การขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติกเป็นธุรกิจที่อันตรายและมีความเสี่ยงสูง อีกทั้งหากมีการรั่วไหลของน้ำมันภายใต้ผืนน้ำแข็งนี้ก็จะส่งผลกระทบอันเป็นภัยพิบัติต่อภูมิภาคดั้งเดิมที่สวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แห่งหนึ่งของโลก ภัยจากอุบัติเหตุดังกล่าวมีให้เห็นแล้วในอดีต แต่แผนการรับผิดชอบจากอุตสาหกรรมน้ำมันกลับยังมีไม่เคยมีอย่างเพียงพอและเหมาะสม

สภาพอากาศรุนแรงและอุณหภูมิอันหนาวเหน็บ รวมถึงทำเลที่ตั้งที่ห่างไกลและการปรากฏตัวของทะเลน้ำแข็งเคลื่อนที่เป็นการ เพิ่มความเสี่ยงในการขุดเจาะน้ำมันเพิ่มความลำบากในการขนส่ง และทำให้ปฏิบัติการเพื่อทำความสะอาด ยากขึ้นอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ระบบนิเวศอันเปราะบางในแถบนี้ถูกทำลายได้โดยง่ายจากการคราบน้ำมันที่รั่วไหล อีกทั้งส่งผลกระทบอันเลวร้ายต่อสิ่งแวดล้อมและการประมงท้องถิ่น

นาวาฬ ในอาร์กติก © Jason Box/ Greenpeace

นาวาฬ ในอาร์กติก © Jason Box/ Greenpeace

อาร์กติกเป็นบ้านของ  พลเมืองสี่ล้านคน โดยมากสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณตอนเหนืออันห่างไกลเป็นเวลานานหลายพันปี และยังคงเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าสายพันธุ์พิเศษหลากหลายสายพันธุ์ เช่น นกทะเลหลายร้อยสายพันธุ์ นกอพยพนับล้านตัว และปลาวาฬต่างชนิด 17 สายพันธุ์ก็อาศัยอยู่ที่นี่ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ร้อยละ 90ของประชากรปลาวาฬขาวขนาดเล็ก (narwhal)ทั้งหมดบนโลก อยู่ในอ่าวบาฟฟิน (Baffin Bay) เท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งหมีขั้วโลก สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก และแมวน้ำต่างสายพันธุ์มากมายอาศัยอยู่ในบริเวณที่ต่างกันออกไปตลอดปีในอาร์กติก ผลกระทบจากการรั่วของน้ำมันที่มีต่อชุมชนและสายพันธุ์ที่เปราะบางต่างๆเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการทำลายล้างและมีผลที่ยาวนานเลยทีเดียว

หมีขั้วโลกภายใต้ภัยคุกคาม แม่และลูกหมีขั้วโลก © Nick Cobbing/ Greenpeace

หมีขั้วโลกภายใต้ภัยคุกคาม แม่และลูกหมีขั้วโลก © Nick Cobbing/ Greenpeace

การสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯประมาณการณ์ว่า  ประมาณร้อยละ 13 ของน้ำมันที่ยังไม่มีการค้นพบอยู่ใต้บริเวณทางตอนเหนือของเส้นอาร์กติก (Arctic Circle)  ดูเหมือนจะมากใช่หรือไม่? แต่หากคำณวนจากอัตราการใช้น้ำมันในปัจจุบันแล้ว นั่นเทียบเท่ากับปริมาณของน้ำมันที่เราจะใช้ได้เพียงแค่สามปีเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ทะเลน้ำแข็งในอาร์กติกละลายอย่างรวดเร็วด้วย  อัตราที่น่าตกใจในแต่ละฤดูร้อน เปิดโอกาสให้ทั้งบริษัทและรัฐบาลที่เป็นเจ้าของอุตสาหกรรมอันน่าสะพรึงกลัวนี้เข้ามาแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติในภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม  แคร์นเอเนอร์ยียอมรับ ว่าการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติกทำให้เกิด “ปัญหาที่สำคัญหลายประการ” นอกจากจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการปฏิบัติการในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและห่างไกลแล้ว แท่นขุดเจาะน้ำมันยังต้องเผชิญกับ    ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ ที่ต้องอาศัยฝูงเรือช่วยกันลากมันออกไปให้พ้น และในบางครั้งภูเขาน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่มากๆก็ทำให้แท่นขุดเจาะน้ำมันต้องยกเลิกภารกิจและย้ายออกไปจากบริเวณนั้น

ช่วงเวลาสำหรับขุดเจาะน้ำมันถูกจำกัดไว้เหมือนกรอบหน้าต่างแคบๆเพียงไม่กี่เดือนในฤดูร้อนเท่านั้น ในช่วงเวลาอันสั้นนี้ทำให้การดำเนินการในการปิดหลุมที่มีการรั่วไหลเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังเช่นความสำเร็จในการขุดหลุมระบายความดันหลัก (vital relief wells) มีความสำคัญพอๆกับการปิดหลุม (reptured well) อย่างถาวร ซึ่งไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะสามารถทำได้สำเร็จก่อนที่ทะเลน้ำแข็งจะกลับมา และหากไม่สามารถปิดหลุมได้ทันก่อนที่หน้าหนาวจะมาเยือนน้ำมันจะรั่วไหลออกมาเป็นเวลานานถึงสองปี และแม้จะมีความเสี่ยงต่อหายนะขนาดนี้ก็ตามแต่  บริษัทน้ำมันเหล่านี้ก็ยังมุ่งมั่นที่จะล็อบบี้รัฐบาล ให้ผ่อนผันหลักเกณฑ์ความปลอดภัยในการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก

Godafoss Oil Leak Near Norway Coast. © Jon Terje Hellgren Hansen / Greenpeace

น้ำมันในน้ำแข็ง คราบน้ำมันผสมผสานกับน้ำแข็ง และภาพของทุ่นที่ไร้ประโยชน์ในการทำความสะอาดคราบน้ำมันจากการรั่วไหลเพียงเล็กน้อยของเรือบรรทุกน้ำมันของ โกดาฟอส (Godafoss) ของไอซ์แลนด์ เกยตื้นที่หาดทางใต้ของนอรเวย์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2554 © Jon Terje Hellgren Hansen / Greenpeace

น้ำมันภายใต้สภาพอันหนาวเหน็บในอาร์กติกจะ  มีพฤติกรรมที่ต่างไปจากเมื่ออยู่ในบริเวณเส้นละติจูดที่ต่ำกว่า โดยมันจะใช้เวลานานกว่าในการแพร่กระจายในน้ำเย็น   ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า ไม่มีวิธีการในการกักเก็บหรือทำความสะอาดคราบน้ำมันที่ติดอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ได้ ร่องรอยของสารพิษเหล่านี้จะติดอยู่เป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าท้องถิ่นนานขึ้น มันจะถูกพัดพาติดไปกับแพน้ำแข็งเป็นระยะทางไกลและทิ้งคราบติดแน่นในสภาพแวดล้อมอันเก่าแก่แห่งนี้

เหตุการณ์น้ำมันรั่วจากเรือบรรทุกน้ำมันดิบ Exxon Valdez ในอลาสก้าเมื่อไม่นานมานี้เป็นตัวอย่างให้เห็นผลกระทบของมัน และแม้เมื่อเวลาผ่านไปสองทศวรรษแล้วก็ตามแต่ภูมิภาคนั้นก็ยังคงได้รับความเสียหายจากผลกระทบของมันอยู่  จำนวนประชากรนากท้องถิ่น ลดลงอย่างมาก , วาฬเพชฌฆาต (orcas)ยังไม่ฟื้นตัว และยังคงมีคราบน้ำมันบนพื้นดินให้เห็นอยู่ ผลกระทบจากการแพร่กระจายที่พื้นใต้ทะเลอาร์กติกอาจจะมีมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญต่อน้ำในบริเวณ High North

อุตสาหกรรมน้ำมันแสดงให้เราเห็น ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ไม่มีความพร้อมในการจัดการกับความเสี่ยงและผลที่ตามมาจากการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก เจ้าหน้าที่อาวุโสจากองค์กรแคนาดาท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการ  จัดการกับปัญหาน้ำมันรั่ว กล่าวอย่างเปิดอกว่า: “จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีวิธีการใดๆที่จะสามารถจัดการกับปัญหาน้ำมัน (รั่ว) ที่อาร์กติกได้อย่างแท้จริง”

Kumi Naidoo Boards The Leiv Eiriksson. © Jiri Rezac / Greenpeace

หยุดการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก คูมิ ไนดู ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีซสากล เตรียมตัวไต่แท่นสำรวจน้ำมันใกล้ชายฝั่งของเกาะกรีนแลนด์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 © Jiri Rezac/ Greenpeace

แต่บริษัทเชลล์กลับอ้างว่าพวกเขาสามารถทำความสะอาดได้ถึง  ร้อยละ95ของปริมาณน้ำมันที่รั่วในโบฟอร์ด นับว่าเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจ เมื่อคุณเทียบกับผลการสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐที่คิดว่ามีเพียงร้อยละ1-20 เท่านั้นที่จะได้รับการฟื้นฟูจากการรั่วไหลของน้ำมันในอาร์กติก ในขณะที่อัตราการฟื้นฟูของเหตุการณ์น้ำมันรั่วของเอ็กซอนวาลดีซมีเพียงแค่ร้อยละ 9  และร้อยละ 17 จากเหตุการณ์ดีพวอเทอร์ฮอไรซอน (Deepwater Horizon)เท่านั้น

ในที่สุดแผนการรองรับเหตุการณ์น้ำมันรั่วของแคร์นก็ออกสู่สายตาสาธารณะหลังจากถูกกดดันจากกรีนพีซเป็นเวลาหลายเดือน แต่ก็ยังคงเป็นไปตามที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันรั่ว ริค สไตนเนอร์ได้เน้นไว้ว่ายังไม่เพียงพอเลย สิ่งที่เรียกว่า“วิธีการแก้ปัญหา” เช่นการขนถ่ายก้อนน้ำแข็งที่ปนเปื้อนไปกักเก็บไว้และปล่อยให้มันละลายเพื่อกู้คืนน้ำมัน หรือ การกล่าวอ้างว่าปลาได้ว่ายหนีไปจากบริเวณที่มีน้ำมัน (ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแสดงให้เห็นว่า ไม่จริง)เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดและไม่สมเหตุสมผลเลย

แผนการรองรับเหตุการณ์น้ำมันรั่วของเชลล์ในทะเลชุกชี (Chukchi Sea) ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อไม่นานมานี้โดยเอกสารนี้ควรจะอธิบายถึงสิ่งที่เชลล์จะต้องทำเพื่อปิดหลุมที่รั่วและรักษาภูมิภาคอาร์กติกจากหายนะทางระบบนิเวศ แต่จากการอ่านคร่าวๆก็แสดงให้เห็นว่าบริษัทไม่มีศักยภาพในการรับมือกับอุบัติเหตุใน High North เลย ในความเป็นจริงแล้วมัน เหมือนกับแผนการรองรับความประมาท มากกว่าที่จะเป็นแผนการสำหรับน้ำมันรั่ว ซึ่งขึ้นอยู่กับระบบการปิด (capping) และ การกักเก็บที่ยังไม่ถูกสร้างขึ้นมา รวมถึง อุปกรณ์กั้นเพื่อเบี่ยงเบนทิศทางที่ไม่เหมาะกับการทำงานบนน้ำแข็ง พร้อมด้วยแผนการทำความสะอาดบนฝั่งที่เหมือนว่าจะถูกร่างมาจากเด็กๆ นอกจากนั้นเรายังทราบว่าเชลล์ทุ่มทุนในการ ฝึกสุนัขพันธุ์ดัชชุนด์ เพื่อช่วยหาคราบน้ำมันที่ติดอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งหนาอีกด้วย

สิ่งที่เราควรจะทำคือการให้ความสนใจกับการรับมือต่อเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่อ่าวเม็กซิโกของบริษัทบีพีเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความยากลำบากในการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก บริษัทต้องใช้เรือกว่า 6,000 ลำ พนักงานกว่า 50,000 คน และเงินจำนวนมหาศาลในการปิดหลุมที่รั่ว และแม้กระนั้นก็ตามบริษัทก็ไม่สามารถที่จะจัดการให้สำเร็จได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ส่งผลให้เกิดความหายนะทางสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ หากบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการรับมือกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วภายใต้สภาพอุณหภูมิอบอุ่นที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางของชุมชนซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยเครื่องมือในการแก้ปัญหาอย่างเพียงพอแล้ว เราจะมั่นใจได้อย่างไรกับคำกล่าวอ้างที่ว่าพวกเขามีความพร้อมในการจัดการกับปัญหาน้ำมันรั่วภายใต้สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายในอาร์กติก?  เจ้าหน้าที่หน่วยยามชายฝั่งระดับสูงของสหรัฐฯได้ยอมรับเมื่อไม่นานนี้ว่า ขณะนี้พวกเขามีศักยภาพในการจัดการกับปัญหาน้ำมันรั่วในอาร์กติกเป็น“ศูนย์” เท่านั้น

อุตสาหกรรมน้ำมันไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยในการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติกได้และมุ่งมั่นต่อการแสวงหาผลกำไรนำหน้าสิ่งแวดล้อม   ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของแคร์น แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติกเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเลย

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม