ปีนี้ กรีนพีซและเหล่านักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มการเดินทางสำรวจที่ยาวนานที่สุด และไกลที่สุดครั้งหนึ่งเลยก็ว่าได้  เพื่อสำรวจทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรโลกตั้งแต่ดินแดนขั้วโลกเหนือจรดดินแดนขั้วโลกใต้ รวมถึงหาหลักฐานว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศไปจนถึงมลพิษพลาสติก การทำเหมืองแร่ในทะเล และการประมงเกินขนาดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของภัยคุกคามมหาสมุทรของเรา และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน

การสำรวจครั้งนี้ ประกอบด้วย นักกิจกรรมของกรีนพีซและกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ จำนวน 5 กลุ่มจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา เวลมิงตัน  ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้สนับสนุนข้อเสนอ “สนธิสัญญาทะเลหลวง” (Global Ocean Treaty) ต่อองค์การสหประชาชาติให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และมีการกำหนด “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” ซึ่งจะช่วยเบิกทางให้กับแผนการฟื้นฟูระบบนิเวศมหาสมุทร ที่จะสามารถช่วยปกป้องพื้นที่ 1 ใน 3 ส่วนของมหาสมุทรได้ภายในปี พ.ศ.2573

นอกเหนือจากงานสำรวจ ระหว่างการเดินทางเราได้เก็บภาพความมหัศจรรย์ของโลกใต้ท้องทะเลมาฝากทุกคนด้วย เพื่อเป็นสาส์นส่งต่อไปให้ทุกคนเห็นว่า มหาสมุทรของเรานั้นเต็มไปด้วยความสวยงามและแสนเปราะบางมากขนาดไหน รวมถึงภาพการทำงานของบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่เดินทางไปพร้อมกับเรือ เพราะ ถึงแม้ดินแดนเหล่านี้จะอยู่ห่างไกลจากเรา แต่เบื้องหลังภาพทุกภาพล้วนมีเรื่องราวที่เชื่อมโยงมาถึงเราและทุกชีวิตบนโลกใบนี้ 

MY Arctic Sunrise in the Arctic. © Christian Åslund / Greenpeace

เรืออาร์กติก ซันไรซ์เดินทางกลับมาสำรวจมหาสมุทรอาร์กติกอีกครั้ง เพื่อผลักดันให้มีการกำหนด “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” โดยการเดินทางครั้งนี้เริ่มต้นที่ดินแดนขั้วโลกเหนือเป็นที่แรก

Sea Ice in Svalbard. © Will Rose / Greenpeace

ภาพมุมสูงของธารน้ำแข็งบริเวณหมู่เกาะสฟาลบาร์ (Svalbard) ซึ่งแตกตัวออกมาจากธารน้ำแข็งก้อนใหญ่ กระจัดกระจายไปทั่วบริเวณแสดงให้เห็นถึงการละลายอย่างรวดเร็วของน้ำแข็งในภูมิภาคนี้

Walrus near Sjettebreen Glacier in Svalbard. © Denis Sinyakov / Greenpeace

วอลรัสตัวโตกำลังนอนพักผ่อนบนธารน้ำแข็งบนเกาะสฟาล์บาร์

Protect the Oceans Banner in the Arctic. © Christian Åslund / Greenpeace

นักกิจกรรมของกรีนพีซกางป้ายแบนเนอร์ที่มีข้อความว่า ร่วมกันปกป้องมหาสมุทร “protect the oceans” ณ ธารน้ำแข็ง บริเวณช่องแคบแฟรม (Fram Strait) ซึ่งคั่นกลางระหว่างเกาะกรีนแลนด์และหมู่เกาะสฟาลบาร์

Underwater Drone Launched in Svalbard. © Denis Sinyakov / Greenpeace

คุณ Sekan Dadak ลูกเรือประจำเรือเอสเพอรันซากำลังปล่อยเครื่องสำรวจใต้น้ำ เครื่องสำรวจดังกล่าวจะทำหน้าที่ในบริเวณหมู่เกาะสฟาลบาร์

Beluga Whales in the Arctic. © Christian Åslund / Greenpeace

ภาพฝูงวาฬเบลูก้าว่ายน้ำหาอาหารอยู่บริเวณใกล้กับธารน้ำแข็ง

งานสำรวจวิจัย ณ มหาสมุทรอาร์กติก

เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ คือศึกษาถึงผลกระทบของการละลายตัวของน้ำแข็งต่อสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยู่ในอาร์กติก รวมถึงผลกระทบต่อการอพยพของสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลอย่างไรต่อห่วงโซ่อาหาร

จากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในทวีปอาร์กติกและภาวะธารน้ำแข็งในทะเลละลายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศโดยรอบ เพื่อให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงของผลกระทบดังกล่าวนี้ให้มากขึ้น ทีมนักวิจัยและกรีนพีซได้เก็บตัวอย่างแท่งน้ำแข็งและตัวอย่างน้ำที่มีสาหร่ายเจริญเติบโตอยู่ และตรวจสอบระดับค่า pH ระดับความเค็มและการเปลี่ยนไปของอุณหภูมิ เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรอาร์กติกกับนักวิจัยนานาชาติกลุ่มอื่น 

Science Research in the Arctic. © Denis Sinyakov / Greenpeace

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา วิลมิงตัน กำลังเตรียมอุปกรณ์ในการตรวจวัดความหนาของแผ่นน้ำแข็งบริเวณบริเวณช่องแคบแฟรม

Science Research in the Arctic. © Denis Sinyakov / Greenpeace

อลิสซาเบ็ธ เบลลี่ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา วิลมิงตัน กำลังตัดตัวอย่างน้ำแข็ง

Scientist on MY Arctic Sunrise in the Arctic. © Denis Sinyakov / Greenpeace

ดร.ฮิลลารี แกลนดอน จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา เวลมิงตัน มาร่วมงานเป็นหนึ่งในทีมวิจัยชั่วคราวบนเรืออาร์กติก ซันไรซ์ ของกรีนพีซ

Seabird in the Arctic. © Denis Sinyakov / Greenpeace

นกฟูลมาร์กำลังลอยคอชมวิวอยู่บริเวณช่องแคบแฟรม

Science Research in the Arctic. © Denis Sinyakov / Greenpeace

นักวิทยาศาสตร์ แมทเทียส รอล์ฟ กำลังดูเซลล์ที่ได้จากตัวอย่างของน้ำในมหาสมุทรอาร์กติก

Protect the Oceans Banner in the Arctic. © Denis Sinyakov / Greenpeace

นักกิจกรรมของกรีนพีซ อลิซ พอตเตอร์ ถือแบนเนอร์รณรงค์ที่มีใจความว่า “ปกป้องมหาสมุทร” บนธารน้ำแข็ง บริเวณช่องแคบแฟรม

มหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์ จะช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตสภาพภูมิอากาศไปได้ มหาสมุทรที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพจะมีประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้จำนวนมหาศาล นี่จึงเป็นสาเหตุที่เราต้องปกป้องมหาสมุทรโลกไว้ให้ได้ทัน  ก่อนที่ความสูญเสียที่เลวร้ายจะเกิดขึ้น 

ภารกิจถัดไปหลังการสำรวจมหาสมุทรอาร์กติกแล้ว คือการเดินทางต่อไปยัง ดินแดนที่ได้รับสมญานามว่า กระดูกสันหลังของมหาสมุทรแอตแลนติก หรือที่รู้จักในชื่อ ลอสต์ ซิตี้ (Lost city)  เทือกเขาใต้น้ำแห่งนี้มีโครงสร้างจากธรรมชาติที่น่าตื่นตา และยังเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่โดดเด่นต่างจากที่อื่น

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพื้นที่แห่งนี้จะเป็นกุญแจสำคัญ ไปสู่การไขความลับทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก อย่างไรก็ดี ลอสต์ ซิตี้กำลังถูกคุกคามจากการทำเหมืองแร่ในทะเล

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม