ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในรูปแบบของมรสุมพายุซึ่งเราต่างรับรู้และเผชิญกับมหันตภัยของมันมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว เช่น พายุใต้ฝุ่นที่ทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยยิ่งขึ้นในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราขณะที่ภูมิภาคอื่นกลับเกิดภัยแล้ว ปริมาณน้ำทะเลที่สูงขึ้นทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลและพื้นที่ลุ่มน้ำที่อยู่ในระดับพื้นที่ค่อนข้างต่ำได้รับผลกระทบเช่นกัน และกลายเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวต่อภัยพิบัติจากลมพายุมากขึ้น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นเลวร้ายเกินกว่าพื้นที่ประสบปัญหาความยากจนซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่และมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนจะสามารถทนรับได้ไหว ขณะนี้เรารู้แล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์กติกไม่ได้อยู่เพียงแค่ในอาร์กติก ดังนั้นการปกป้องน้ำแข็งอาร์กติกจึงเป็นการปกป้องเราทุกคน

Polar Bear in the Arctic. © Daniel Beltrá / Greenpeace

หมีขั้วโลกในอาร์กติก © Daniel Beltrá / Greenpeace

 

เราต่างรู้กันดีว่าอาร์กติกมีสภาพแวดล้อมที่อ่อนไหว นอกเหนือจากจะเป็นบ้านของสัตว์นานาสายพันธุ์แล้ว ภูมิภาคนี้ยังมีบทบาทในการรักษาสภาพภูมิอากาศของโลก โดยทำหน้าที่เป็นเสมือนตู้เย็นของโลกคอยรักษาระดับความเย็นของโลกทั้งใบไว้ น้ำแข็งของอาร์กติกทำหน้าที่เป็นเสมือนกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนแสงอาทิตย์และความร้อนกลับไปยังชั้นบรรยากาศ อีกนัยหนึ่งคือ บทบาทสำคัญของอาร์กติกคือการรักษาสมดุลของสภาพภูมิอากาศ และน้ำทะเล ถึงแม้จะอยู่ห่างออกไปอีกซีกโลก หากปราศจากน้ำแข็งที่อาร์กติกแล้ว ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเลวร้ายจนไม่สามารถหยุดยั้งได้

แทนที่นานาประเทศจะตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศที่ขาดความสมดุลอันเกิดมาจากการที่น้ำแข็งอาร์กติกหลอมละลาย  ประเทศที่ร่ำรวยกลับมองหาช่องทางจากการที่ทะเลน้ำแข็งบางลงสร้างธุรกิจ และมองข้ามสัญญาณเตือนภัยแห่งหายนะครั้งใหญ่ของมวลมนุษยชาติและสรรพชีวิต เนื่องจากอาร์กติกอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ จึงเกิดการแข่งขันกันเพื่อช่วงชิงขุมทรัพย์ที่อาจอยู่เบื้องล่างของน้ำแข็งที่กำลังละลาย  บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่มุ่งมั่นบุกบั่นไปยังดินแดนเหนือสุดของโลกเพื่อขุดเจาะน้ำมัน  กองทัพเรือประมงก็ต่างเคลื่อนพลไปยังน่านน้ำซึ่งเคยถูกปกคลุมและปกป้องทรัพยากรอันมีค่าไว้ด้วยทะเลน้ำแข็ง ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอาร์กติกกำลังแข่งขันเพื่อยึดครองพื้นที่ของท้องทะเลแห่งมหาสมุทรอาร์กติก

หากกลุ่มอุตสาหกรรมยังไม่หยุดยั้งแผนการทำลายอาร์กติก วิกฤติสภาพภูมิอากาศก็จะร้ายแรงยิ่งขึ้น และอาจลงเอยด้วยผลพวงของมหันตภัยที่ไม่มีทางย้อนกลับ

ด้วยเหตุนี้เอง ในปีพ.ศ. 2556 นี้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับทีมงานกรีนพีซทุกหนแห่ง และผู้สนับสนุนของกรีนพีซอีกเกือบ 3 ล้านคนทั่วโลกต่างจับมือกันเพื่อปกป้องอาร์กติก ซึ่งที่ผ่านมามีผู้คนกว่า 1 หมื่นคนจากประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย เข้าร่วมลงชื่อร่วมรณรงค์กับเรา ยิ่งมีเสียงสนับสนุนจากทั้งภูมิภาคมากเท่าไร เสียงของประชาชนย่อมมีพลัง และสื่อสารออกไปให้ทุกคนได้ยินมากขึ้นเท่านั้น

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ภัยพิบัติที่เคยเกิดขึ้นนานๆ ครั้งอย่างเฮอร์ริเคน พายุไซโคลน และพายุโซนร้อน กลายเป็นเหมือนภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นเป็นการเพิ่มอุณหภูมิสูงขึ้น และกลายเป็นพลังงานความร้อนในระบบสภาพอากาศ เร่งความเร็วของระบบทั้งหมด และเพิ่มจำนวนและความรุนแรงของพายุขึ้น

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม