ทะเลสาบสุวะเป็นทะเลสาบที่กว้างที่สุดในชินชู ที่นี่มีปรากฏการณ์ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘มิวาตาริ’ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่น้ำพุร้อนใต้ทะเลสาบทำให้ช่วงฤดูหนาวทะเลสาบส่วนที่มีน้ำพุร้อนจะไม่กลายเป็นน้ำแข็ง และดันให้น้ำแข็งรอบ ๆ ผิวน้ำของทะเลสาบขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้ที่เชื่อกันว่าเป็นทางเดินของพระเจ้านั้นเกิดขึ้นน้อยครั้งลงเรื่อย ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และในปี 2567 เจ้าหน้าที่ก็เริ่มสังเกตการณ์ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา แต่น้ำแข็งก็ยังก่อตัวหนาไม่มากกว่า 1 เซนติเมตร เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์ คุณมิยาซากะ เจ้าอาวาสของศาลเจ้ายัตสึรุกิ และประธานในพิธีกรรมเทศกาล ‘มิวาตาริ’

มิวาตาริแห่งทะเลสาบสุวะ ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ

เริ่มต้นจากสถานี เจอาร์ คามิสุวะ และเดินมุ่งหน้ามาตามถนนสายหลักทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 10 นาที จากนั้นหากคุณหันไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ก็จะเห็นถนนสายเล็ก ๆ ที่มีก๊อกน้ำพุร้อนเรียงราย ทางเดินแห่งนี้ถูกปูด้วยหินและมีประตูหินโทริตั้งตะหง่านสวยงาม

ภาพจากภาพยนตร์สั้น MIWATARI ที่จัดแสดงใน HELP Exhibition

“ทะเลสาบสุวะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเหน็บ เมื่อฤดูหนาวมาถึงและวันใดที่อุณหภูมิลดลงต่ำกว่า -10 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3 วัน ก็จะทำให้ทะเลสาบกลายเป็นน้ำแข็ง” คิโยชิ มายาซากะ เจ้าอาวาสของศาลเจ้ายัตสึรุกิ กล่าว ศาลเจ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองสุวะ จังหวัดนากาโน

ภาพจากภาพยนตร์สั้น MIWATARI ที่จัดแสดงใน HELP Exhibition

บรรยากาศในศาลเจ้านั้นสดชื่นแจ่มใสมาโดยตลอด

“หากมีลมหนาวพัดมา น้ำแข็งก็จะถูกพัดไปทางฝั่งตรงข้ามของทะเลสาบ ปรากฏการณ์นี้เคยเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในทะเลสาบสุวะช่วงฤดูหนาว แต่กลับเกิดขึ้นยากมากในปัจจุบันนี้”

ภาพปรากฏการณ์ “มิวาตาริ” ในทะเลสาบสุวะ

ภาพยนตร์สั้นเรื่อง Miwatari (Crossing the lake)

รอยแตกของแผ่นน้ำแข็งของทะเลสาบ ด้วยแรงดันของน้ำพุร้อนดันให้แผ่นน้ำแข็งที่แตกออกกลายเป็นเส้นทางคล้ายงูยักษ์เลื้อยผ่านบนทะเลสาบ ทะเลสาบสุวะแห่งนี้เป็นที่แห่งเดียวในฮอนซู (เกาะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น) ที่เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ ตามตำนานถูกเรียกขานว่าเส้นทางของเทพเจ้าและเป็นปรากฏการณ์ที่ชาวญี่ปุ่นรู้จักกันอย่างแพร่หลาย

เอกสารตามประวัติศาสตร์ชี้ การเกิดปรากฏการณ์ ‘มิวาตาริ’ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ศาลเจ้ายัตสึรุกิได้บันทึกการเกิด ‘มิวาตาริ’ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1683 หรือในช่วงกลางของยุคเอโดะมาจนถึงปัจจุบัน มายาซากะ เจ้าอาวาสของศาลเจ้ายัตสึรุกิ นำบันทึกดังกล่าวออกมาอย่างระมัดระวังเพื่อให้ทีมงานได้เห็นบันทึกฉบับนี้กับตา

“ผมนำข้อมูลมาทำเป็นกราฟเพื่อแสดงให้เห็นจำนวนครั้งที่ทะเลสาบไม่กลายเป็นน้ำแข็งในแต่ละปี เราเรียกทำเลสาบแห่งนี้ว่า โนอุมิ หรือ ทะเลเปิด ผมกำลังแบ่งบันทึกข้อมูล 50 ปี จากระยะเวลาที่มีการบันทึกทั้งหมด 580 ปี”

กราฟจำนวนแสดงถึงการไม่เกิดขึ้นของปรากฏการณ์มิวาตาริภายในช่วง 50 ปี

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1451 – 1950 เหตุการณ์ ‘ทะเลเปิด’ ไม่ได้เกิดขึ้นเพียง 1 ครั้งในทุก 10 ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วง 50 ปีหลังจากนั้น คือช่วงปี ค.ศ.1951 – 2000 มีการบันทึกได้ว่าทะเลสาบไม่กลายเป็นน้ำแข็งมากถึง 22 ครั้ง นอกจากนี้ในช่วงปี ค.ศ. 2001 – 2011 ก็มีการบันทึกได้ว่าทะเลสาบไม่กลายเป็นน้ำแข็งมากถึง 16 ครั้ง

ภาพจากภาพยนตร์สั้น MIWATARI ที่จัดแสดงใน HELP Exhibition

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังแปรเปลี่ยนความมหัศจรรย์เดิมของธรรมชาติ

“‘ปีนี้ก็เป็นอีกปีที่ไม่มีมิวาตาริเกิดขึ้น’ ผมคิดว่าคนแรกที่บันทึกว่า ไม่มีมิวาตาริเกิดขึ้นนั้นเขาจะรู้สึกอย่างไร เพราะความจริงก็คือปรากฏการณ์นี้มีความสำคัญต่อพวกเราอย่างลึกซึ้ง”

ภาพที่เล่าถึงการก่อตัวของน้ำแข็งในทะเลสาบสุวะโดยมีชายคนหนึ่งยืนอยู่ในภาพดังกล่าวเป็นสักขีพยาน
ภาพจากภาพยนตร์สั้น MIWATARI ที่จัดแสดงใน HELP Exhibition

ปรากฏการณ์มิวาตาริลดลงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ โดยเฉพาะอุณหภูมิที่ไม่ทำให้ทะเลสาบกลายเป็นน้ำแข็ง ทั้งนี้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เพียงแค่ไม่เกิดปรากฏการณ์มิวาตาริเท่านั้น

ภาพจากภาพยนตร์สั้น MIWATARI ที่จัดแสดงใน HELP Exhibition

ภาพของผู้คนที่กำลังสนุกกับการเล่นสเก็ต ซึ่งเป็นภาพที่เห็นได้เป็นปกติในทะเลสาบแห่งนี้ช่วงปี ค.ศ.1970 หายไปแล้วในยุคปัจจุบัน ทั้ง  ๆ ที่ ในปี 1917 ทะเลสาบแห่งนี้เป็นถึงลานสำหรับเครื่องบินที่กำลังบินขึ้นหรือลงจอดด้วยซ้ำ แต่ ณ ขณะนี้แผ่นน้ำแข็งในทะเลสาบยังหนาไม่พอจนต้องออกประกาศเตือนไม่ให้นักท่องเที่ยวลงไปเดินบนแผ่นน้ำแข็ง

การสำรวจทะเลสาบที่ยาวนานร่วมเดือน ในช่วงกลางฤดูหนาว

“ผมมักจะไม่สบายเกือบตลอดเดือนขณะที่ผมเดินเท้าไปเช็คการเกิดแผ่นน้ำแข็งในทะเลสาบ และเมื่อผมพบแผ่นน้ำแข็งเริ่มก่อตัวขึ้นจากน้ำในทะเลสาบ วินาทีนั้นผมรู้สึกดีมาก ๆ เพราะมันเต็มไปด้วยความโล่งใจ”

ช่วงขึ้นปีใหม่ในฤดูหนาวที่ยามเช้าตรู่ยังคงมืดมิด เจ้าอาวาสวัดและนักบวชจำนวนหนึ่งจะต้องไปที่ทะเลสาบในช่วงนี้เพื่อตรวจสอบว่ามีแผ่นน้ำแข็งเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ระยะให้หลังนี้มิวาตาริไม่เกิดขึ้นเลยจนกลายเป็นเรื่องปกติ เจ้าอาวาสจึงไม่สบายใจและเดินทางไปที่ทะเลสาบเพื่อสำรวจทุกวันแทนการสำรวจบางครั้งเหมือนอย่างที่เคยเป็น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ยิ่งมีผู้คนจำนวนมากขึ้นให้ความสนใจและเริ่มเข้าไปเยี่ยมเยียนเจ้าอาวาสบ่อยขึ้นเช่นเดียวกับที่เจ้าอาวาสคอยไปสำรวจพื้นผิวทะเลสาบและอุณหภูมิในแต่ละวัน ส่วนชาวบ้านท้องถิ่นในระแวกเดียวกันก็จะส่งน้ำอุ่นหรืออาหารที่ช่วยให้หายเหนื่อยเพื่อให้กำลังใจเจ้าอาวาส

ภาพจากภาพยนตร์สั้น MIWATARI ที่จัดแสดงใน HELP Exhibition

“มันคงจะดีกว่านี้ ถ้ามีปรากฏการณ์มิวาตาริเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกสิ่งเป็นไปตามธรรมชาติ”

ในปีที่เกิดมิวาตาริขึ้นนั้น นักบวชในศาสนาชินโตซึ่งก็คือเจ้าอาวาสมิยาซากะและนักบวชในวัดจะเตรียมพิธีทางศาสนาบนทะเลสาบสุวะที่กลายเป็นน้ำแข็ง พิธีกรรมนี้ถูกออกแบบขึ้นและกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของเมือง ซึ่งจัดขึ้นครั้งล่าสุดในปี 2018

วัฒนธรรมจากทะเลสาบสุวะเชื่อมความเกี่ยวโยงกับผู้คน

ในขณะที่เจ้าอาวาสกำลังสำรวจความหนาของแผ่นน้ำแข็งในทะเลสาบนั้น เขาก็ยังคงได้ยินเสียงแผ่นน้ำแข็งบาง ๆ แตกออกและชนกันอย่างเป็นธรรมชาติ ต่อมาเขาก็สังเกตเห็นถึงละอองน้ำจากทะเลสาบที่แข็งตัวทันทีเมื่อกระเด็นกระทบกับขอบฝั่งและตกอยู่ใกล้กับเท้าของเขา

เขารู้สึกยินดีเมื่อสัมผัสกับไออุ่นจากดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้น เขาประสานมือกันเป็นการแสดงความเคารพต่อดวงอาทิตย์ ก่อนหน้านี้เขาพูดคุยกับผู้คนที่มาร่วมสำรวจแผ่นน้ำแข็งจนคุ้นเคยกัน ปัจจุบันผู้คนเหล่านี้ช่วยกันเก็บขยะและทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบสุวะเป็นประจำ

ช่วงขณะที่เราเดินทางมาถึงสถานีคามิสุวะ เรารู้สึกได้ถึงความอ่อนน้อมและบุคลิกที่อบอุ่นของเจ้าอาวาสมิยาซากะซึ่งทำให้เขาเป็นที่รักของคนท้องถิ่นในเมืองมาก “คุณรู้ไหมว่าที่นี่เรามีเจ้าอาวาสวัดที่ดีมาก” เจ้าหน้าที่ประจำสถานีพูดกับเราด้วยความภูมิใจเมื่อเราบอกกับเธอว่าเราจะไปเยี่ยมชมวัดยัตสึรุกิ

ภาพทะเลสาบสุวะเมื่อมองจากตัวเมือง ภาพจากภาพยนตร์สั้น MIWATARI ที่จัดแสดงใน HELP Exhibition

“ในแต่ละภูมิภาคล้วนมีวัฒนธรรมเฉพาะของตัวเอง อีกทั้งยังมีวิธีที่จะใช้ชีวิตอยู่กับสภาพภูมิอากาศและมีความเข้าใจต่อธรรมชาติรอบตัว สำหรับเรื่องราวของทะเลสาบสุวะนั้น เราคิดว่าเรื่องราวของมิวาตาริคือตัวอย่างของวัฒนธรรม การใช้ชีวิตที่พึ่งพาสภาพภูมิอากาศ”

เรื่องราว ‘มิวาตาริ’ ผ่านนิทรรศการภาพ

กรีนพีซ ญี่ปุ่น จัดนิทรรศการภาพ “MIWATARI” (มิวาตาริ) ซึ่งเป็นวิดีโอการทำงานที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์มิวาตาริ โดยจัดขึ้นที่ “HELP Exhibition

ทั้งนี้ ยังเป็นโอกาสดีของผู้ที่ชื่นชอบภาพยนตร์สารคดีเพราะภาพยนตร์สารคดีสั้น “MIWATARI” ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่จะฉายในเทศกาลหนังสั้น โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ปี 2567 ‘Changing Climate, Changing Lives Film Festival’ CCCL Film Festival 2024 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2567 ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ และวันที่ 19-29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่จังหวัดเชียงราย น่าน นครพนม อุดรธานี สงขลา และปัตตานี

ภาพโปรโมทภาพยนตร์สารคดีสั้น ‘MIWATARI’ เทศกาลหนังสั้น โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ปี 2567 ‘Changing Climate, Changing Lives Film Festival’ CCCL Film Festival 2024

ฤดูหนาวปีหน้าเดินทางมาถึงหรือไม่ เจ้าอาวาสมิยาซากะ มิยาจิ และนักบวชจากวัดจะได้แสดงพิธีกรรมโกวาริหรือไม่? สิ่งที่เราจะตอบได้ไม่ใช่แค่การรอชม แต่เราสามารถเลือกร่วมกันกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กลายเป็นผลกระทบเชื่อมโยงต่อการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนรวมไปถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมิวาตาริในทะเลสาบสุวะอีกด้วย

หากเราร่วมมือกันเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้ และร่วมกันสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่พลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน เมื่อนั้นโลกของเราจะเข้าสู่โลกคาร์บอนต่ำอย่างแท้จริง