ซิมบับเวคือประเทศเล็กๆที่เป็นที่รู้จักจากปัญหาเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ แต่สำหรับใครที่รู้จักประเทศนี้จริงๆแล้ว พวกเขาย่อมกล่าวกับคุณได้ว่าเป็นประเทศที่มีผู้คนอัธยาศัยดีและมีอากาศที่ดี คุณพ่อของฉันมักจะให้ความเห็นบ่อยๆถึงสภาพอากาศในซิมบับเวว่างดงามแค่ไหน

เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะเชื่อคำพูดของพ่อหลังจากที่ฉันเห็นข่าวเกี่ยวกับภัยพิบัติในซิมบับเวที่เพิ่งเกิดขึ้น ไซโคลน “อิดาอี” ได้พัดเข้าถล่มและสร้างความเสียหายอย่างหนักใน โมซัมบิก มาลาวี และ ซิมบับเว ผู้คนกว่าหลายล้านได้รับผลกระทบอย่างหนัก รวมทั้งยอดผู้เสียชีวิตและความเสียหายยังคงพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยองค์การสหประชาชาติได้ออกมากล่าวว่าภัยพิบัติครั้งนี้เป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาค

ภัยพิบัติครั้งนี้แม้เลวร้าย แต่อาจไม่ใช่ครั้งแรกเพราะหลายปีที่ผ่านมา เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว มีแนวโน้มเกิดบ่อยขึ้นในภูมิภาคนี้

  • ในฤดูเพาะปลูกปีนี้ ซิมบับเวต้องเผชิญกับภัยแล้งเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผลิตผล
  • ในปี พ.ศ.2543 ทั้งซิมบับเวและโมซัมบิกต้องเผชิญกับความเลวร้ายของไซโคลน อีไลน์
  • ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า แม่น้ำ ชิลวา (Chilwa)ในมาลาวีกำลังแห้งลงไปเรื่อยๆเนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ชาวบ้านยืนอยู่บนถนนรหว่าง เบย์รา (Beira) และ คีโมไอโอ (Chimoio) ในเขต นามาทันดา ใจกลางเมืองโมซัมบิก หลังจากไซโคลน อิดาอี พัดเข้าถล่มเมืองเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2562 © ADRIEN BARBIER/AFP/Getty Images

เมืองคีมานีมานี (Chimanimani) เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยทุ่งหญ้าสีเขียวและหุบเขาที่สวยงาม เป็นเมืองที่มีความสวยงามของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซิมบับเว เป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ถนนหนทางถูกทำลาย สัญญาณโทรศัพท์ถูกตัดขาด บ้านเรือนพังทลายและผู้คนหลายชีวิตสูญหาย เช่นเดียวกับชาวซิมบับเวที่สูญหาย ฉันรู้สึกกระวนกระวายที่อยู่ห่างไกลจากบ้านมาก

แต่หลังจากที่ลองโพสต์ขอความช่วยเหลือในโซเชียล มีเดีย เพื่อหาทางช่วยเหลือ ฉันได้รับการตอบรับอย่าล้นหลาม แม้ว่าจะมีความยากลำบากในการพบองค์กรต่างๆในซิมบับเว แต่หลายๆเครือข่ายจากประเทศต่างๆ ต่างก็ร่วมให้ความช่วยเหลือโดยใช้ความสามารถของตนเองเพื่อประโยชน์สูงสุดในการช่วยเหลือ

อาสาสมัครจำนวนมากร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหากำไรท้องถิ่นเพื่อจัดการสิ่งของบริจาคให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไซโคลน อิดาอี © Benevolent Masora for BLCK Media

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในโลกของเรายังคงเกิดขึ้นเรื่อยๆ ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ต้องพบเห็นกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดแต่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เป็นเรื่องที่น่ากังวลเพราะเราต่างทราบดีว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นเรื่องน่าโมโหเพราะจริงๆแล้วเหล่าผู้นำจากทั่วโลกมีความสามารถมากพอที่จะรับมือกับมัน

ทั้งนี้ นโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางสังคมในซิมบับเวและประเทศในทวีปแอฟริกาอีกต่อไป โลกต้องการการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในการประชุมปารีสอย่างเร่งด่วน

อย่างไรก็ดี ฉันรู้สึกว่าพลังของคนธรรมดาก็ไม่ได้ไร้ค่าเมื่อได้เห็นอาสาสมัครที่เข้าไปช่วยเหลือคนในพื้นที่มากขึ้น แสดงถึงการเติบโตของพลังมวลชนและความต้องการผลักดันให้ภาครัฐและภาคเอกชนทำอะไรสักอย่างเพื่อชะลอความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าเดิมในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

 

Kudzayi Ngwerume เป็นหนึ่งในทีมผลิตเนื้อหาของกรีนพีซสากล

Primary Forest in Papua. © Ulet  Ifansasti / Greenpeace
ร่วมปกป้องป่าฝนเขตร้อน

ป่าฝนเขตร้อนที่เป็นบ้านของอุรังอุตังกำลังถูกทำลายจากการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน หากเราไม่ทำอะไรเลย ถิ่นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ป่าจะถูกทำลาย

มีส่วนร่วม