โลกของเรากำลังเดินมาถึงจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ และเราจำเป็นต้องป้องกันผลกระทบที่ร้ายแรงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปจะยิ่งทำให้ยาก หรือแม้แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะป้องกันภัยพิบัติในวงกว้างของสภาวะโลกร้อน คงจะมีมูลค่าความเสียหายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นเงินนับพันล้านที่จะต้องเสียไปเพื่อฟื้นฟูความสูญเสียที่เกิดขึ้น ความทุกข์อันมิอาจประเมินค่าได้ และชีวิตอีกนับล้านที่จะต้องสูญเสียไปในภัยพิบัติที่อาจมาเยือนเราอย่างรวดเร็วในปีค.ศ.2030

ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติอันน่ากลัวอย่างพายุต่างๆ ที่ทำลายล้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย คลื่นความร้อน ไฟป่า อากาศที่หนาวเย็นเกินปกติ น้ำท่วม และแม้แต่พายุหิมะในทะเลทราย สิ่งเหล่านี้ คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กำลังเลวร้ายยิ่งขึ้นหากเรายังคงเดินหน้าใช้พลังงานสกปรกต่อไป

รายงานฉบับใหม่ของกรีนพีซสากล Point of No Return เผยว่าโครงการถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซยักษ์ใหญ่จำนวน 14 โครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นเป็นการเพิ่มมลพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ให้กับโลกถึง 6.34 กิกาตัน ภายในปีค.ศ. 2020 ซึ่งถือเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอีกร้อยละ 20 ซึ่งปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์นี้จะรวมเข้ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 31.6 กิกาตัน ในปีค.ศ. 2011 สร้างปรากฏการณ์เรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ตามการรายงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency (IEA)

ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อันมหาศาลจะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีก 5-6 องศาเซลเซียส พาโลกเข้าสู่ยุคของภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการหลีกเลี่ยงอนาคตอันเลวร้ายนั้นสหประชาชาติกล่าวว่า เราต้องรักษาอุณภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส

โครงการมหันตภัยเหล่านี้มีทั้งการขยายเหมืองถ่านหินในออสเตรเลีย จีน สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย การขุดเจาะน้ำมันในทรายน้ำมันของแคนนาดา อาร์กติก และบราซิล ไปจนถึงการขุดเจาะก๊าซในทะเลแคสเปียน และสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการโดยบริษัทต่างๆ อย่าง Shell, BHP Billion, Arch Coal, Ambre, Peabody, Xstrata, Enbridge, Gazprom, Cairn Energy, Petrobras และ BP ที่กำลังพาโลกเราสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่นี้

Elektrownia Patnów Coal Fired Power Station in Poland. © Greenpeace / Nick Cobbing

โรงไฟฟ้าถ่านหิน Elektrownia Patnów ประเทศโปแลนด์

 

โลกเราต้องเผชิญกับการเผาผลาญถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซมากเกินไป และนั่นเป็นสาเหตุที่ในไม่ช้าเราจะมาถึงจุดที่ไม่สามารถป้องกันการเกิดภัยพิบัติที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

การขยายตัวของพลังงานสกปรกภายในปีค.ศ. 2020 อุตสาหกรรมพลังงานสกปรกกำลังขยายตัวโครงการถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซจำนวน 14 โครงการระดับโลก ซึ่งจะเพิ่มมลพิษทางอากาศอีกร้อยละ 20 โดยที่เริ่มเห็นผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว

© Ross Beckley/Image Focus Australia

 

ทะเลเพลิง ผู้คนต้องทนทุกข์กับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมามากแล้ว จากการที่โลกของเราอุณหภูมิสูงขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียสเท่านั้น

Hurricane Sandy Aftermath in NJ. © Greenpeace / Tim Aubry

ผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนแซนดี้

 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่กับสภาพภูมิอากาศของเรา ผู้คนกำลังทนทุกข์และล้มตายจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ความเสียหายใหญ่หลวงเกินคณานับ รัฐบาลได้ให้คำมั่นว่าจะตรวจสอบเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่กระนั้นรัฐกลับเพิกเฉยสัญญาณเตือนจากนักวิชาการ และปล่อยให้เกิดรวมถึงผลักดันโครงการพลังงานสกปรกต่อไป

© Liza Udilova

 

ยาโรสลาฟ รัสเซีย หลายภูมิภาคของประเทศรัสเซียมีอากาศหนาวเย็นมากขึ้นเรื่อยๆ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างสุดขั้ว

© tlr3automaton

 

กรุงเยรูซาเล็มปกคลุมด้วยหิมะ หิมะปกคลุมกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อเดือนมกราคม 2013

Open-Cast Coal Mine in Inner Mongolia. © Lu Guang / Greenpeace

เหมืองถ่านหินบริเวณตอนในของมองโกเลีย

 

เหมืองถ่านหินบริเวณตอนในของมองโกเลีย ถึงแม้ว่าประเทศจีนจะเต็มไปด้วยควันพิษในปัจจุบัน แต่ประเทศจีนก็ยังเตรียมขยายการผลิตถ่านหินขึ้นอีกร้อยละ 20 ภายในไม่กี่ปีนี้ ซึ่งจะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นอย่างแน่นอน

Open Cut Coal Mine in Australia. © Dean Sewell / Greenpeace

เหมืองถ่านหินใน คอลลินสวิลล์ ประเทศออสเตรเลีย

 

เหมืองถ่านหินใน คอลลินสวิลล์ ประเทศออสเตรเลีย แม้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้เกิดคลื่นความร้อนอันรุนแรง แต่ประเทศออสเตรเลียก็ยังคงต้องการขยายการส่งออกถ่านหินอีกเท่าตัว

Hay Point Coal Terminal. © Tom Jefferson / Greenpeace

สถานีขนส่งถ่านหิน เฮย์พ็อนท์ ประเทศออสเตรเลีย

 

สถานีขนส่งถ่านหิน เฮย์พ็อนท์ ประเทศออสเตรเลีย ตลาดจุดหมายปลายทางคือประเทศจีน และอินเดีย ที่ซึ่งมลพิษทางอากาศได้คร่าชีวิตคนนับแสนก่อนวัยอันควร

Aerial of Great Barrier Reef. © Michael Amendolia / Greenpeace

แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศออสเตรเลีย

 

แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศออสเตรเลีย ในการส่งออกถ่านหิน ออสเตรเลียอาจต้องทำลายแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Great Barrier Reef) ซึ่งถือเป็นมรดกโลก

Black Thunder Coal Mine in USA. © Greenpeace / Tim Aubry

เหมืองที่แม่น้าพาวเดอร์ ริเวอร์ เบซิน รัฐไวโอมิง ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

เหมืองที่แม่น้าพาวเดอร์ ริเวอร์ เบซิน รัฐไวโอมิง ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศที่สร้างมลพิษก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดกำลังวางแผนครั้งใหญ่ขยายการส่งออกถ่านหินไปยังทวีปเอเชีย ซึ่งจะเป็นการขยายการเพิ่มมลพิษ และทวีความทุกข์ให้กับประชาชนที่อีกซีกหนึ่งของโลก

Coal Mine in Central Kalimantan. © Daniel Beltrá / Greenpeace

เหมืองถ่านหินในตอนกลางของกรุงกาลิมันตัน ประเทศอินโดนีเชีย

 

เหมืองถ่านหินในตอนกลางของกรุงกาลิมันตัน ประเทศอินโดนีเชีย รัฐบาลอินโดนีเซียจะอนุญาตให้ทำลายป่าในกาลิมันตัน บนเกาะบอร์เนียว เพียงเพื่อเพิ่มเหมืองถ่านหิน

Kulluk Rig Assessment off Kodiak Island. © James Brooks / Kodiak Daily Mirror / Greenpeace

แท่นขุดเจาะน้ำมัน คุลลุค ของเชลล์ บริเวณเกาะโคเดียค

 

แท่นขุดเจาะน้ำมัน คุลลุค ของเชลล์ บริเวณเกาะโคเดียค อาจเกิดการรั่วซึมของน้ำมันและก๊าซเร็วๆ นี้ที่บริเวณอาร์กติกที่แสนบอบบาง บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเชลล์ต้องการหาผลประโยชน์จากการที่น้ำแข็งขั้วโลกเริ่มเปราะบางจากการสภาวะโลกร้อน และทำลายพื้นที่อันแสนสวยงามนี้

Polar Bear in the Arctic. © Daniel Beltrá / Greenpeace

หมีขาวขั้วโลกที่อาร์กติก

 

หมีขาวขั้วโลกที่อาร์กติก สัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์กำลังต้องเผชิญกับน้ำมันและก๊าซที่อาจรั่วไหลได้ทุกเมื่อ

Forest and Mine Site. © Greenpeace / John Woods

ทรายน้ำมันของรัฐอัลเบอร์ตา แคนาดา

 

ทรายน้ำมันของรัฐอัลเบอร์ตา แคนาดา แคนาดาวางแผนที่จะขยายการผลิตพลังงานสกปรกจากทรายน้ำมัน ซึ่งจะเป็นการเร่งทวีคูณมลพิษจากการปล่อยการคาร์บอนไดออกไซด์และพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติได้ถูกทำลายไปจำนวนมากแล้วเพื่อขุดทรายน้ำมัน

Estuary in Great Bear Rainforest. © Andrew Wright / www.cold-coast.com

ปากแม่น้ำ ที่เกรทแบร์ เรนฟอเรสต์

 

ปากแม่น้ำ ที่เกรทแบร์ เรนฟอเรสต์ ในการสร้างตลาดพลังงานสกปรกแห่งใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จำเป็นต้องมีการเดินท่อส่งตัดผ่านพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์กว่า 1,000 กิโลเมตร ผ่านเทือกเขาร็อคกี้ และเกรทแบร์ เรนฟอเรสต์ อันงดงาม ไปยังชายฝั่งตะวันตกของบริติช โคลัมเบีย

Spirit Bear in Great Bear Rainforest. © Andrew Wright / www.cold-coast.com

หมีเคอร์โมดี ในเกรทแบร์ เรนฟอเรสต์

 

หมีเคอร์โมดี ในเกรทแบร์ เรนฟอเรสต์ หมีขาวพันธุ์หายาก เคอร์โมดี กำลังตกอยู่ในอันตรายและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

Dolphins in Brazil. © Greenpeace / Rodrigo Paiva

โลมาในประเทศบราซิล

 

โลมาในประเทศบราซิล ประเทศบราซิลวางแผนขยายการขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง ซึ่งจะทำให้โลมา วาฬ และสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่นๆ ต้องได้รับผลกระทบ

Xuanwei Power Station in China. © Simon Lim / Greenpeace

โรงไฟฟ้า Xuanwei ที่ประเทศจีน

 

โรงไฟฟ้า Xuanwei ที่ประเทศจีน ความจริงที่น่าเศร้าคือ เราไม่จำเป็นต้องเผาผลาญถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เราไม่จำเป็นต้องหาพลังงานเพิ่มเพื่อทำให้เศรษฐกิจเดินหน้า

Dafeng Power Station in China. © Greenpeace / Zhiyong Fu

โรงไฟฟ้า Dafeng ที่ประเทศจีน

 

โรงไฟฟ้า Dafeng ที่ประเทศจีน พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ปลอดภัย และได้ประสิทธิภาพมากกว่าสามารถขับเคลื่อนโลกของเราได้ เราสามารถเลี่ยงหายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากโครงการการผลิตพลังงานถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซระดับโลกทั้ง 14 โครงการ

รายงานฉบับใหม่ของกรีนพีซ Point of No Return จะเป็นการรายงานถึงหายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเป็นผลมาจากโครงการพลังงานสกปรกระดับโลกนี้ แต่เรายังสามารถเลี่ยงมลพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันมหาศาลไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการยกเลิกโครงการพลังงานสกปรก และหันมาผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยในปีค.ศ. 2011 ที่ผ่านมา พลังงานหมุนเวียนถูกนำไปใช้ถึงร้อยละ 30 ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากร้อยละ 5 ในปีค.ศ. 2005 และตัวเลขนี้ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลควรหันมาส่งเสริมโครงการพลังงานหมุนเวียนแทนการพึ่งพาพลังงานสกปรก เพราะนอกจากการลงทุนพลังงานหมุนเวียนจะช่วยส่งเสริมการจัดหางาน และเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการช่วยดึงโลกออกจากมหันตภัยที่น่าสะพรึงกลัวด้วย

รายงาน Point of No Return

รายงาน Point of No Return เผยถึงความไม่จริงใจและขาดศีลธรรมของรัฐบาล จากการที่ให้คำมั่นว่าจะรักษาอุณภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส แต่กลับเร่งโครงการต่างๆ ที่จะเป็นการทวีความร้อนให้กับโลกเกินกว่า 3.5-4 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะขึ้นสูงถึง 6 องศาเซลเซียสทีเดียว อนาคตที่น่ากลัวกำลังรอทุกคนอยู่หากวันนั้นมาถึง

ดาวน์โหลดรายงาน The Point of No Return

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม