Coral Reef in Andaman Sea. © Sirachai Arunrugstichai / Greenpeace

ปะการังในทะเลอันดามัน เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลธรรมชาติและบ้านของสัตว์ทะเลหลากชนิด

เมื่อเร็วๆนี้ องค์การสหประชาชาติเปิดเผยรายงานที่ระบุว่า สปีชีส์กว่า 1 ล้านสายพันธุ์กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อ การสูญพันธุ์ใหญ่ ครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

ซึ่งรายงานจากคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและนิเวศบริการ (IPBES) นี้ทำให้เรากังวลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ดอกเตอร์รัสเซล นอร์แมน ผู้อำนวยการบริหารจากกรีนพีซ นิวซีแลนด์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับความกังวลในครั้งนี้ว่า

“เราทราบดีว่าจะเกิดสถานการณ์ที่เลวร้าย แต่เราคาดไม่ถึงว่าจะเลวร้ายขนาดนี้ เรากำลังเผชิญกับ การสูญพันธุ์ใหญ่ครั้งที่ 6 ในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งมนุษย์เรามีส่วนกับเรื่องนี้ ตอนนี้สิ่งที่เราทำไว้กับธรรมชาติได้ย้อนกลับมาทำร้ายพวกเราแล้ว”

Ara Parrot in Brazilian Rainforest. © Markus Mauthe / Greenpeace

นกแก้วมาคอว์ในป่าฝนเขตร้อน

“สิ่งที่รายงานระบุเอาไว้นั่นคือวิกฤตแห่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนี้จะนำมนุษย์ไปสู่หายนะ เราจึงจำเป็นต้องปกป้องโลกของเราทันที มีเพียงแค่การร่วมมือจากทั่วโลกเท่านั้นที่จะช่วยให้เราแก้ไขวิกฤตนี้ได้ทันท่วงที”

รายงานได้ระบุสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมขึ้น นั่นคือ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินใช้ การแสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมมากขึ้น วิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น และการบริโภคที่มากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งไปสู่จุดที่โลกไม่เคยเผชิญมาก่อน

Great Barrier Reef Coral Bleaching around Fitzroy Island and Green Island. © Abram Powell / Greenpeace

ปลาการ์ตูนมีแหล่งที่อยู่อาศัยคือปะการัง ภาพถูกถ่ายบริเวณ เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ

มหาสมุทรคือจุดที่ได้รับผลกระทบรุนแรง รายงานระบุไว้ว่ามหาสมุทรร้อยละ 66 ถูกมนุษย์แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรจนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งการประมงเกินขนาดและการปล่อยมลพิษในแหล่งน้ำ และในตอนนี้ ความอุดมสมบูรณ์ในมหาสมุทรก็กำลังลดลงเรื่อยๆ

ประเทศไทยสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในระดับโลกนี้ได้

การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และการสนับสนุนการเกษตรเชิงนิเวศเพื่อทดแทนการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า นับว่าเป็นทางเลือกที่ดี การแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เริ่มขึ้นในหลายประเทศแล้ว เช่น อังกฤษ สก๊อตแลนด์ โดยอังกฤษยังประกาศให้ วิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน อีกด้วย

เยาวชนในกรุงปราก สาธารณรัฐเช็กร่วมกันเดินรณรงค์ให้รัฐตระหนักเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศและลงมืออย่างจริงจัง งานรณรงค์นี้มีอีกชื่อที่รู้จักกันทั่วโลกว่า Friday For Future

กรีนพีซรณรงค์เรียกร้องต่อเปลี่ยนระบบการผลิตและการบริโภคอาหาร ปกป้องมหาสมุทรโลก และเปลี่ยนผ่านทางพลังงานเพื่อกอบกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

การทำปศุสัตว์ใช้ทรัพยากรมหาศาล

ร้อยละ 30 ของผืนโลกที่ไม่ได้ปกคลุมด้วยน้ำแข็งนั้นถูกใช้ไปกับการทำปศุสัตว์ หรือปลูกพืชเพื่อการปศุสัตว์การทำปศุสัตว์บนพื้นที่เหล่านี้ได้สร้างก๊าซเรือนกระจกมากกว่าภาคการคมนาคมขนส่งทั้งหมด

ปัจจุบันนี้มนุษย์บริโภคเนื้อสัตว์มากถึง 230 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าเมื่อ 30 ปีที่แล้วถึงสองเท่า การทำปศุสัตว์นั้นต้องใช้น้ำและอาหารปริมาณมาก ซึ่งปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ รวมถึงผลิตของเสียมหาศาล

ในรายงาน What’s Feeding Our Food? โดย Friends of the Earth เผยว่า พื้นที่ป่า 6 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งเทียบเท่ากับประเทศลัทเวีย หรือพื้นที่สองเท่าของประเทศเบลเยียม ถูกเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นฟาร์มและปศุสัตว์ต่อปี โดยส่วนใหญ่นั้นจะเป็นการปลูกพืชเพื่อป้อนปศุสัตว์

Dairy Farming at Uckermark AG in Germany. © Paul Langrock / Greenpeace

ระบบรีดนมวัวอัตโนมัติในฟาร์มปศุสัตว์ เยอรมนี

 ในหลายประเทศจึงรณรงค์ให้ลดการกินเนื้อสัตว์จากการทำปศุสัตว์เพื่อลดผลกระทบต่อโลก และถึงยังเลิกกินเนื้ออย่างถาวรไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ยังมีอีกหลายวิธีเราที่สามารถช่วยได้ เช่น การสนับสนุนเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม อาหารหรือพืชผักจากในท้องถิ่น และสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากการทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนกว่า

ปกป้องมหาสมุทรโลก

กรีนพีซรณรงค์ในระดับโลกเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกสนับสนุน “สนธิสัญญาทะเลหลวง” ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิด “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” ที่ปกป้องมหาสมุทรอย่างน้อยร้อยละ 30 จากมหาสมุทรทั่วโลกภายในปีพ.ศ.2573 เพื่อปกป้อง ฟื้นฟูทรัพยากรพืชและสัตว์ทะเล รวมทั้งลดผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

เปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน

ในส่วนของของพลังงาน กรีนพีซมีเป้าหมายในการยุติการใช้และสำรวจถ่านหินทั้งบนผืนดินและทะเล รวมทั้งแหล่งเชื้อเพลิงอื่นๆทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน การเผาไหม้ถ่านหินปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่าร้อยละ 75 ของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก ปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ยั่งยืนและเป็นธรรม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เป็นต้น

Coal Power Plants in Suralaya, Indonesia. © Ulet Ifansasti / Greenpeace

โรงไฟฟ้าถ่านหิน Suralaya ในจังหวัดบันเติน อินโดนีเซีย

โลกของเรากำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤต ในปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2561) ทั่วโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกเอาไว้  ขณะที่ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังลดน้อยลง และมลพิษจากกิจกรรมของมนุษย์กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราต้องตระหนักถึงการปกป้องทรัพยากรโลกและลงมือแก้ไขให้เร็วที่สุด

ชมวิดีโอ “ธรรมชาติค้ำจุน – Life Support” เรื่องราวของความหลากหลายทางชีวภาพที่คอยค้ำจุนชีวิตเราทุกคน

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม