือขึ้นเมื่อคุณครูอ่านคำตอบข้อนั้น
  4. พูดคุยถกเถียงในบางคำถามที่มีข้อสงสัย และคุยกันว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้โลกดีขึ้น

กิจกรรม พลาสติกเกินความจำเป็น?

คุณครูเปิดวิดีโอให้เด็กๆ ดู เกี่ยวกับการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งที่เกินความจำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดและเกิดการถกเถียงเรื่องมลพิษพลาสติกในห้องเรียน และนักเรียนช่วยกันคิดว่า พวกเขาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรบ้าง

มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย

ขั้นตอนการเล่น

  1. คุณครูเปิดวิดีโอเกี่ยวกับความแพร่หลายของพลาสติกในชีวิตประจำวันให้นักเรียนดู เช่น Exessive Plastic Running Your Day? วิดีโอจากกรีนพีซ ออสเตรเลีย
  2. คุณครูชวนนักเรียนคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวิดีโอและกระตุ้นให้นักเรียนเห็นว่า การใช้พลาสติกแต่ละครั้งอาจดูไม่เป็นอันตราย แต่ผลกระทบจากการที่พลาสติกสะสมในสิ่งแวดล้อมนั้นส่งผลกระทบอย่างมาก
  3. ให้นักเรียนเขียนรายการใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้งของตนเองใน 1 วัน 1 สัปดาห์ และ 1 ปี ออกมา อาจจะทำเป็นงานกลุ่มหรืองานเดี่ยวก็ได้
  4. เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ให้ใช้สิ่งที่นักเรียนเขียนกันเป็นเครื่องย้ำเตือนถึงผลกระทบของพลาสติกและทำไมสิ่งเหล่านี้จึงไม่ควรอยู่ใน ‘มหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม’ ของเรา 
  5. นักเรียนระดมสมองร่วมกันว่าเราจะใช้พลาสติกให้น้อยลงได้อย่างไร และเราจะกระตุ้นคนอื่นๆ ให้ลดใช้พลาสติกเหมือนเราได้อย่างไร เราจะดำเนินการอย่างไรเพื่อยุติการพึ่งพาพลาสติกและผลิตภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

สร้างพลังบวกให้นักเรียนหยุดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยการให้พวกเขาแต่งแต้มวัสดุทางเลือกที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ให้สวยงามตามความชอบของพวกเขาเอง

กิจกรรม ซื้อน้อย ใช้ซ้ำ ทำเอง

มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย

ขั้นตอนการเล่น

  1. คุณครูจัดมุมศิลปะ ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ศิลปะและวัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ไม่ใช้แล้ววางไว้ด้วยเพื่อให้นักเรียนหยิบใช้ได้ตามสะดวก 
  2. คุณครูเปิดอินสตาแกรม MAKE SMTHNG ซึ่งเป็นกิจกรรมของกรีนพีซ ให้นักเรียนดูสำหรับเป็นแรงบันดาลใจและได้เห็นตัวอย่างของการประดิษฐ์สิ่งของอย่างง่ายๆ เช่น สมุด กระถางต้นไม้ และถุงผ้าใช้ซ้ำ เป็นต้น 
  3. นักเรียนลงมือสร้างสรรค์วัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้งที่คุณครูเตรียมให้ การที่เด็กๆ ได้ลงมือทำเองจะทำให้พวกเขารู้สึกว่าสิ่งของใช้ซ้ำที่เขาประดิษฐ์ขึ้นเองนั้นมันสวยและเท่กว่าสิ่งของใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  4. หากกิจกรรมนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดี คุณครูลองพิจารณาจัดงาน MAKE SMTHNG หรืองานอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เด็กๆ นำของที่ไม่ใช้แล้วกลับมาสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ที่ดีกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อของใหม่และถือเป็นการท้าทายลัทธิบริโภคนิยมของพวกเขาด้วย 

This image has an empty alt attribute; its file name is 3746c196-book.jpg

กิจกรรม ‘เรื่องเล่าจากธรรมชาติ’

คุณครูสร้างมุมอ่านหนังสือสำหรับหนังสือเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถมาหยิบอ่านได้ตลอดเวลา

เริ่มอ่านหนังสือกันเลย

จัดทำมุมใดมุมหนึ่งในห้องเรียนเป็นหนังสือสำหรับโลกหรือสิ่งแวดล้อม เลือกหนังสือที่เกี่ยวกับพลาสติก สภาพภูมิอาการ และสิ่งแวดล้อม

หนังสือแนะนำ

  1. 1.Greta and the Giants by Zoë Tucker 
  2. Water, Water Everywhere! Stop Pollution, Save Our Oceans 
  3. Barefoot Books World Atlas by Nick Crane and David Dean 
  4. Heroes of the Environment: True Stories of People Who Are Helping to Protect Our Planet by Harriet Rohmer 
  5. The Talking Earth by Jean Craighead George 
  6. We Are All Greta: Be Inspired to Save the World by Valentina Giannella