มหาสมุทรบนโลกใบนี้นั้นกว้างใหญ่ ไร้อาณาเขต และไม่มีการแบ่งแยกจากกัน ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือจรดขั้วโลกใต้ ทะเลล้วนเป็นผืนเดียวกัน ดังนั้นความสำคัญของทุกพื้นที่จึงเท่ากัน

เพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าว หมุดหมายการสำรวจของเรา จึงเริ่มต้นจากเขตทะเลในขั้วโลกเหนือ และไปสิ้นสุดยังเขตทะเลในขั้วโลกใต้ โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสำรวจสถานะของมหาสมุทรในปัจจุบัน สัตว์ป่าและพรรณพืชในทะเลที่ตกอยู่ในความเสี่ยง และเป็นประจักษ์พยานถึงภัยคุกคามทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้สนับสนุนข้อเสนอของ สนธิสัญญาทะเลหลวง ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

เราจะเล่าให้ฟังว่าตั้งแต่ขั้วโลกเหนือ จรดขั้วโลกใต้นั้น เกิดเหตุการณ์ทำลายสิ่งแวดล้อมอะไรบ้าง และทำไมเราจึงต้องการพลังของคุณในการผลักดัน “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” ให้เกิดขึ้น

ผืนน้ำแข็งและหมีขาวแห่งอาร์กติก

Arctic

อาร์กติกไม่ได้มีเพียงทะเลน้ำแข็งสีขาวโพลน ที่หนาวและเยือกเย็น แต่เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตอันน่าทึ่ง บ้านหลังใหญ่ของสัตว์นานาชนิด ซึ่งไม่สามารถพบเจอได้ในภูมิภาคอื่นของโลก เช่น หมีขั้วโลก นาร์วาฬ และวาฬเบลูก้า

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลต่อน้ำแข็งในอาร์กติก จากอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ ‘บ้าน’ ของสัตว์เหล่านี้กำลังละลายหายไป รวมถึงยังมีภัยคุกคามอื่นๆ อีก เช่น ปัญหามลพิษพลาสติก โครงการสำรวจและขุดเจาะอาร์กติกเพื่อหาแหล่งน้ำมัน

Lost City

Lost City

ลอสต์ ซิตี้ คือเทือกเขาใต้น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก จนได้รับสมญานามว่า กระดูกสันหลังของมหาสมุทรแอตแลนติก หรือ มิด แอตแลนติก ริดจ์ เทือกเขาใต้น้ำแห่งนี้มีโครงสร้างจากธรรมชาติที่น่าตื่นตา และยังเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่โดดเด่นต่างจากที่อื่น 

ลอสต์ ซิตี้ ตั้งอยู่ในบริเวณที่แผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นแยกออกจากัน ได้แก่ แผ่นยูเรเซียและแผ่นอเมริกาเหนือ หลังแผ่นโลกแยกออกจากกัน แมกมาที่ไหลผุดขึ้นมาได้ รังสรรค์ให้พื้นที่แห่งนี้มีภูมิทัศน์ทางธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพื้นที่แห่งนี้จะเป็นกุญแจสำคัญ ไปสู่การไขความลับทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก อย่างไรก็ดี ลอสต์ ซิตี้กำลังถูกคุกคามจากการทำเหมืองแร่ในทะเล

ทะเลซาร์แกสโซ

ทะเลซาร์แกสโซ

ทะเลซาร์แกสโซ อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกใกล้กับหมู่เกาะเบอร์มิวดาและหมู่เกาะลีเวิร์ด

สาหร่ายที่พบในทะเลซาร์แกสโซ ทำให้ทะเลแห่งนี้พิเศษและแตกต่างจากทะเลอื่นๆ สาหร่ายซากัสซัม ซึ่งเจริญงอกงามทอดยาวหลายร้อยกิโลเมตรกลางทะเล ทำให้บริเวณแห่งนี้ ดูคล้ายป่าขนาดย่อมๆ ในทะเล เป็นแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำขนาดเล็ก และที่หลบภัยของเต่าทะเลเกิดใหม่

น่าเศร้าที่ทะเลซาแกสโซกำลังถูกมลพิษจากพลาสติกคุกคาม ปริมาณขยะพลาสติกในทะเลที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อสัตว์น้ำเหล่านี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ เมื่อพวกมันว่ายน้ำไปติดอยู่ท่ามกลางขยะพลาสติก หรืออาจจะกลืนกินขยะเหล่านั้นเข้าไป 

แนวปะการังแอมะซอน

แนวปะการัง แอมะซอน

แนวประการังแอมะซอน เป็นสถานที่ที่เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ในจุดที่ใกล้กับปากแม่น้ำแอมะซอนที่ไหลมาบรรจบกับมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีลักษณะเป็นแอ่งขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด และยังมีระบบนิเวศที่ค่อนข้างสมบูรณ์ 

แนวประการังในบริเวณนี้ เต็มไปด้วยปะการังหลากสีและดอกไม้ทะเลจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นป่าขนาดย่อมๆเลย จึงเป็นบ้านของปลาที่มีสีสันสวยงาม วาฬ และเต่าทะเล อย่างไรก็ดี แนวประการังแอมะซอน กำลังเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากแผนการสำรวจแหล่งน้ำมัน

เขตภูเขาไฟใต้ทะเล วีมา

เขตภูเขาไฟใต้ทะเล วีมา

เขตภูเขาไฟใต้ทะเลแห่งนี้เปรียบเสมือน โอเอซิส กลางทะเล เนื่องจากเป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีทั้งพืชและสัตว์อาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก สิ่งมีชีวิตหลายชนิดปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนในพื้นที่นี้ และดึงดูดสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ให้เข้ามา ตั้งแต่ล็อบสเตอร์และปลาวัยอ่อน ไปจนถึงฉลา เต่า และวาฬที่แวะเวียนมายังเขตภูเขาไฟแห่งนี้ เพื่อหาอาหาร หรืออพยพมาเพื่อให้กำเนิดสัตว์น้ำรุ่นต่อไป

ทว่าในหลายปีที่ผ่านมา เขตภูเขาไฟใต้ทะเลแห่งนี้ได้กลายเป็นเป้าหมายของอุตสาหกรรมการประมงขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ และเช่นเดียวกับผลกระทบจากมลพิษพลาสติก ที่กำลังทำร้ายสัตว์น้ำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และทำล้ายระบบนิเวศใต้ท้องทะเล

มหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันตกเฉียงใต้

มหาสมุทรแอนตาร์กติก ทางตะวันตกเฉียงใต้

บริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ถือเป็นบริเวณสำคัญของโลก เนื่องจากเป็นเส้นทางอพยพของนกอัลบาทรอสและวาฬ 

อย่างไรก็ดีพื้นที่แห่งนี้กำลังถูกคุกคามจากการประมงเกินขนาด โดยเรือประมงข้ามชาติ และการประมงผิดกฎหมาย

แอนตาร์กติก

แอนตาร์กติก

ณ ดินแดนขั้วโลกใต้ ซึ่งปกคลุมไปด้วยหิมะและล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอนตาร์กติก

สถานที่แห่งนี้ เป็นบ้านของสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของแอนตาร์กติกนั่นคือ นกเพนกวิน ปลาหมึกยักษ์ และวาฬที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ระบบนิเวศในขั้นโลกใต้ยังมีความพิเศษกว่าที่อื่นใดในโลก แต่ระบบนิเวศอันเปราะบางนี้กำลังอยู่ในสภาวะวิกฤต จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการทำประมงเกินขนาด

การเดินทางครั้งนี้ต้องการแรงสนับสนุนจากเรา ซึ่งอยู่บนฝั่งให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  มาร่วมกันแสดงพลังเพื่อปกป้องมหาสมุทรของเรา

 

#ProtectTheOceans

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม