การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนของประเทศ ลดการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น อย่างเช่น ช่างติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา ทีมดูแลระบบหลังการติดตั้ง และการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ เป็นต้น

จากการศึกษาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 พบว่า หากคิดโดยเฉลี่ยครัวเรือนและผู้ประกอบการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ขนาด 5 กิโลวัตต์ จะมีการใช้แรงงานเพื่อติดตั้งระบบ จำนวน 5 คน ใช้เวลาติดตั้ง 2 วัน คิดเป็นใช้แรงงาน 10 คน-วัน ส่วนแรงงานในการดูแลรักษาระบบ ใช้ จำนวน 2 คน ใช้เวลา 1 วัน จำนวน 2 ครั้งต่อปี รวมเป็น 4 คน-วัน ต่อ ปี และห ากคิดว่าใน 1 อำเภอ มีครัวเรือนและผู้ประกอบการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ขนาด 5 กิโลวัตต์ จำนวน 600 จุด หรือคิดเป็น 3 เมกะวัตต์ ก็จะเกิดการจ้ างแรงงานเพื่อติดตั้งระบบจำนวน 6,000 คน-วัน มีการจ้างแรงงานในการดูแลรักษาระบบจำนวน 2,400 คน-วัน ต่อปี หรือ 8 คนต่อปี (คำนวณที่มีวันทำงาน 300 วันต่อปี) และหากคิดว่าในอนาคต จะมีการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปทั้งประเทศจำนวน 3,000 เมกะวัตต์ ก็จะเกิดการจ้ างแรงงานเพื่อติดตั้งระบบจำนวน 6,000,000 คน-วัน (หรือ 20,000 ตำแหน่งงาน) และมีการจ้างแรงงานในการดูแลรักษา ระบบจำนวน 8,000 ตำแหน่งงาน

Solar Panel Installation in Donggala, Sulawesi. © Basri Marzuki / Greenpeace

การติดตั้งแผงโซลาร์ของอาสาสมัครกรีนพีซในอินโดนีเซียในค่ายผู้อพยพ หมู่บ้านเลโร ตองกาลา ตอนกลางของเมืองสุลาเวสี อินโดนีเซีย

ธรรมชาติของพลังงานหมุนเวียนมีลักษณะกระจายศูนย์ (dis – tributed generation) เนื่องจากแหล่งพลังงานมักมีขนาดเล็ก กระจัดกระจายตามแหล่งพลังงานจึงทำให้การพัฒนาสายส่งและระบบส่งพลังงานไฟฟ้ามีความจำเป็นและอาจซับซ้อนมากกว่าปกติ เพื่อที่จะตอบสนองต่อความผันผวนและหลากหลาของการส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าในระบบโดยปกติแล้วระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าจะถูกจัดการและควบคุมที่สถานีย่อยไฟฟ้า (power substation) ผ่านระบบควบคุมทางไกล แต่ละสถานีจะมีขนาดที่แตกต่างกันตั้งแต่ 50 MVA ขึ้นไป การจ้างงานต่อเนื่องสำหรับสถานีย่อยไฟฟ้าจะประกอบด้วย 4 ส่วนคือ

Photovoltaic Installation on Shop Roof in Japan. © Takashi Hiramatsu / Greenpeace

เจ้าหน้าและคนในชุมชนที่ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาของ community shop ในเมืองฟุกุชิมะ ญี่ปุ่น

การก่อสร้างสถานีย่อยซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้างราว 18 เดือน โดยใช้คนงานก่อสร้างราว 60 คน ในช่วง 12 เดือนแรก และในช่วง 6 เดือนหลังจะใช้คนงานก่อสร้ าง 20 คน และช่างเทคนิคและวิศวกรอีก 30 คน การดำเนินการสถานี แม้ว่าสถานีส่วนใหญ่จะใช้ระบบควบคุม ระยะไกล แต่ก็ยังมีความจำเป็นในการจ้างผู้ควบคุมสถานีอีกอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง สำหรับดูแลและตอบสนองในสภาวะพิเศษ

นอกจากนี้ยังมีการจ้างการจ้างงานโดยอ้อมที่เกิดขึ้นจากระบบจัดการไฟฟ้าแบบอัจฉริยะ (Smart Grid) ที่ประกอบด้วยการออกแบบ วิจัย ผลิตอุปกรณ์และดำเนินการในส่วนต่าง ๆ และระบบกักเก็บพลังงานเพื่อจัดการกับความผันผวนของความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เช่น การสูบกลับ (Pump Energy Storage) หรือแบตเตอรี่ระดับกริด (Grid Battery) ที่ต้องมีทั้งการผลิต ติดตั้งดำเนินการ และบำรุงรักษา จากข้อมูลโรงงานผลิตแบตเตอรรีของบริษัทเทสล่า (Giga factory) พบว่า สามารถผลิตแบตเตอรีได้ 50,000 เมกะวัตต์ ชั่วโมงต่อปี ต้องใช้คนงานก่อสร้างอย่างน้อย 600 คน-วัน และมีก ารจ้างงานประจำอีกอย่างน้อย 850 ตำแหน่ง แม้ว่าจะมีเครื่องจักรและหุ่นยนต์จำนวนมากในโรงงาน

Photovoltaic Installation on Shop Roof in Japan. © Takashi Hiramatsu / Greenpeace

เจ้าหน้าและคนในชุมชนกำลังติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาของร้านค้าชุมชน ในเมืองฟุกุชิมะ ญี่ปุ่น

จากการสำรวจข้อมูลของกระทรวงพลังงานในปี พ.ศ. 2558 พบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตแผงโซล่าร์เซลล์นำเข้าวัตถุดิบเข้าประกอบ เช่นเซลล์ แผ่นเวเฟอร์ และวัตถุดิบในการทำโครงอลูมิเนียมโดยการสำรวจ ได้อ้างอิงจากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยพิจารณา เพียงส่วนของการผลิตและประกอบแผงโซล่าร์เซลล์ ไม่รวมอุปกรณ์อื่นๆ ในการติดตั้งระบบไฟฟ้า พบว่าในประเทศไทยมีผู้ผลิตแผงโซล่าร์เซลล์ ทั้งสิ้น 12 ร าย ซึ่งมีกำลังการผลิตเซลล์รวม 924 เมกะวัตต์ต่อปี และมีกำลังการผลิตแผงโซล่าร์เซลล์รวม 4,009 เมกะวัตต์ต่อปีซึ่งก่อให้เกิดการสร้างงานทั้งสิ้น 2,506 ตำแหน่งงาน

การจ้างงานในอุตสาหกรรมรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ ในอนาคตแผงโซลาร์เซลล์ที่ผ่านการใช้งานแล้วจะสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยผ่านกระบวนการเฉพาะทางเคมี ปัจจุบันมีการดำเนินการเช่นนี้ที่ประเทศอินเดียและคาดว่าจะขยายไปยังประเทศต่างๆ ในอนาคตซึ่งกระบวนการนำเอาวัสดุกลับมาใช้ซ้ำนี้ย่อมทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย

โรงพยาบาลโซล่าร์แห่งแรกที่เปิดตัวในประเทศไทย. © Greenpeace / Arnaud Vittet

เจ้าหน้าที่กำลังตรวจเช็คความเรียบร้อยของแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคาโรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

จากรายงานการจ้างงานพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย Renewable Energy Job Creation in Thailand ระบุว่า การจ้างงานโดยตรงในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของไทยในปีพ.ศ. 2559 จะมีประมาณ 17,758 ตำแหน่งงาน โดยร้อยละ 80 ของตำแหน่งงานทั้งหมด จะอยู่ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล (14,323 ตำแหน่งงาน) ตามมาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2,588 ตำแหน่งงาน ก๊าซชีวภาพ 757 ตำแหน่งงาน และพลังงานลม 90 ตำแหน่งงานและหากนำข้อมูลกำลังการผลิตติดตั้งในโครงการพลังงานหมุนเวียน ทั้งที่เดินเครื่องแล้ว และอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าที่มีอยู่ พบว่าหากมีการดำเนินการตามสัญญาที่ผูกพันไว้จนครบถ้วนแล้วในปี พ.ศ. 2562 การจ้างงานโดยตรงของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นเป็น 27,415 ตำแหน่งงานหรือเพิ่มขึ้นอีก 9,657 ตำแหน่งงานเลยทีเดียว

ยิ่งหากมีการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจนครบถ้วน 100% ในปี พ.ศ. 2593 การจ้าง งานโดยตรงของพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2593 จะเท่ากับ 172,164 ตำแหน่งงาน (เฉลี่ยตำแหน่ง งานเพิ่มขึ้นปีละ 4,670 ตำแหน่งงาน/ปี) โดยแบ่งเป็นพลังงานชีวมวลและพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดที่ 77,964 และ 76,620 ตำแหน่งงานตามลำดับรองลงมาคือ พลังงานลม และก๊าซชีวภาพ ตามลำดับนอกเหนือจากการจ้างงานในประเทศไทย การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจนครบถ้วน 100% ใน 4 ประเทศลุ่มน้ำโขงยังมีส่วนทำให้เกิดการจ้างงานโดยตรง ในปี พ.ศ. 2593 ถึงประมาณ 306,704 ตำแหน่งโดยพลังงานแสงอาทิตย์จะมีการจ้างงานมากที่สุด ประมาณ143,570ตำแหน่งงาน รองลงมาคือ พลังงานชีวมวล 89,804 ตำแหน่งงานโดยประเทศที่จะมีการจ้างงานมากที่สุดคือ ประเทศเวียดนาม ซึ่งจะมีการจ้างงานโดยตรงมากกว่าประเทศไทยเล็กน้อย

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องประกาศใช้ระบบ Net Metering

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป

มีส่วนร่วม