ยุติยุคเชื้อเพลิงฟอสซิล

จากข้อมูลของเว็บไซต์ Climate Watch ระบุว่า ในปี 2563 ภาคพลังงานเป็นกลุ่มมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด กว่าร้อยละ 73 ส่งผลกระทบให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรง

กลุ่มทุนอุตสาหกรรมฟอสซิลยังคงมุ่งขยายโครงการก๊าซฟอสซิล ถ่านหิน ด้วยข้ออ้างด้านความมั่นคงพลังงาน ทำให้เราสูญเสียโอกาสเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่พลังงานหมุนเวียน

Patnów Power Coal Fired Power Station. © Greenpeace / Will Rose

เชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังทำลายสภาพภูมิอากาศ

พลังงานฟอสซิลทั้ง ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ จำนวนมากตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การขุดเจาะ การขนส่ง และการผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า 

นอกจากนี้โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลยังเป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็กมากไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ปรอท (Hg) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เป็นต้น 

ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนทั่วโลกกว่า 7 ล้านคนต่อปี

แม้ว่าในปัจจุบันได้มีบางภาคส่วนหรือบางองค์กรได้นำบางเทคโนโลยีและบางมาตรการ เช่น การดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS-Carbon Capture Storage), ไฮโดรเจน Hydrogen, แอมโมเนีย (Ammonia) และการซื้อขายคาร์บอน (คาร์บอนเครดิต) 

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการสนับสนุนบางกลุ่มประเทศและกลุ่มทุนอุตสาหกรรมฟอสซิลที่ต้องการยืดอายุการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้านั่นเอง สิ่งที่น่ากังวลคือความใหม่ของเทคโนโลยีที่เรายังไม่รับรู้ข้อมูลเชิงลึกและรอบด้าน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจและสนับสนุนการยืดอายุของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ที่เป็นหนึ่งในการฟอกเขียว

Activists Deliver Messages to the Visiting APEC Leaders in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace

กรีนพีซเรียกร้องการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเป็นธรรม

เรารณรงค์ให้มีการหยุดและยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้าและเชื้อเพลิงของภาคอุตสาหกรรมและซึ่งจะก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อสภาพภูมิอากาศของโลก

เรายังเรียกร้องให้รัฐบาลต้องหยุดการออกนโยบายและมาตรการสนับสนุนการฟอกเขียวของอุตสาหกรรมฟอสซิล และต้องปลดระวางถ่านหินภายในปี 2570 ในแผนพลังงานชาติเพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม

รัฐบาลจะต้องบังคับใช้กฎหมายการทำฐานข้อมูลการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR)

รัฐต้องควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าฟอสซิลซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของทุกคน

กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมควบคุมมลพิษต้องกําหนดค่ามาตรฐานPM2.5และปรอทที่แหล่งกําเนิดที่อยู่กับที่รวมถึงการตรวจวัดและรายงานการปล่อย PM2.5 และปรอทจากปล่องโรงไฟฟ้าโดยให้เป็นรายชื่อมลพิษเป้าหมาย (target substances/pollutants) ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)

Air Pollution Protest in Bangkok. © Wason Wanichakorn / Greenpeace
Global Climate Strike in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace

พลังของทุกคนจะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านพลังงานเกิดขึ้นได้

– ร่วมจับตาและติดตามข่าวสารด้านพลังงาน ศึกษาข้อมูลและตระหนักรู้ถึงกลยุทธ์การฟอกเขียว

– กดไลค์ กดแชร์ข่าวสารด้านพลังงานที่เราสนใจให้กับเพื่อน ๆ หรือครอบครัว

– ร่วมลงชื่อสนับสนุนงานรณรงค์ด้านพลังงานของกรีนพีซหรือองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

– ติดตามหรือเข้าร่วม Climate Strike หรือขบวนรณรงค์เพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ