เมื่อการจัดการขยะที่ดีที่สุด = การลดตั้งแต่ต้นทาง = การใช้ซ้ำ

เราได้มีโอกาสไปร่วมงาน “เส้น” ซึ่งจัดขึ้นที่สังกะดี สเปซ จ.เชียงใหม่ เป็นงานที่เล่าเรื่องราวของ “เส้น” ผ่านปัจจัย 4 เช่น อาหาร(???? & ??????????????) สุขภาพ (?????? & ?????????) ผ้า (??????? & ???????) และที่อยู่อาศัย (????? & ?????????) พร้อมกับมีกิจกรรมมากมายให้คนเข้าร่วมงานเลือกเข้าร่วมสนุก อาทิ ตลาด เวิร์คช้อป นิทรรศการ วงพูดคุย และ การแลกเปลี่ยนทักษะในด้านต่างๆ (?????-???????)

นอกเหนือจากกิจกรรมมากมายภายในงาน สิ่งที่ทำให้เราประทับใจมาก ก็คือ การนำ “ระบบยืมคืนภาชนะ” มาใช้ภายในงานด้วย รองรับการใช้บรรจุภัณฑ์ทั้งสำหรับพ่อค้าแม่ค้าและลูกค้า และภาชนะทุกประเภทถูกจัดเตรียมรอคอยให้ทุกคนหยิบใช้อย่างครบถ้วน ทั้ง จานชาม ช้อนส้อม ตะเกียบ แก้วน้ำ แก้วมัค แก้วน้ำ สิ่งที่เราจนชินตาในทุกวัน คือ ในทุก ๆ เช้า ผู้ขายจะเดินมายืมภาชนะที่จุดยืมคืนภาชนะแล้วนำมาล้างคืน ณ จุดเดิมในตอนเย็น เช่นเดียวกันกับลูกค้า เมื่อต้องการซื้อสินค้า ก็สามารถเดินมายืมภาชนะได้ เมื่อคาดคะเนจากสายตาแล้ว ทุกคนปฏิบัติกันกว่า 90% เลยทีเดียว จากการเก็บข้อมูลแบบคร่าวๆ ของเราแล้วพบว่า สามารถลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งลงได้กว่า 3,000 ชิ้นตลอดทั้ง 5 วัน 

นอกจากการลดตั้งแต่ต้นทางแล้ว ในงานยังวางระบบจัดการขยะปลายทางอีกด้วย และมีการแยกขยะให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงมีถังสำหรับใส่ขยะกว่า 10 ถัง คือ กระดาษ พลาสติกสะอาดและชั้นเดียว พลาสติกหลายชั้น ขวดพลาสติก แก้ว กระเบื้อง อลูมิเนียม หลอดตะเกียบ ขยะอาหาร และขยะทั่วไป

เราจึงไปพูดคุยกับปรางทอง เตียงเกตุ ผู้จัดการงานเส้น (SEN) ถึงแนวคิดและแรงบันดาลใจในการจัดการขยะแบบตลอดเส้นทางของขยะ เริ่มตั้งแต่ต้นทางตลอดจนปลายทาง 

งานที่พูดเรื่องความยั่งยืน การจัดการขยะในงานก็ต้องยั่งยืนด้วย

สาเหตุที่เรามีสเตชั่นขึ้นในงานเป็นเพราะว่าเมื่อปีที่แล้วตอนเราจัดงาน“เส้น (SEN)” ปีที่แล้ว ผลปรากฏว่าทีมงานต้องมาเจอกับปัญหาก้อนใหญ่หลังจบงาน คือ กองขยะใหญ่มาก ซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้งจากงาน ทั้งขยะเปียก กระดาษ พลาสติก และทุกอย่าง คือ ใส่รวมกันหมด ผลปรากฏว่าขยะทั้งหมดเน่าเหม็นและยากสำหรับการกำจัด ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่าที่ผ่านมาเราพยายามทำงานเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน แต่พอเราจัดงานทำไมถึงมีกองขยะมากมายขนาดนี้ เราจึงคุยกันกับทีมงานและจึงเกิดไอเดียนี้ขึ้นมา ซึ่งนอกจากจะเพื่อจัดการขยะภายในงานแล้ว เรายังทำขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับหลายคนที่ต้องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เราเลยทำสเตชั่นแยกขยะให้เห็นเด่นชัดและให้อยู่ตรงประตูทางเข้า เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกๆคนเห็นความสำคัญของเรื่องนี้เช่นกัน

เตรียมทีม ทำความเข้าใจ และหยิบยืม เพื่อใช้ซ้ำภาชนะใส่อาหาร

เราเริ่มวางแผนกันกับพี่หนุ่ย ชนกนันท์  นันตะวัน จากสม-ดุลเชียงใหม่ และป้าหน่อย พจนา สวนศรี จาก Craft & Care ทั้งวิธีการสื่อสาร วิธีการจัดการพร้อมคนที่จะมาช่วยจัดการ ที่สำคัญคือการสื่อสารภายใน ซึ่งก็คือ ทีมงานทุกคน คนที่นำสินค้ามาขายภายในงานให้เข้าใจตรงกันและเห็นความสำคัญของการจัดการขยะร่วมกันเพื่อขอความร่วมมือให้ทุกคนไม่ใช้ภาชนะแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งให้ได้มากที่สุด รวมทั้งการสื่อสารภายนอก ซึ่งสม-ดุลเชียงใหม่รับหน้าที่นี้ไป เพื่อขอรับบริจาคภาชนะก่อนงานเริ่มประมาณ 1 เดือน ผลปรากฏว่า มีคนนำถ้วยชามที่ไม่ใช้แล้วมาบริจาคจำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับใช้ในงาน เราจึงไปขอยืมจากวัดมาเพิ่มเติม 

ทุกคนให้ความร่วมมือและพร้อมเอาชนะความยุ่งยาก

ปัญหามันมีเข้ามาเรื่อยๆ เลยค่ะ เพื่อให้เราได้แก้ วางแผนให้ดีและรอบคอบยิ่งขึ้น ตั้งแต่การสื่อสารภายในกับผู้ขายเอง บางส่วนก็จะไม่ยอมรับ เนื่องจากมันจะทำให้ยุ่งยากมากเกินไปและเสียเวลาในการล้างมันไม่ง่ายในช่วงแรก แต่หลังจากที่เราอธิบายความสำคัญของเรื่องนี้ ทุกคนก็พร้อมที่จะร่วมมือและฝึกไปด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของการสื่อสารกับคนที่เพิ่งเข้ามาเที่ยวในตลาดและยังไม่เข้าใจวิธีการ แต่เราก็ขอความร่วมมือจากร้านค้าทั้งหลายช่วยอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจและโชคดีที่ทุกคนก็เป็นผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบและทำตามวิธีการที่เราขอค่ะ

“ภาชนะใช้ซ้ำ” ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อภาชนะและลดจำนวนขยะที่เกิดจากร้านของตัวเอง

พ่อค้าแม่ค้าที่เพิ่งเคยลองใช้ภาชนะใช้ซ้ำ ให้เสียงตอบรับไปในทิศทางเดียวกันเลยค่ะ ว่าเป็นวิธีที่ดีเพราะนอกจากเขาจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อภาชนะแล้ว เขายังสามารถลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นจากร้านของตัวเองอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีการแบบนี้ยังเป็นวิธีการใหม่สำหรับหลายคน เรายังต้องปรับปรุงอีกเรื่อยๆ เพื่อให้ทุกคนเกิดความเคยชิน การหมุนเวียนภาชนะใช้ซ้ำนี้จำเป็นต้องขอความร่วมมือกับทุกฝ่ายอย่างมาก ดังนั้น การสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้กับทุกฝ่ายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดค่ะ

ในอนาคตที่เราคาดหวังไว้ คือ งานของเราจะไม่สร้างขยะเลยแม้แต่ชิ้นเดียว 

เราคาดหวังว่า เราจะมีภาชนะเพียงพอสำหรับตลาดที่ใหญ่ขึ้น ลูกค้าที่มากขึ้นและมีภาชนะที่หลากหลายทั้งจานชามถ้วยเล็กถ้วยใหญ่ จานเล็กจานใหญ่ แก้วเล็กแก้วใหญ่ แก้วพลาสติก แก้วเซรามิก เพื่อให้ตอบโจทย์สำหรับทุกร้านค้าและตอบโจทย์สำหรับลูกค้าทุกรูปแบบ นอกจากนี้เราคาดหวังที่จะให้ทุกคนที่มาร่วมงานทั้งคนขายคนซื้อได้เข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดการขยะและสร้างความตระหนักในการช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและฝึกนิสัยใหม่ในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเข้าใจในการจัดการขยะ สุดท้ายปลายทางที่เราคาดหวังไว้ คือ งานของเราจะไม่สร้างขยะเลยแม้แต่ชิ้นเดียว และสร้างเครือข่ายที่มีความตระหนักตื่นรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและขยะมากขึ้น พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน

เราเข้าใจว่า ทุกคนตระหนักรู้เป็นอย่างดีว่า ปัญหาพลาสติกรุนแรงเพียงใดต่อโลกของเรา ทว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้ภาชนะแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมาเป็นภาชนะใช้ซ้ำก็เป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะในขั้นแรกมันอาจจะไม่สะดวกสบายเท่าการฉีกซองพลาสติก ทำให้ยุ่งยากเพราะต้องล้าง แต่เราเชื่อมั่นอีกเช่นกันว่า เมื่อเราได้ทำจนเคยชิน การเปลี่ยนพฤติกรรมของเรานั้นมีความหมายเสมอ เพราะจะช่วยลดพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งที่อาจจะเกิดขึ้นจำนวนมหาศาล เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดการขยะของ “งานเส้น” ในครั้งนี้อาจจะเป็นหนึ่งในโมเดลสำหรับใครหลายคนที่เป็นทั้งผู้ขาย ผู้ซื้อ คนจัดงาน หรือคนทั่วไปที่อยากหันมาใช้ภาชนะใช้ซ้ำว่า มันทำได้และทำได้ในสเกลใหญ่ด้วย

งานรณรงค์ลดพลาสติกของกรีนพีซ