พวกเรารู้ว่าบริษัทน้ำมันอยู่เบื้องหลังวิกฤตโลกเดือดมาหลายทศวรรษ แต่กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียมกลับวางแผนใช้วิกฤตนี้มาเป็นโอกาสทำกำไรให้กับตัวเอง ด้วยการใช้เงินจากงบประมาณสาธารณะ และอ้างว่าจะช่วยแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ในทางกลับกัน งบประมาณสาธารณะดังกล่าวถูกนำไปใช้เพื่อเป็นเงินทุนอุดหนุนในการเพิ่มการผลิตน้ำมัน หากใครคิดตามแผนการนี้ไม่ทัน อาจจะบอกได้ว่าแผนของพวกเขานั้นอัจฉริยะจริง ๆ

เมื่อบริษัทอุตสาหกรรมน้ำมัน เช่น เชลล์ เชฟรอน และบริษัทอื่น ๆ  ต่างไม่มีแผนที่จะลดการผลิตเพื่อหยุดยั้งวิกฤตโลกเดือด และยังไม่จริงจังกับการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  (Net Zero) คำว่า ‘สุทธิ’ หรือ “Net” คือการหักลบคาร์บอนจากบัญชีก๊าซเรือนกระจกเพื่อสร้างภาพลวงการปล่อยคาร์บอน ‘เป็นศูนย์’ นอกจากนี้เหล่าปรมาจารย์ของการแสวงหาผลกําไรจากปิโตรเลียมได้บังเกิดกลวิธี “การดักจับคาร์บอน” ซึ่งเป็นกลลวงที่ทําให้พวกเขาสามารถใช้เงินจากภาษีประชาชนหลายพันล้านดอลลาร์และยูโร

แม้แต่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ยังหลงกลเรื่องการดักจับและกักเก็บคาร์บอนเห็นได้จากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ของ IPCC ยังเสนอให้ใช้การดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) เพื่อปรับสมดุลคาร์บอนในบัญชีในอนาคตอันห่างไกล

หมอกควันหนาทึบลอยต่ำเหนือพื้นดิน ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมันยังคงปล่อยควันอย่างต่อเนื่อง © Greenpeace / Colin O’Connor

กลลวงนี้ทำงานอย่างไร

นักธรณีวิทยาของอุตสาหกรรมน้ำมันรู้กันตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 ว่าแหล่งน้ำมันทั้งหมดจะหมดลงเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากแรงดันในชั้นหินลดลงทำให้น้ำมันไม่ไหล พวกเขาจึงพัฒนาวิธีการที่ช่วยในการผลิตน้ำมันขึ้นมาจากหลุมหลังจากที่ได้มีการผลิตตามธรรมชาติแล้ว (Enhanced oil recovery) เพื่อยืดอายุของแหล่งน้ำมันดิบ ด้วยวิธีการอัดคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) เข้าไปในหลุมน้ำมันเก่า อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้มีราคาที่สูงและทำกำไรได้ต่ำ ในปี 2508 กลลวงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนจึงเริ่มเกิดขึ้นเนื่องจาก สถาบันวิจัยปิโตรเลียมแห่งอเมริกาได้คาดการณ์และรู้ถึงหายนะจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์นี้ 

คนวงในด้านอุตสาหกรรมอ้างว่าพวกเขาสามารถดักจับและกักเก็บก๊าซอันตรายอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ด้วยการใช้งบประมาณสาธารณะ ขณะเดียวกันก็วางแผนใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อเพิ่มผลผลิตของน้ำมัน และให้บริษัทของตัวเองสามารถปล่อยคาร์บอนได้มากขึ้น ซึ่งมันอาจต้องใช้เวลาอีกหลายทศวรรษกว่าคนทั่วไปจะเข้าใจว่ากลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันกำลังทำสิ่งนี้อยู่

ในปี 2491 เชฟรอนพบว่าแหล่งน้ำมันดิบที่เมืองสเคอรี่ รัฐเท็กซัส มีสัญญาณว่ากำลังจะหมดลงในปี 2494 เชฟรอนจึงได้เริ่มโครงการ CCS เป็นที่แรกของโลกในปี 2515 ด้วยการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหลือทิ้งจากหลุมก๊าซที่ห่างออกไปราว 400 กิโลเมตร ใกล้กับชายแดนของเม็กซิโก โดยลำเลียงผ่านท่อก๊าซไปที่ตอนเหนือเพื่อยืดอายุหลุมน้ำมันสเคอรี่ (Scurry field) หลังจากอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปพวกเขาก็ได้ก๊าซออกมาเพิ่ม เพราะฉะนั้น CCS จึงไม่ได้กู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ทำให้มีน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น

ตั้งแต่กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันมุ่งมั่นที่จะใช้การดักจับและกักเก็บคาร์บอนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำมัน จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) ในปี  2535 กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันระดับนานาชาติจัดงานประชุมCCUS เป็นครั้งแรกที่ประเทศเนเธอแลนด์

ปี  2541 เชฟรอน เอ็กซอนโมบิล เชลล์ และรัฐบาลออสเตรเลียเริ่มประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน และนำมาใช้กับแหล่งก๊าซกอร์กอน (Gorgon gas field) ขนาดใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งพบปัญหา 2 เรื่อง คือ  1) พื้นที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ และ 2) มีการผลิตที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่าร้อยละ 14 ในเมื่อต้องกักเก็บคาร์บอนนี้อยู่แล้วเพื่อให้ยังอยู่ในเงื่อนไขของการส่งออก เหล่าบริษัทน้ำมันจึงโน้มน้าวให้ประชาชนออสเตรเลียต้องเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายนี้แทน

เชฟรอน และเครือพันธมิตรได้รับเงิน 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งในปี 2546 เชฟรอนอ้างว่า CCUS เป็น “เทคโนโลยีที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพลังงานของโลก” ขณะเดียวกันสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกาถึงกับประชาสัมพันธ์แคมเปญที่ยืนยันว่า CCS ถูกใช้เพื่อการกู้คืนน้ำมันให้เพิ่มขึ้นเป็นหลัก

ที่ออสเตรเลีย บริษัทสัญญาว่าจะดักจับคาร์บอนกว่าหลายล้านตัน โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2559  แต่ใน 4 ปีแรกนั้นไม่สามารถกักเก็บอะไรได้เลยและในปี 2562 โครงการ CCUS กอร์กอนก็เกิดอุดตันจากทรายจนต้องหยุดโครงการเพื่อซ่อมแซม

จนถึงตอนนี้ โครงการกอร์กอนกักเก็บก๊าซคาร์บอนเพียงร้อยละ 30 ของเป้าหมายใน “กระบวนการลดการปล่อยคาร์บอน” ซึ่งคำนี้กลบซ่อนความจริงที่ว่าบริษัทสามารถกักเก็บคาร์บอนได้จริง ๆ ประมาณร้อยละ 2 ของเป้าหมายทั้งหมด อย่างไรก็ตามสิ่งที่เชฟรอนสามารถดักจับและกักเก็บเอาไว้ได้ 100% คือ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากประชาชน เชฟรอนแถลงว่า “การบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นสิ่งสำคัญของการวางแผนและการดำเนินธุรกิจของบริษัท” 

ดูเหมือนว่ายุทธศาสตร์ของบริษัทจะใช้วิธีการนำต้นทุนทางสังคมมาแปรรูปเป็นกำไรของบริษัท อย่างไรก็ตามการกักเก็บคาร์บอนได้เพิ่มกลยุทธิ์ที่เป็นความเสี่ยงของสังคมอีกด้วย เมื่อการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เร่งความร้อนของโลกให้สูงขึ้น และบริษัทอาจเผชิญความเสี่ยงด้านหนี้สินอย่างรุนแรงเนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนไวต่อการระเบิด แต่ปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นที่ออสเตรเลียเพราะเชฟรอนและเชลล์ได้ชักจูงรัฐบาลออกนโยบายให้ประชาชนผู้เสียภาษีเป็นผู้แบกรับหนี้เหล่านั้นของโครงการกอร์กอน

การฉ้อฉลที่แยบยล: แสร้งทำเป็นช่วยแก้ไขปัญหา ในขณะเดียวกันกลับทำให้ปัญหาเลวร้ายลง มิหนำซ้ำยังส่งต้นทุนและผลักภาระหนี้ทั้งหมดไปที่ประชาชน และเก็บเกี่ยวผลกำไรให้ตัวเอง มันช่างแยบยลมากจริง ๆ  แต่แผนการที่ไร้ยางอายนี้ก็ได้เริ่มส่งสัญญาณบางอย่างออกมา

หอเผาก๊าซทิ้ง (Flare stack) ของโรงกลั่นน้ำมันที่อิงมิงแฮม สหาราชอาณาจักร © Les Gibbon / Greenpeace

เสียงและสัญญาณอันตราย

ในปี 2549  กระทรวงสิ่งแวดล้อมของเยอรมนีระบุชัดเจนว่า “การลงทุนในเทคโนโลยีที่ใช้ฟอสซิลเช่น การกักเก็บคาร์บอน นั้นไร้ประโยชน์ที่สุด…  เมื่อเปรียบเทียบกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียน” และในปีถัดมาสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมออสเตรเลียแนะนำว่าโครงการกอร์กอนควรถูกยุติเนื่องจากความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

สื่อ เอเนอร์ยี วอลชิงตัน วีค (EnergyWashington Week) เผยแพร่รายงานของ Oil Change International และสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา ระบุ “โรงไฟฟ้าที่ติดตั้งระบบ CCS … ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-40 เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าที่ไม่มี CCS” การใช้พลังงานที่มากขึ้นก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้น  แต่คำเตือนเหล่านี้กลับถูกเพิกเฉย

สถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกายังคงประชาสัมพันธ์สนับสนุนเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอนอย่างต่อเนื่องแม้ว่าที่ปรึกษาของสถาบันเองออกรายงาน “Carbon Dioxide Enhanced Oil Recovery” เพื่อเตือนว่า “หากต้องการก่อสร้างเพื่อกักเก็บคาร์บอนทั้งหมดนั้น ต้องใช้พื้นที่ทั้งหมดของหลุมน้ำมัน และก๊าซที่มีอยู่ในปัจจุบัน” ถ้าเราต้องการลดอุณหภูมิของโลกลง เราต้องลงทุน CCUS เป็น 2 เท่าของแหล่งน้ำมันที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งต้องใช้เวลาการสร้างอีกศตวรรษ และอาจต้องใช้งบประมาณสูงถึงพันล้าน นอกจากนี้ยังต้องมีการทำเหมือง การขนส่งวัตถุดิบ ซีเมนส์ เหล็ก และวัสดุที่ปล่อยคาร์บอนสูง อันจะก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้น

ในปี 2560  เมื่อปัญหาเหล่านี้เริ่มเผยออกมา BP ได้สูญเสียโครงการกักเก็บคาร์บอนมูลค่ากว่า 500 ล้านยูโรที่สก็อตแลนด์ และที่สหรัฐอเมริกา โครงการ CCS “ถ่านหินสะอาด” ที่มิสสิสซิปีก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนดและงบประมาณบานปลายไปหลายพันล้าน ส่วนโรงไฟฟ้าเพตรา โนว่า (Petra Nova CCS) ที่เท็กซัสซึ่งควรจะกักเก็บคาร์บอนได้ 1.6 ล้านตันต่อปี – ทำผลงานได้ต่ำกว่าเป้าหมายติดต่อกันสามปีและปิดทำการไปในปี 2563 โครงการการกักเก็บคาร์บอนของมหาวิทยาลัย MIT ก็ได้ปิดตัวลงเนื่องจากเทคโนโลยีที่ยังไม่เหมาะสมและปัญหาด้านเศรษฐกิจ ในปี 2559  เท่ากับว่าจนถึงปี 2563  โครงการ CCS ที่ล้มเหลวมีมากกว่าร้อยละ 80 ในขณะเดียวกัน องค์การปกป้องสิ่งแวดล้อมออสเตรเลียตะวันตกได้มีข้อสรุปในปี  2562 ว่าเชฟรอนคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบการขุดเจาะก๊าซของโครงการกอร์กอนและความผิดพลาดในการดักจับและกักเก็บคาร์บอนที่ไม่ถึงเป้าหมาย

การสูญเปล่าทางการเงินของการดักจับคาร์บอนของเชลล์

จากงานศึกษาของโกลบอล วิทเนส เมื่อมกราคม 2565  ระบุว่าโครงการ Quest ของเชลล์ (Shell’s Quest plant) ที่แคนาดา Tar Sands เป็นน้ำมันดิบรูปแบบหนึ่งที่มีความหนืดสูง คล้ายยางมะตอยนั้นปล่อยคาร์บอนมากกว่าที่กักเก็บได้ ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณการปล่อยคาร์บอนของรถยนต์เชื้อเพลิงก๊าซ 1.2 ล้านคันต่อปี โครงการของเชลล์อันนี้เป็นโครงการที่ขายฝันที่สุดของการกักเก็บคาร์บอน ทั้งการใช้ไฮโดรเจนเพื่อปรับแต่งให้บริสุทธิ์ การแปรรูปยางมะตอยที่เป็นพิษเป็นน้ำมันดิบสังเคราะห์ ซึ่งทำให้มีการปล่อยคาร์บอนมากยิ่งขึ้น และยังมีการปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สร้างผลกระทบที่ทำให้โลกร้อนขึ้นยิ่งกว่าเดิม

โกลบอล วิทเนส พบว่าแม้เชลล์จะสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 4.81 ล้านตันต่อปี แต่กลับปล่อยคาร์บอนจาก 12.47 ล้านตันต่อปี จากการดำเนินโครงการ การขนส่ง และระบบที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การทำงานของระบบ CCS นอกจากนี้ยังจะปล่อยคาร์บอนกว่า 7.66 ล้านตันแม้จะเสร็จสิ้นโครงการไปแล้ว

เชลล์เคยให้สัญญาว่าจะกักเก็บได้ร้อยละ 90 แต่เมื่อล้มเหลวก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นร้อยละ 65 ข้อมูลจากสถาบันวิจัยด้านพลังงาน เศรษฐกิจ และการเงิน พบว่าโครงการเควสทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายทุกปีตั้งแต่ปี 2558-2563 

โครงการ Quest นี้รับเงินทุนสนับสนุนกว่า 834 ล้านดอลลาร์แคนาดา (654 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 571 ล้านยูโร) โดยรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแคนาดา, จอนนา ศิวะสันคารัน กล่าวถึง CCS ว่า “เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้แคนาดาบรรลุเป้าหมายอันทะเยอทะยานด้านสภาพภูมิอากาศ” เพื่อบรรลุ “คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ” แต่การที่โครงการ Quest ปล่อยคาร์บอนมากกว่าการกักเก็บทำให้การผลิตทรายทาร์มีความสกปรกยิ่งขึ้นและกลายเป็นสินค้าที่ปลดปล่อยคาร์บอนยิ่งยวด “เป้าหมายอันทะเยอทะยาน” นี้ดูกลายเป็นเป้าหมายที่ห่างไกล

นักวิทยาศาสตร์นานาชาติ สถาบันศึกษา และศูนย์วิจัยด้านพลังงาน รวมกว่าสี่พันคนลงนามในจดหมายถึงรัฐบาลแคนาดาเรียกร้องให้หยุดการสนับสนุนกลลวงนี้ “การใช้ CCUS เพื่อการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศภายใต้ระยะเวลาอันแสนสั้นโดยไม่ก่อผลกระทบต่อชุมชนแนวหน้าเพิ่มนั้น เป็นเพียงการวาดภาพฝันเท่านั้น”

จดหมายฉบับดังกล่าวเตือนว่า CCUS “ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ลดการปล่อยคาร์บอน” แต่กลายเป็นว่าผู้เสียภาษีต้องจ่ายไปหลายร้อยล้านดอลลาร์เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมัน เหล่านักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการได้เตือนถึงผลกระทบทางสุขภาพต่อชุมชนที่จะกลายเป็นภาระผูกพันของภาษีแคนาดาหากยัง “พึ่งพา tar sand ที่สกปรกนี้” และโครงการนี้จะเพิ่มการปล่อยคาร์บอนอีกปีละ 50 ล้านตันภายในปี  2578

จากLubicon Cree citizen Melina Laboucan-Massimo ผลพลอยได้จากโครงการ tar sand ต่างๆ  “ทำให้อัตราการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการเจ็บป่วยทางเดินหายใจ … และยังปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ทำให้ป่าโบเรียล (Boreal forest) เสื่อมโทรม”

ข้อมูลจากรอยเตอร์ โครงการ CCS เชิงพาณิชย์ 26 แห่งทั่วโลกกักเก็บคาร์บอนได้ 40 ล้านตันต่อปี ลองนึกเทียบกับการปล่อยคาร์บอนของทั้งโลกราว 36.4 พันล้านตันคาร์บอนต่อปี

โดยสรุปคือหลังจากการพัฒนา CCS มานานมากกว่า 50 ปี สูญเสียงบประมาณกว่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ เมื่อผ่านความตื่นตัว การหลอกลวง การฉีกทึ้งภาษี และการรับประกัน บริษัทน้ำมันกักเก็บคาร์บอนปีละร้อยละ 0.1 ส่วนอีกร้อยละ 99.9 ถูกปล่อยให้ปนเปื้อนในชั้นบรรยากาศและทำให้โลกร้อนขึ้น แถมการกักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ยังถูกเอาไปเพิ่มการผลิตน้ำมันอีก ตั้งแต่ที่เริ่มโครงการ CCS ครั้งแรกในปี 2515  โลกก็ได้ปลดปล่อย CO2 เกือบสามเท่า คือจาก 14.68 ถึง 36.4 ร้อยล้านตันต่อปี นี่น่าจะไม่ใช่ “การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ตามที่สัญญาไว้

การดักจับและกักเก็บคาร์บอนจึงเป็นกลลวงตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้

นักกิจกรรมของกรีนพีซ อิตาลี เรียกร้องให้ผู้นำทางเศรษฐกิจของโลกต้องชดเชยที่ลวงโลกคือการปฏิเสธวิกฤตสภาพภูมิอากาศและจะมีผลตามมาที่อันตราย โดยจอขนาดใหญ่แสดงวิดีโออธิบายการฟอกเขียวที่เกิดขึ้น © Greenpeace / Lorenzo Moscia

 แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Carbon Capture: Five Decades of False Hope, Hype, and Hot Air,” Andy Rowell and Lorne Stockman, Oil Change International, June 2021.

Shell’s fossil hydrogen plant in Canada emitting more greenhouse gasses than it is capturing: GlobalWitness report: “Hydrogen’s Hidden Emissions,” January 2022; sourcesand methodology: Pembina “Carbon Intensity of Blue Hydrogen;” Shell, Alberta data set; UK Dept. Transport; and Nimblefins Insurance; calculations shown in annex.

“The Western Australian government rules against the oil and gas company over emissions at the Gorgon LNG project, Guardian, 2020.

“Between a rock and a hard place: The science of geosequestration,” Standing Committee on Science and Innovation, House of Representatives, The Parliament of the Commonwealth of Australia, 2007, PDF.

“Chevron’s Gorgon emissions rise after sand clogs $3.1B C02 injection system,” Peter Milne, Boiling Cold, Jan 12, 2021. 

American Petroleum Institute: CCS used to “enhance oil production,” Platts Energy Economist, “Carbon Capture and Storage: panacea or an expensive red herring?” November 1, 2006, reported in Oil Change International, June 2021.

“Summary of Carbon Dioxide Enhanced Oil Recovery (CO2EOR) Injection Well Technology,” James P. Meyer PhD, Contek Solutions, Plano, Texas, for the American Petroleum Institute, web archive 

Western Australia’s Environmental Protection Authority concluded that Chevron should be held accountable for venting gas from the Gorgon project: “Chevron Faulted for Gorgon Emissions,” September 30, 2019; cited in “Carbon Capture: Five Decades of False Hope, Hype, and Hot Air,” A. Rowell and L. Stockman, Oil Change International, June 2021.

Over 80% of U.S. CCUS projects have failed: “Explaining successful and failed investments in U.S. carbon capture and storage,” Abdulla et al., Environmental Research Letters, 2021; Science IPO.

“Honest Government Ad, Carbon Capture & Storage,” The Juice Media; “Australien Government” Sept 1, 2021: 

“A power plant equipped with a CCS system .. would need roughly 10 to 40 % more energy than a plant of equivalent output without CCS.” EnergyWashington Week, “International Panel Finds Carbon Sequestration Has High Price Tag”, October 12, 2005; JSTOR.

“IEEFA: Carbon capture goals miss the mark at SaskPower’s Boundary Dam coal plant,” IEEFA. “The World’s Only Coal Carbon Capture Plant Is Regularly Breaking,” Audrey Carleton, Vice, 2022. SaskPower; has never met this goal (spglobal), as of the end of 2021.

“Are Canada’s carbon capture plans a ‘pipe dream?” John Woodside, National Observer, Canada, January 20, 2022

400 Canadian scientists’letter urges Canadian government to avoid rewarding companies who use carbon capture technology.

“Shell’s Massive Carbon Capture Plant Is Emitting More Than It’s Capturing,” Anya Zoledziowski, Vice, January 2022.

“Comparison of carbon capture and storage with renewable energy technologies regarding structural, economic, and ecological aspects in Germany,” Peter Viebahn, et al., International Journal of Greenhouse Gas Control, April 2007, p.121-133.

“Fossil Fuel Racism: How phasing out oil, gas and coal can protect communities,” Donaghy, T. & Jiang, C., 2021, Greenpeace.

26 commercial CCS facilities globally, capture about 40 million tonnesCO2/year: “Global CCS capacity grew by a third,” Reuters, Dec. 2020.

2021 global CO2 emissions, 36.4-billion tonnes/year: “Global carbon emissions rebound to near pre-pandemic levels,” Andrea Januta, Reuters, Nov. 2021; from University of Exeter study. 

Using carbon dioxide for enhanced recovery: “The Scurry Area Canyon Reef Operating Committee (SACROC) unit, Scurry County, Texas,” over a billion barrels of oil produced, Global CCS Institute, 2016. Carbon Capture, Centre for Climate and Energy Solutions, C2ES

Exxon predicts Greenhouse Effect, CO2 build-up, and global heating: Exxon internal Engineering Report, 1982.

“Peak oil and the low-carbon energy transition: a net-energy perspective,” Delannoya, Murphy, ASPO France, 2021.

“Grand Transitions: How the Modern World Was Made,” Vaclav Smil, amazon.  

“Hydrogen: The dumbest & most impossible renewable,” Alice Friedmann, Energy Skeptic, 2019

Energy Mix over time: Our world in Data

Energy Timeline, Alternative Energy

“COP-26: Stopping Climate Change and Other Illusions,” William E. Rees (Professor Emeritus, University of British Columbia), Buildings and Cities, October 2021.

Leaks Show Attempts to Weaken UN Climate Report, Greenpeace Says​, Deutsche Welle, Eco Watch,  Oct. 21, 2021.

Anderson, K. & Peters, G. (2016) The trouble with negative emissions: science.org  

“A Review of the Role of Fossil Fuel Based Carbon Capture and Storage in the Energy System,” Garcia Freites, S. & Jones, C.; Friends of the Earth Scotland, 2020.


บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ อ่านบทความต้นฉบับ