เรือเอสเพอรันซา เรือรณรงค์ของกรีนพีซ ได้เดินทางมาถึงทะเลซาร์กัสโซ (Sagasso Sea) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับหมู่เกาะเบอร์มิวดาและหมู่เกาะลีเวิร์ด จากลักษณะเฉพาะของพื้นที่ในช่วงมหาสมุทรนี้มีความแตกต่างกันมาก เนื่องจากกระแสน้ำสงบนิ่งแต่กลับล้อมรอบไปด้วยกระแสน้ำที่แรงที่สุดในโลก ทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์สนใจสำรวจสิ่งมีชีวิตและพืชพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในทะเลซาร์กัสโซ

แผนการเดินทางของเรือเอสเพอรันซา คือการสำรวจมหาสมุทร โดยเริ่มต้นจากพื้นที่บริเวณขั้วโลกจนถึงพื้นที่ในขั้วโลกใต้ รวมเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม เป้าหมายหลักเพื่อเพื่อเปิดโปงภัยคุกคามในท้องทะเล  และเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติประกาศรับรองสนธิสัญญาทะเลหลวง(Global Ocean Treaty)

หนทางหนึ่งที่เราจะสามารถช่วยกันผลักดันให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจหันมายืนหยัดเพื่อมหาสมุทร คือการเผยแพร่ให้โลกรู้ว่ามหาสมุทรของเรามีความสำคัญ เช่น สิ่งมีชีวิตจำนวนมากในทะเลซาร์กัสโซ ซึ่งกำลังถูกคุกคามโดยมนุษย์ 

ทีมนักวิจัยมีวิธีการเก็บข้อมูล 4 แบบด้วยกัน ดังนี้ เริ่มจากการสังเกตจากบนเรือ การดำน้ำตื้นเพื่อสำรวจป่าสาหร่ายซากัสซั่ม (Sargassum) ที่แผ่ปกคลุมทะเลซาร์กัสโซ  การใช้เทคนิคถ่ายภาพแบบ Blackwater คือ การลอยตัวดำน้ำกลางน้ำในเวลากลางคืนและลอยอยู่กลางน้ำ โดยใช้แสงพิเศษเพื่อจับภาพสิ่งมีชีวิต สำหรับวิธีการสุดท้ายคือ  การตรวจหาร่องรอยทางดีเอ็นเอจากโปรตีนในน้ำทะเล ซึ่งจะช่วยให้สามารถระบุชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในน้ำในช่วง 48 ชั่วโมงที่ผ่านมาได้

Scientists on MY Esperanza in the Sargasso Sea. © Shane Gross / Greenpeace

นักวิทยาศาสตร์ค้นหาไมโครพลาสติกจากตัวอย่างสาหร่ายซาร์กัสซัมในทะเลซาร์กัสโซ

การศึกษาครั้งนี้ จะช่วยขยายความเข้าใจของเราต่อโครงข่ายอันเป็นเอกลักษณ์และซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรได้ดียิ่งขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องน่าเศร้า เพราะนอกเหนือจากข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว เรายังพบพลาสติกจำนวนมากเช่นกัน

นี่คือไฮไลท์บางส่วนที่เราพบจากการล่องเรือ

วาฬสเปิร์ม หรือวาฬหัวทุย (Sperm Whales)

Sperm Whale in the Indian Ocean. © Will Rose / Greenpeace

เรือเอสเพรันซา ได้พบกับสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่อันน่าทึ่งบริเวณน่านน้ำของทะเลซาร์กาสโซ หนึ่งในนั้นคือ วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย ซึ่งเป็นวาฬชนิดพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด และได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีสมองใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ทุกชนิดในโลก เช่นเดียวกับโลมา  วาฬหัวทุยใช้ระบบเสียงสะท้อน (echolocation) เพื่อค้นหาและลวงเหยื่อ คู่ต่อสู้ที่สำคัญของวาฬหัวทุยได้แก่ปลาหมีกยักษ์ จากตำนานที่เชื่อว่าต่างมีขนาดตัวที่ใหญ่เช่นกัน ขณะที่ความจริงแล้วนั้น วาฬหัวทุยกินปลาหมึกหลากหลายชนิด รวมถึงปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบน และฉลามเมกาเมาท์ (Megamouth shark) ปลาฉลามน้ำลึกขนาดใหญ่ที่พบได้ยาก

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวาฬหัวทุยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลก จากการล่าสัตว์วาฬในช่วงศตวรรษที่ 19 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการน้ำมันปลาวาฬ (Spermaceti ) จากส่วนไขสมอง เพื่อทำเทียนไข ก่อนที่จะมีการคิดค้นไฟฟ้าที่ผลิตจากน้ำมัน  แม้ว่าทุกวันนี้ วาฬสเปิร์มจะได้รับการปกป้อง แต่พวกมันก็ยังคงเผชิญกับภัยคุกคามจากมลพิษพลาสติก และอุปกรณ์การประมงที่ไม่ใช้แล้ว และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

นกร่อนทะเลหางขาว (White-Tailed Tropicbird)

 Tropicbird. © Mia Morete / CC BY-SA 3.0

นกร่อนทะเลหางขาว หรือที่รู้จักกันในชื่อท้องถิ่นแถบหมู่เกาะเบอร์มิวดาว่า “นกหางยาว” (Longtail) นกร้อนทะเลหางขาว เป็นนกเขตร้อนและสัญลักษณ์ของการเดินทางของเรือเอสเพรันซา ในทะเลซาร์กัสโซ

นกที่แสนสวยงามชนิดนี้กินปลาหมึก ปลาบิน และปูเป็นอาหาร  ทีมเรือของกรีนพีซมักจะเห็นนกร่อนทะเลหางขาวเสมอจากดาดฟ้าเรือ หรือแม้ในระยะทางไกลจากพื้นดิน โดยขณะนี้ ทางกรีนพีซร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากรัฐบาลเบอร์มิวดา เพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับนกสายพันธุ์นี้ ตั้งแต่ การจดบันทึกตำแหน่ง เวลา พฤติกรรม และทิศทางการบิน เพื่อช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของนกร่อนทะเลหางขาวได้ดีขึ้น หนูและนกพิราบถือเป็นภัยคุกคามต่อรังของนกร่อนทะเลหางขาว แต่จำนวนโดยรวยของนกชนิดพันธุ์นี้ยังไม่ถือว่าใกล้จะสูญพันธุ์

ปลาวัว (Grey triggerfish)

Fish and Plastic Debris in the Sargasso Sea. © Shane Gross / Greenpeace

ภาพนี้ถ่ายในทะเลซาร์กัสโซ ซึ่งปลาวัวสองตัว กำลังรุมตอดขยะพลาสติก เพราะสับสนระหว่างพลาสติกกับสาหร่ายตามธรรมชาติ

ปลาวัว เป็นสัตว์น้ำที่หวงอาณาเขตมาก จากภาพเราจะเห็นว่าปลาวัวกำลังต่อสู้แย่งพื้นที่กัน ใกล้ ๆ บริเวณนั้น มีพลาสติกขนาดใหญ่ลอยอยู่ พลาสติกเหล่านี้เมื่อปนเปื้อนลงสู่มหาสมุทร เมื่อเจอกับกระแสคลื่น การกัดกร่อนจากความเค็มในทะเลจะสลายตัวเป็นไมโครพลาสติก ปลาวัวยังมีส่วนทำให้พลาสติกกลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจากการกัดกิน เพราะเช่นนี้พลาสติกทุกชนิดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ล้วนเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมหาสมุทรของเรา

ปลากบ หรือปลาซาร์กัสซัม  (Sargassumfish)

Frogfish in the Sargasso Sea. © Shane Gross / Greenpeace

ปลากบ (Frogfish) ในทะเลซาร์กัสโซ

ชีวิตใต้แพสาหร่ายซากัสซัม (Sargassum) นั้นเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ที่ซ่อนเร้นอยู่ ตัวอ่อนปลาและเต่าพรางตัวด้วยการ “ปกคลุม” สีของตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อหลบซ่อนจากนักล่า แต่ปลานักล่าบางชนิด เช่น ปลากบ อีกชื่อหนึ่งว่า ปลาซาร์กัสซัม กลับใช้วิธีตรงกันข้าม สีและรูปร่างของพวกมันกลมกลืนได้ดีกับสีเหลืองทองของสาหร่าย ทำให้พวกเขาได้เปรียบในการล่อเหยื่อให้เข้ามาติดกับ ปลาอย่าง ปลาตกเบ็ด (Anglerfish) และ ปลาซาร์กัสโซ ใช้ติ่งเนื่อเรืองแสงที่คล้ายเบ็ดตกปลาบนหัว เพื่อหลอกเหยื่อให้เข้ามาใกล้ อาหารหลักของปลาซากัสซัมคือ กุ้งตัวเล็ก ปู และปลาที่อาศัยอยู่บริเวณแพสาหร่าย รวมถึงปลาซากัสซัมที่ตัวเล็กกว่า

ปลาบิน (Flyingfish)

Flying Fish in the Sargasso Sea. © Shane Gross / Greenpeace

ปลาบินตัวนี้ถูกถ่ายภาพได้ใกล้กับผิวน้ำทะเลซาร์กัสโซในเวลากลางคืน

ปลานกกระจอก หรือ ปลาบิน (Flyingfish) ในเวลากลางวันเป็นเรื่องยากที่จะจับภาพของปลาบินได้ เพราะมันเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว แต่ในตอนกลางคืนกลับตรงกัน นักดำน้ำสามารถถ่ายรูปปลาบินได้ด้วยเทคนิค Blackwater ซึ่งเผยให้เห็นความสวยงามของปลาชนิดนี้ ปลาบิน เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Exocoetidae  ตามธรรมชาติมีชนิดพันธุ์ของปลาบินมากกว่า 50 ชนิดพันธุ์อาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อน แม้ว่าจะได้ชื่อว่า ปลาบิน แต่ปลาชนิดนี้ไม่ได้มีปีกบินแบบนกแต่อย่างใด แต่ลักษณะการร่อนคล้ายโผบินของปลาบินนั้น เพราะมันใช้ครีบอกหรือครีบหูที่มีขนาดใหญ่มากเป็นตัวพยุงช่วยและเร่งว่ายน้ำด้วยความเร็วมากกว่า 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปลาปีกสามารถอยู่บนกลางอากาศได้นานอย่างน้อย 10 วินาที ความสามารถเฉพาะตัวของปลาปีกเกิดจากการปรับตัวเพื่อหนีจากสัตว์นักล่า

ปลาไหล (Eels)

Glass Eel in the Sargasso Sea. © Shane Gross / Greenpeace

ปลาไหลที่ถูกถ่ายภาพได้ในทะเลซาร์กัสโซ

ทีมนักวิจัยของกรีนพีซพบปลาไหลโปร่งแสง (leptocephali) ซึ่งเป็นตัวอ่อนชนิดพันธุ์เฉพาะของกับปลาไหล ในระหว่างการดำน้ำถ่ายภาพในช่วงเวลากลางคืนในทะเลซาร์กัสโซ เรื่องราวของปลาไหลสายพันธุ์ยุโรปและอเมริกาเป็นหนึ่งในหลายสิ่งมหัศจรรย์ของทะเลแห่งนี้ เพราะเมื่อปลาไหลโตเต็มที่จะอาศัยบริเวณปากแม่น้ำและแม่น้ำใกล้กับชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือ และชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปยุโรป จนกระทั่งถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์ ปลาไหลเหล่านี้จะว่ายไปยังจุดที่ไม่สามารถระบุได้ในทะเลซาร์กัสโซเพื่อวางไข่

ปลาไหลที่เกิดใหม่จะใช้ชีวิตช่วงแรกอยู่ในบริเวณนี้ โดยล่องลอยไปตามกระแสน้ำในมหาสมุทร ก่อนจะกลายเป็นปลาไหลกึ่งโปร่งแสง หรือ ปลาไหลแก้ว (glass eels) ก่อนจะกลับไปสู่แหล่งน้ำใกล้พื้นทวีป

ปัจจุบัน ปลาไหลอเมริกันจัดอยู่ในประเภทสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์  ขณะที่ปลาไหลในยุโรปก็อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างหนักไม่ต่างกัน สืบเนื่องจากกระแสความนิยมบริโภคอาหารญี่ปุ่นอย่างซูชิ  รวมถึงมลพิษในมหาสมุทรและการก่อสร้างเขื่อนขวางกั้นแม่น้ำ

สาหร่ายซากัสซัม และ พลาสติก

Plastic and Sargassum off the Coast of Florida. © Peter Cross / Greenpeace

ขยะพลาสติกลอยปะปนอยู่กับสาหร่ายซาร์กัสซัมในทะเลซาร์กัสโซ

สาหร่ายซากัสซัม เป็นสาหร่ายสีน้ำตาลที่เจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์ในทะเลซาร์กัสโซ เราสามารถสังเกตเห็นสาหร่ายชนิดนี้ได้อย่างชัดเจน จากลักษณะของกิ่ง ก้านและมีถุงลมที่คล้ายผลเบอรี่ที่โคนใบเป็นทุ่นเพื่อพยุงให้ลอยน้ำได้ แพสาหร่ายนี้แพร่กระจายกินพื้นที่หลายพันกิโลเมตร

แพสาหร่ายนี้เป็นที่อยู่อาศัย สถานที่หลบภัย และแหล่งอนุบาล เพาะพันธุ์สัตว์ทะเลหลากหลายชนิด เช่น เต่าทะเล ปู ปลา กุ้ง และอีกมากมาย แต่ปัจจุบันสาหร่ายซาร์กัสโซกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก มลพิษพลาสติก และการขนส่งขนาดใหญ่ทางทะเลที่กวาดทำลายแพสาหร่าย ขยะพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในแพสาหน่ายมีตั้งแต่ระดับไมโครไปจนถึงพลาสติกขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นอันตรายกับสัตว์ทะเลที่อาศัยพึ่งพิงแพสาหร่ายแห่งนี้

สิ่งมีชีวิตอันน่าทึ่งเหล่านี้และสัตว์อื่น ๆ อีกมากมายกำลังถูกคุกคามจากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรของเรา คุณสามารถช่วยปกป้องมหาสมุทรได้ ร่วมลงชื่อ เพื่อผลักดันให้องค์กรสหประชาชาติกำหนดเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล หนึ่งเสียงของคุณสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม