ผมชื่อ นาสรูลาห์ ผมอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน Tanjung Taruna ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองกาลิมันตันกลาง อินโดนีเซีย ผมเป็นหัวหน้าทีมดับไฟป่าประจำชุมชน โดยทีมของฉันทำหน้าที่ดับไฟป่าในช่วงที่เกิดไฟป่าขึ้น

เมื่อปี 2558 หมู่บ้านของผมต้องเจอกับหายนะไฟป่า ทุกคนในหมู่บ้านต่างเศร้าใจ ไฟป่าและไฟทุ่งเกิดทั่วทุกบริเวณ บ้านทุกหลังถูกปกคลุมไปด้วยควันไฟป่าและแม้ว่าผมและครอบครัวจะปลอดภัยดี แต่ทางเลือกเดียวที่เราเหลืออยู่นั่นก็คือต้องอพยพออกจากที่นั่น

Forest Fires in Central Kalimantan. © Jurnasyanto Sukarno / Greenpeace

ชาวบ้านยืนมองสวนต้นไม้ของเขาในขณะที่ไฟป่ากำลังเผาผลาญทุกอย่างรอบๆบริเวณนั้น ภาพนี้ถูกถ่ายที่เมืองปาลังการายา( Palangkaraya) จังหวัดกาลิมันตันกลาง

ทั้งหมดเป็นเรื่องราวเมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งหลายปีที่ผ่านมานี้ พวกเราเอาตัวรอดด้วยการใช้ความรู้เกี่ยวกับการปกป้องตัวเองจากไฟป่า และการปกป้องตัวเองในช่วงที่เกิดไฟป่าในฤดูแล้ง แต่ละปีที่ผ่านไปเราก็ได้แต่หวังว่า ปีหน้าไฟป่าจะไม่กลับมาอีกและเราจะไม่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันไฟเหล่านั้น

ปีนี้ ไฟป่าเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม เริ่มจากจุดความร้อนเล็กๆ และกลายเป็นจุดความร้อนเป็นพันๆจุดในเวลาไม่นาน รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในกาลิมันตันกลางและในอีก 5 จังหวัด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากไฟป่า แต่โชคร้ายที่เครื่องมือหลายๆอย่างในพื้นที่ เช่น ระเบิดน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ยังมีไม่พอที่จะดับไฟทั้งหมด

Forest Fires in Central Kalimantan. © Jurnasyanto Sukarno / Greenpeace

ไฟป่ากำลังลุกลามอยู่รอบๆบ้านหลังหนึ่งในเมืองปาลังการายา(Palangkaraya) จังหวัดกาลิมันตันกลาง ในปีนี้เกิดไฟป่าในอินโดนีเซียเกือบ 2,000 จุด เหตุการณ์แบบนี้เป็นอัคคีภัยที่เลวร้ายและเกิดขึ้นมาเรื่อยๆตั้งแต่ปี 2558

ทีมป้องกันไฟป่าของกรีนพีซอินโดนีเซียร่วมกับทีมดับไฟป่าในท้องถิ่น เคยทำงานดับไฟป่าในพื้นที่วันแล้ววันเล่าอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ด้วยความหวังว่าความพยายามของพวกเราจะสำเร็จในเร็ววัน และเราต้องการให้รัฐบาลกลางทราบถึงความพยายามนี้และลงมือแก้ไขปัญหานี้ในเชิงรุกมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลังจากเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาพร้อมกับการแก้ปัญหาที่จำกัดของรัฐบาล ทำให้ความหวังของผมเลือนหายไปแล้ว ไฟป่าได้ขยายอาณาเขตเป็นวงกว้าง พร้อมด้วยหมอกควันปกคลุมเต็มผืนฟ้าและในอากาศ ผมสะเทือนใจมาก ทำไมเหตุการณ์หมอกควันรุนแรงที่เหมือนกับเหตุการณ์ในปี 2558 จึงเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สอง?

Forest Fires Protest in Central Kalimantan. © Jurnasyanto Sukarno / Greenpeace

นักเรียนสวมหน้ากากและถือป้ายรณรงค์ ยืนรณรงค์ต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องหมอกควัน

 

คุณภาพอากาศที่เราหายใจอยู่ในระดับที่เลวร้าย และเราต้องสูดอากาศที่เต็มไปด้วยสารพิษจากควันไฟป่านี้ทุกวัน ดัชนีคุณภาพอากาศ (the air quality index (AQI)) พุ่งสูงจากระดับที่ปลอดภัยไปแตะที่ตัวเลข 300 ซึ่งสถิติตัวเลขที่สูงที่สุดที่วัดได้นั้นสูงถึง 2,000

ยิ่งไปกว่านั้นหมอกควันเหล่านี้ได้กลายเป็นหมอกควันข้ามพรมแดน ลอยไปปกคลุมประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย แม้ว่าเราจะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในแนวหน้าในการจัดการกับปัญหานี้ แต่เราต้องการให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับผู้ที่ละเมิด และการจัดการพื้นที่เกษตรโดยการเผาโดยทันที และออกนโยบายในการปกป้องผืนป่าอย่างจริงจัง เพราะลำพังเพียงพวกเรากลุ่มเดียวนั้นไม่สามารถหยุดยั้งปัญหานี้ได้

Forest Fires Protest in Central Kalimantan. © Jurnasyanto Sukarno / Greenpeace

กลุ่มนักเรียนออกมารณรงค์ถึงการแก้ไขปัญหาหมอกควันจากไฟป่าในเมืองปารังการายา(Palangkaraya) จังหวัดกาลิมันตันกลาง

ผมรู้ดีว่าพี่น้องของผมกำลังจะอพยพออกจากเมืองแห่งนี้ และผู้คนทั่วโลกก็กำลังเป็นห่วงถึงเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นกับพวกเรา เราอยากขอให้คุณบอกกับรัฐบาลของเราให้จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนและทำให้เรามั่นใจว่าเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต พวกเรายังคงตั้งความหวังว่าสักวันหนึ่งเราจะได้หายใจด้วยอากาศที่บริสุทธิ์

FFP Member Nasrullah in West Kalimantan. © Jurnasyanto Sukarno / Greenpeace

นาสรูลาห์ หัวหน้าทีมดับไฟป่าประจำชุมชน Tanjung Taruna จังหวัดกาลิมันตันกลาง

Primary Forest in Papua. © Ulet  Ifansasti / Greenpeace
ร่วมปกป้องป่าฝนเขตร้อน

ป่าฝนเขตร้อนที่เป็นบ้านของอุรังอุตังกำลังถูกทำลายจากการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน หากเราไม่ทำอะไรเลย ถิ่นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ป่าจะถูกทำลาย

มีส่วนร่วม