จากมินิซีรีย์ที่สร้างจากเรื่องจริงทางช่อง HBO เชอร์โนบิลได้รับกระแสการตอบรับที่ดีด้วยการติดอันดับหนึ่งใน 250 รายการทีวีที่ดีที่สุดของ IMDb รายละเอียดในช่วงเวลาดังกล่าวถูกถ่ายทอดออกมาได้ดี ตั้งแต่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสีพาสเทล แว่นตากรอบหนา ป้ายจราจรและยานพาหนะ รวมไปถึงการเสียสละของกลุ่มคนและการขาดความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ในตอนนั้น

การสร้างมินิซีรีย์ชิ้นนี้เป็นการฉายซ้ำภัยพิบัติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษยชาติได้อย่างไร้ที่ติ แต่สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ภัยพิบัติเชอร์โนบิลไม่ใช่ ‘ประวัติศาสตร์’ แต่เป็นภัยพิบัติที่ยังคงอยู่และยังส่งผลกระทบต่อพวกเรามาจนถึงทุกวันนี้

เหตุการณ์ครั้งนั้นมีประชากรเกือบ 350,000 คนที่ถูกอพยพออกจากบ้าน และในปัจจุบัน ผู้คนประมาณ 5 ล้านคนยังคงต้องอาศัยอยู่ในบริเวณที่ระบุไว้ว่าปนเปื้อน และจากการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติเชอร์โนบิลมากกว่า 9,000 คน แม้กระนั้นแล้ว คุณเชื่อหรือไม่ว่ายังมีเตาปฏิกรณ์อีก 10 เครื่องที่เป็นเตาชนิดเดียวกันกับเชอร์โนบิลเดินเครื่องอยู่ในรัสเซีย เช่น เลนินกราด สโมเลนสค์ ไปจนถึงคูร์ส 

ทั้งนี้ การประเมินตัวเลขการสูญเสียชีวิตจากภัยพิบัติเชอร์โนบิลอย่างเป็นทางการนั้นค่อนข้างยากเนื่องจากข้อจำกัดทางข้อมูลที่มีการเปิดเผยเพียงน้อยนิดและการประเมินระดับการปนเปื้อนกัมมันตรังสีทั้งการได้รับเข้าสู่ร่างกายและระดับกัมมันตรังสีในชั้นบรรยากาศนั้นยังไม่มีความแม่นยำอีกด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้นการประเมินระดับกัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกายนั้นประเมินได้จากการกินหรือการหายใจซึ่งทำให้การประเมินยากกว่าระดับกัมมันตรังสีในอากาศ อนุภาคของกัมมันตรังสีสามารถฝังอยู่ในปอดตลอดไป ซึ่งจะทำให้สุขภาพของผู้ที่ได้รับกัมมันตรังสีอยู่ในความเสี่ยง

Thyroid Cancer Operation - Chernobyl Victims Documentation (Ukraine and Belarus). © Robert Knoth / Greenpeace

นีลา แบนดาเรนโก จากเมือง ซิตโทเมีย เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากภัยภิบัติเชอร์โนบิลกำลังเข้ารับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ครั้งที่ 3 ทั้งนี้ แบนดาเรนโกยังต้องทนทุกข์จากโรคมะเร็งตับอีกด้วย

จากงานวิจัยของกรีนพีซระบุว่าจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากภัยพิบัติเชอร์โนบิลมีราวๆ 100,000 คน แม้ว่าโรคมะเร็งอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆมากกว่าการที่ร่างกายได้รับกัมมันตรังสี แต่จากการวิจัยพบว่าสาเหตุของโรคมะเร็งในคนเหล่านี้มาจากการแพร่กระจายของกัมมันตรังสีจากเชอร์โนบิล ทั้งนี้ตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากปัจจุบันยังคงมีผู้คนอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของกัมมันตรังสี

แล้วทำไมเรายังต้องบริโภคเห็ดและเบอร์รี่ที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีและทำไมเรายังคงสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มขึ้นอีก?

Resident Sells Local Produce in Russian Market. © Denis Sinyakov / Greenpeace

ชาวบ้านผู้พักในเมืองโนโวซุบกอฟขายวัตถุดิบบริเวณตลาด อาหารเหล่านี้ไม่ได้รับการตรวจสอบวัดระดับกัมมันตรังสี

ในปี พ.ศ.2559 ผมอยู่ที่เมืองโนโวซุบกอฟ เมืองที่เต็มไปด้วยกลุ่มผู้คนที่มีความเชื่อเก่าในภูมิภาคบริย์อันสค์ หลังจากภัยพิบัติไม่นาน ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ถูกอพยพออกจากเมือง แต่ราวๆช่วงปี พ.ศ.2523 – 2533 ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจจึงมีการจำกัดเขตการปนเปื้อนในเมือง กรีนพีซเก็บตัวอย่างจากเมืองโนโวซุบกอฟ และหมู่บ้านอีกหลายแห่งในภูมิภาคบริย์อันสค์

ผมได้พบกับ วิคเตอร์ อเล็กเซยวิช คาเนียฟ (Victor Alekseivich Khanaev) ศัลยแพทย์ของโรงพยาบาลกลางโนโวซุบกอฟ วิคเตอร์คือคนที่บอกกับเราว่า “ตอนแรก หลังจากเหตุการณ์เชอร์โนบิล ผู้คนต่างหวาดกลัวและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ แต่เพราะชาวบ้านต้องเผชิญกับค่าตอบแทนเพื่อเลี้ยงชีพอันน้อยนิดและปัจจัยพื้นฐานที่ไม่ครอบคลุมการใช้ชีวิต ในที่สุดพวกเขาไม่ยอมแพ้ที่จะกลับมาปลูกพืชผัก ทำสวน”

Local Family with Wagon of Potatoes in Ukraine. © Denis Sinyakov / Greenpeace

ชาวบ้านตามหมู่บ้านปลูกมะเขือเทศในเขต Rokitne แคว้นริวเน่

ชาวบ้านเริ่มเก็บเห็ดและเบอร์รี่ในป่าอีกครั้งแม้ว่าผลิตผลเหล่านี้ถูกปนเปื้อนด้วยกัมมันตรังสี ผลิตผลเหล่านี้ถูกขายให้กับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งทำให้ไม่มีใครรอดพ้นจากการปนเปื้อนกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายหากผลิตผลนี้อยู่ในบ้านของพวกเขา

วาเลรี่ ซุบโบตินเคยเขียนประโยคหนึ่งเอาไว้ในช่วงปี พ.ศ. 2523-2533 ว่า “พลังงานนิวเคลียร์ที่ปลอดภัย หรือเตาปฏิกรณ์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำนั้นไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ง่ายๆ” 

เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงกิจกรรมที่ก่อขึ้นโดยมนุษย์ซึ่งสร้างผลกระทบในวงกว้างและมีระยะเวลายาวนานได้ถึงเพียงนี้ รัฐบาลหรือบริษัทเองก็ไม่ได้รับผิดชอบต้นทุนของพลังงานอะตอมเหล่านี้ แต่เป็นประชาชนที่ต้องจ่ายต้นทุนราคาสูงนี้รุ่นแล้วรุ่นเล่า

Rashid Alimov ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านนิวเคลียร์ กรีนพีซรัสเซีย

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม