ปัจจุบันบิลค่าไฟฟ้าถือเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายทุกๆเดือนไฟฟ้าที่เราใช้ยังมาจากระบบการผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดหลักของก๊าซเรือนกระจกที่เร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วยปัจจัยหลายอย่าง หลายคนจึงตัดสินใจลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เริ่มใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีเหลือเฟือในทุกๆวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้คนอื่นๆผลิตไฟฟ้าจากระบบพลังงานหมุนเวียนได้ด้วยตนเอง

นอกจากประโยชน์ข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว รู้หรือไม่ว่าการติดแผงโซลาร์เซลล์ในครัวเรือนของเราเองยังสามารถทำรายได้จากการผลิตไฟฟ้าส่วนเกิน ผ่านระบบ Net Metering

ระบบการรับซื้อไฟฟ้าบนหลังคา Net Metering คือ ระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติจากไฟฟ้าที่ผลิตใช้เองจากโซลาร์เซลล์บนหลังคากับไฟฟ้าที่เราใช้จากการไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าจะจ่ายค่าไฟฟ้าตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่หักลบแล้ว

ระบบ Net Metering นำมาใช้ในหลายประเทศ เรามาดูตัวอย่างของประเทศที่ใช้ระบบ Net Metering นี้กัน

Rooftop Solar Installation in Colorado. © Greenpeace / Robert Meyers

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาในเมืองโคโลราโด สหรัญอเมริกา

สหรัฐอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกาได้มีการผลักดันระบบ Net Metering มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 แม้ว่าระบบนี้จะยังไม่ได้ถูกใช้ในทุกรัฐเนื่องจากยังมีบางรัฐที่อยู่ในกระบวนการการผ่านร่างนโยบาย แต่ก็มีจำนวน 41 รัฐ 4 พื้นที่ที่มีการใช้ระบบนี้อย่างจริงจัง เช่น กรุงวอชิงตัน ดีซี แคลิฟอเนียร์ มอนทานา โคโลราโด และมิสซูรี เป็นต้น โดยมีกำลังผลิตพลังงานจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ทั่วประเทศรวม 64.2 กิกะวัตต์ จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ 1,993,000 ครัวเรือน และเพิ่มการจ้างงานชาวอเมริกันได้มากถึง 242,000 คน

Samsoe's Energy Academy in Ballen Village. © Denis Sinyakov / Greenpeace

แผงโซลาร์ เซลล์ บนหลังคาในฟาร์ม หมู่บ้านบอลเลน การติดตั้งครั้งนี้เพื่อโปรโมทพลังงานหมุนเวียนและมีการเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน เดนมาร์ก

เดนมาร์ก

ข้ามมาที่ฝั่งยุโรป ที่เดนมาร์กเมืองที่ขึ้นชื่อว่าสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนเป็นทุนเดิมก็มีการประชาสัมพันธ์และให้การสนับสนุนในเรื่องของการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลักดันให้คนติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น โดยผู้ผลิตไฟฟ้าในระบบ Net Metering (ครัวเรือนที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์) นั้นจะได้รับการยกเว้นการจ่ายเงินให้กับ โครงการบริการสาธารณะ (Public Service Obligation) ซึ่งองค์กรนี้เป็นองค์ที่จะเรียกเก็บค่าบริการเพื่อสนับสนุนระบบพลังงานหมุนเวียน

Portraits from Bangalore. © Vivek M. / Greenpeace

Sekar Srinivasan had spent many years in the corporate world before he began working on his dream house off Sarjapur Road in Bangalore. Due to be finished in a few months, it will be completely energy self-sufficient with solar being one of the main sources. He hasn’t even bothered to apply for an electricity connection from the grid.

อินเดีย

ปัจจุบันพลังงานแสงอาทิตย์กำลังเป็นที่นิยมในอินเดียอย่างแพร่หลาย อินเดียมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ราว 24 กิกะวัตต์ ซึ่งต่างจากช่วงปี พ.ศ. 2540-2550 ลิบลับที่มีกำลังผลิตได้เพียง 1 กิกะวัตต์เท่านั้น ทั้งนี้อินเดียยังตั้งเป้าหมายเพื่อขยายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในครัวเรือนให้มีกำลังผลิตมากถึง 40 กิกะวัตต์ภายในปี พ.ศ.2565

และแน่นอนว่าอินเดียยังมีระบบ Net Metering ช่วยให้ครัวเรือนขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตเกินได้ นอกจากนี้รัฐบาลอินเดียยังมีโครงการขยายการลงทุนในการติดตั้งโซลาร์รูฟ ด้วยงบประมาณราว 3.3 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ อีกด้วย

Tour around the South East of Asia to promote the use of clean energy. © Greenpeace / Kate Davison

นักกิจกรรมกรีนพีซกำลังติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์

ในฟิลิปปินส์ Net-metering คือกลไกเชิงนโยบายอันดับแรกภายใต้กฏหมายพลังงานหมุนเวียน ค.ศ.2008 ระบบ Net Metering ของฟิลิปปินส์ เปิดให้ลูกค้าของหน่วยงานด้านไฟฟ้า(Distribution Utilities) โดยเฉพาะ MERALCO ซึ่งเป็นภาคไฟฟ้าเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบต่างๆ รวมถึงโซลาร์รูฟท็อปที่มีกำลังผลิตไม่เกิน 100 กิโลวัตต์เพื่อใช้ในอาคารบ้านเรือนของตนและไฟฟ้าที่เหลือจะส่งกลับเข้าในระบบสายส่งของการไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ จากนั้น MERALCO จะจ่ายเงินของไฟฟ้าที่ส่งเข้าระบบสายส่งโดยหักลบออกจากบิลค่าไฟฟ้า กฎเกณฑ์ของระบบ net-metring ในฟิลิปปินส์เริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ.2556 ระบบ Net-metering ได้ตอบโจทย์ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นและค่าไฟฟ้าที่สมเหตุสมผลในประเทศโดยต้องลดอุปสรรคสำคัญในการอนุมัติการเชื่อมต่อระบบและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการติดตั้ง

หากมีการส่งเสริมระบบ Net Metering ที่เหมาะสม จะช่วยให้เราทั้งลดค่าไฟและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน และที่มากกว่านั้น การที่ประชาชนที่สามารถเป็น “ผู้ผลิต” ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนแบบต่างๆ มีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานที่แท้จริงและกอบกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ  

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องประกาศใช้ระบบ Net Metering

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป

มีส่วนร่วม