ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน สารปรอท และ สารก่อมลพิษอื่นๆ

Climate Action against Construction of Coal Powered Plant in Thailand. © Greenpeace / Yvan Cohen

อาสาสมัครกรีนพีซถือป้ายผ้าที่มีข้อความเรียกร้องให้หยุดการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด จังหวัดระยอง กรีนพีซประณามว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นตัวปล่อยสารพิษอันตรายออกสู่บรรยากาศโดยรอบ และเตือนว่าหากก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน มันจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 229 ล้านตันออกสู่บรรยากาศใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นตัวเร่งให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเลวร้ายลง © Greenpeace / Yvan Cohen

  1. ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานอันดับแรกของการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐ (54%) (รายงานการคาดการณ์พลังงานรายปี พ.ศ. 2541 ของสำนักข้อมูลข่าวสารพลังงาน)
  2. จากอุตสาหกรรมไฟฟ้าในสหรัฐทั้งหมด โรงไฟฟ้าถ่านหินปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ (SO2) 96% ไนโตรเจนออกไซต์ (NOx) 93% คาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) 99% และสารปรอท 99% (บทความ “ทำอากาศให้สะอาด: ปัญหามลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้า”)
  3. โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งปล่อยสารปรอทออกมามากที่สุดในสหรัฐอเมริกา (รายงานเรื่อง “มลพิษทางอากาศมาจากที่ใด” ของโครงการมลพิษทางอากาศและคุณภาพน้ำ (โครงการริเริ่มการกำจัดสภาพอากาศเป็นพิษ) ของ หน่วยปกป้องน้ำ สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA)) โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินปล่อยสารปรอททั้งหมด 33% จากกิจกรรมของมนุษย์ทั่วประเทศ (“รายงานเรื่องสารปรอทต่อรัฐสภา” ของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) พ.ศ. 2540 ฉบับที่ 1)
  4. สหพันธ์พืชและสัตว์ป่าแห่งชาติสหรัฐ (NWF) ระบุว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 100 เมกะวัตต์แห่งเดียว ปล่อยสารปรอท 11.25 กิโลกรัมต่อปี (รายงานเรื่อง “ทำอากาศและทะเลสาบให้สะอาด: สารปรอทในฝนกำลังก่อมลพิษแก่ทะเลสาบขนาดใหญ่ต่างๆ” หน้า 4 กันยายน 2542 ของ NWF)
  5. ศูนย์นโยบายอากาศสะอาดแห่งสหรัฐระบุว่า 50% ของสารปรอทที่ปล่อยออกมากจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสามารถเดินทางไปไกลสูงสุด 960 กิโลเมตร จากโรงไฟฟ้า (รายงานเรื่อง “การปล่อยก๊าซจากโรงไฟฟ้าและคุณภาพน้ำ ตุลาคม 2540 ส่วนที่ 1 หน้า 13 ของ ศูนย์นโยบายอากาศสะอาด)
  6. ในพ.ศ. 2536 โรงไฟฟ้าถ่านหินในสหรัฐปล่อยสารปรอทสูงถึง 51 ตัน (รายงานเรื่อง “การศึกษาการปล่อยสารก่อมลพิษอันตรายร้ายแรงในอากาศของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไอน้ำ” ของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) 24 กุมภาพันธ์ 2538 หน้า ES-6 ตาราง ES-2)
  7. NWF ระบุว่า สารปรอทปริมาณน้อยมากที่ 0.0009 กิโลกรัมต่อปี สามารถปนเปื้อนทะเลสาบขนาด 101,173 ตารางเมตร จนทำให้ปลาไม่ปลอดภัยสำหรับบริโภค (รายงานเรื่อง “ทำอากาศและทะเลสาบให้สะอาด: สารปรอทในฝนกำลังก่อมลพิษแก่ทะเลสาบขนาดใหญ่ต่างๆ” หน้า 4 กันยายน 2542 NWF)
  8. การปนเปื้อนสารปรอทในรูปสารประกอบอินทรีย์ที่มีความเป็นพิษที่สุด (เมธิวเมอร์คิวรี่) ในอาหาร ต่ำสุดที่หนึ่งในล้านส่วน เคยทำให้สัตว์ตาย (บทความของโครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ของ NWF)
  9. ถ่านหินปล่อยคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานมากกว่าน้ำมัน 29% และมากกว่าก๊าซธรรมชาติ 80% (ข่าวเผยแพร่ เรื่อง “การกำหนดเวลาเลิกใช้ถ่านหิน: ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเงินอุดหนุนการผลิตเชื้อเพลิง” ของสถาบัน Worldwatch) คาร์บอนไดออกไซต์เป็นส่วนประกอบหลักของก๊าซเรือนกระจก  ใน 30 ปีที่ผ่านมา ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ในบรรยากาศได้เพิ่มสูงขึ้น 30% (ตัวอย่างเช่นปรากฏการณ์ที่มนุษย์เป็นสาเหตุที่เรียกว่าภาวะโลกร้อน) 9 จาก 10 ปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ได้เกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา (รายงานเรื่อง “ความตายจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น: วิกฤตสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในรัฐจอร์เจีย” กุมภาพันธ์ 2543 หน้า 6.1 ขององค์กรแพทย์เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม)
  10. ในพ.ศ. 2540 การควบคุมมลพิษจากโรงไฟฟ้าเพื่อลดฝนกรดมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,300 บาทต่อตัน (บทความเรื่อง “หายใจลำบาก” ของวารสาร National 4 มกราคม 2540)
  11. ทุกๆ ปี โรงไฟฟ้าถ่านหินและน้ำมันเกือบ 600 แห่ง ผลิตกากน้ำมันมากกว่า 100 ล้านตัน (รายงานเรื่อง “ลงทุนเพื่อเสียเปล่า: ความลับสกปรกของกากของเสียจากการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าในสหรัฐ” กุมภาพันธ์ 2543 หน้า 1.3 ของ สภาถ่านหินพลเมือง และ สภาสิ่งแวดล้อม Hoosier) 40% ของกากถ่านหินไปจบอยู่ที่ที่ถมขยะ และ 80% ของสถานที่กักเก็บผิวชั้นบนของกากถ่านหินไม่มีเยื่อบุที่ด้านใต้ นอกจากนี้ที่ถมขยะน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง และที่กักเก็บขยะเพียง 1% เท่านั้นที่มีการตรวจสอบน้ำบาดาล (“ความจริงเกี่ยวกับอากาศ: หนังสือสำหรับผู้สนับสนุนอากาศสะอาด” ของเครือข่ายอากาศสะอาด พ.ศ. 2543)
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องประกาศใช้ระบบ Net Metering

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป

มีส่วนร่วม