เรากำลังออกเดินทางข้ามทวีปไปเพื่อเปิดโปงภัยคุกคามกับท้องทะเล เผชิญหน้ากับเหล่าผู้ทำลายสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนทางออกสำหรับมหาสมุทรสีน้ำเงินนี้

ห่างออกไปหลายกิโลเมตรจากชายฝั่ง ลึกลงไปใต้เกลียวคลื่นอันเงียบสงบของผืนน้ำสีฟ้าคราม คือโลกของยักษ์ใหญ่และนักล่าใต้สมุทรรูปแบบสิ่งมีชีวิตยุคดึกดำบรรพ์และสถานที่อันน่าตื่นตา

MY Esperanza in the Indian Ocean. © Will Rose / Greenpeace

เรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซล่องเรืออยู่ในมหาสมุทรอินเดีย

น่านน้ำนอกเหนือพรมแดนประเทศนี้เป็นบ้านของสรรพชีวิตที่หลากหลาย มากเสียยิ่งกว่าในป่าฝนเขตร้อน มีเทือกเขามหึมาใต้สมุทรที่ทอดตัวยาวและสูงชันจนแทบไม่มีภูเขาลูกใดบนผืนดินเทียบได้ มีร่องลึกที่สามารถกลบเทือกเขาเอเวอเรสต์ให้จมหายไป และยังเป็นเส้นทางการเดินทางเพื่ออพยพของวาฬ เต่าทะเล นกอัลบาทรอส และปลาทูน่าจากน่านน้ำทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง

แต่จากวิกฤตสภาพภูมิอากาศไปจนถึงมลพิษพลาสติก การทำเหมืองแร่ในทะเล และการประมงเกินขนาดนั้นคือส่วนหนึ่งของภัยคุกคามที่มหาสมุทรของเราเผชิญอยู่ยิ่งทวีความเร่งด่วนมากขึ้นทุกวัน

แต่ความหวังยังไม่หมดไป เพราะขณะนี้ รัฐบาลทั่วโลกกำลังทำงานในเรื่องสนธิสัญญาทะเลหลวง ที่อาจช่วยปกป้อง 1 ใน 3 ของมหาสมุทรโลกให้รอดพ้นจากกิจกรรมของมนุษย์และอุตสาหกรรมที่ทำลายล้าง

ปีนี้ เราทำงานขับเคลื่อนเพื่อทำให้มั่นใจว่ารัฐบาลทั้งหลายจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยการรณรงค์ปกป้องมหาสมุทรของกรีนพีซ แรงสนับสนุนจากทุกคนจะเป็นพลังผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาทะเลหลวง(Global Ocean Treaty) ที่เข้มแข็ง

ถ้าเราทำสำเร็จ จะช่วยเบิกทางให้กับแผนการฟื้นฟูระบบนิเวศมหาสมุทรที่จะทำให้เราเห็น 1 ใน 3 ส่วนของมหาสมุทรได้รับการปกป้องภายในปี พ.ศ.2573

การเดินทางสำรวจ และการเรียกร้องเพื่อลงมือทำ

เรารู้จักมหาสมุทรแค่เพียงเศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น ยังมีบริเวณกว้างใหญ่ในท้องทะเล ที่ยังไม่ได้รับการปกป้อง จึงจำเป็นที่เราต้องขยายพรมแดนการสำรวจว่าเกิดอะไรขึ้น

เพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าว หมุดหมายการสำรวจของเรา จึงเริ่มต้นจากเขตทะเลในขั้วโลกเหนือ และไปสิ้นสุดยังเขตทะเลในขั้วโลกใต้ โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสำรวจสถานะของมหาสมุทรในปัจจุบัน สัตว์ป่าและพรรณพืชในทะเลที่ตกอยู่ในความเสี่ยง และเป็นประจักษ์พยานถึงภัยคุกคามทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้สนับสนุนข้อเสนอของ สนธิสัญญาทะเลหลวง ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

ณ จุดเริ่มที่อาร์กติก จะเป็นการเก็บข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีผลกระทบต่อมหาสมุทรอาร์กติก และสิ่งมีชีวิตประจำถิ่นที่อาศัยในบริเวณนั้น

ตลอดช่วงระยะเวลา 1  ปีของการเดินทาง เราก็จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พื้นน้ำแข็งที่หายไปส่งผลอย่างไรบ้างกับพฤติกรรมของหมีขาว ไปจนถึงผลกระทบของขยะพลาสติกที่กระจายไปทั่วและส่งผลกระทบต่อสัตว์ในทะเลซากัสโซ (Sargasso Sea) นอกจากนี้ระหว่างทาง เราก็จะได้พบสิ่งมีชีวิตอันน่ามหัศจรรย์จากทวีปต่างๆ เช่น วาฬหลังค่อม สัญลักษณ์แห่งมหาสมุทรอาร์กติก ไปจนถึง นกเพนกวินแห่งทวีปแอนตาร์กติก

นอกจากความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่เราจะได้สัมผัส เราก็จะบันทึก เก็บรวบรวมข้อมูลการทำลายล้างทางธรรมชาติจากน้ำมือของมนุษย์ นับตั้งแต่การทำการประมงเกินขนาด ไปจนถึงการทำเหมืองแร่ในทะเล ที่เสี่ยงต่อการทำลายแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญใต้ท้องทะล ซึ่งปัจจุบันมีลักษณะพิเศษคือ เต็มไปด้วยปล่องไฟใต้ทะเล และมีแร่สีขาวสูงตระหง่านทั่วพื้นที่ คล้ายกับเมืองใต้น้ำ

เรือกรีนพีซ เอสเพอรันซา

สำหรับการเดินทางที่เต็มไปด้วยความท้าทายเช่นในครั้งนี้ เราจะใช้เรือที่ใหญ่ที่สุดและเร็วที่สุด นั่นคือเรือเอสเพอรันซา จากเรือดับเพลิงสัญชาติรัสเซีย เอสเพอรันซากลายเป็นเรือที่ต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมกับกรีนพีซมากว่า 15 ปีแล้ว

ทุกคนในการเดินทางครั้งนี้ต้องการแรงสนับสนุนจากเรา ซึ่งอยู่บนฝั่งให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  มาร่วมกันแสดงพลังเพื่อปกป้องมหาสมุทรของเรา #ProtectTheOceans

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม