เราสามารถหยุดการแสวงหาผลกำไรจากสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน

Clothes Swapping Party in Hamburg. © Kevin McElvaney / Greenpeace
อาสาสมัครกรีนพีซจัดกิจกรรม ปาร์ตี้แลกเสื้อผ้าและเครื่องประดับ บริเวณ Millerntor Stadium ในวันหนี้นิเวศโลก 28 ก.ค. โดยผู้ที่มาเที่ยวชมสามารถเอาเสื้อผ้าที่ตนเองไม่ได้ใช้แล้วมาแลกเปลี่ยนกับคนอื่น ๆ กิจกรรมนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า การใช้ซ้ำ การแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากการซื้อเสื้อผ้าใหม่ © Kevin McElvaney / Greenpeace

อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักเลือก การฟอกเขียว เป็นทางออก

บริษัทฟาสต์แฟชั่นกำลังกลายเป็นกลุ่มที่เชี่ยวชาญในการเสนอทางออกในการแก้ปัญหาที่ล้มเหลว ซึ่งในทางกลับกัน ทางออกเหล่านี้เป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทและเป็นความพยายามให้เข้ากับกระแสสังคมตอนนี้

แน่นอนว่าการแก้ปัญหาเกือบทั้งหมดของบริษัทเป็นการฟอกเขียว

ยกตัวอย่างกรณีที่แบรนด์ H&M ประกาศว่าสามารถรีไซเคิลเสื้อผ้าผ่านเครื่อง “Green Machine” ซึ่งต่อมาไม่สามารถทำได้จริง แบรนด์ยังคงพยายามสื่อสารเรื่องนี้ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่าไม่สามารถรีไซเคิลเสื้อผ้าในปริมาณมหาศาล และเลือกที่จะส่งเสื้อผ้าไปเผาทิ้งที่บ่อขยะเพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่า หรือในอีกกรณีคือ แบรนด์ Shein, Zara และ Pretty Little Thing ที่พยายามทำแพลตฟอร์มสำหรับการรีเซลล์เสื้อผ้า

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางทางออกที่สรรหามาด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ แต่บริษัทเหล่านี้ไม่เคยกล่าวถึงทางออกที่ง่ายที่สุดเลยนั่นก็คือการหยุดผลิตเสื้อผ้าในปริมาณที่ล้นเกิน

ทางออกนี้เป็นทางออกที่แม้กระทั่งแบรนด์ H&M ก็ยังยอมรับว่าเป็นกุญแจสำคัญของอุตสาหกรรมแฟชั่น แต่แบรนด์กลับยืนยันที่จะปฏิเสธทางเลือกนี้

“ท้ายที่สุดแล้ว ผู้บริโภคไม่ได้เป็นผู้ที่ต้องรับผิดต่อปัญหามากมายที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมแฟชั่นระดับโลก แต่เราต่างมีพลังในฐานะลูกค้าที่จะทบทวนเรื่องราวเหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า”

นอกจากบริษัท Fast Fashion แล้ว ภาครัฐเองก็ไม่เข้ามาควบคุมอุตสาหกรรมดังกล่าวที่ยังคงแสวงหาผลกำไรอย่างไม่จำกัด

ข้อมูลจากการสำรวจด้วยการตอบแบบสอบถาม และรายงานจากคณะกรรมการการตรวจสอบรัฐสภาสหราชอาณาจักรด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2019 (EAC) นำไปสู่คำแนะนำที่น่าสนใจจำนวนมาก แต่ทั้งหมดนั้นถูกรัฐบาลอังกฤษปฏิเสธ

รัฐบาลให้คำมั่นสัญญาที่จะเผยแพร่มติการประชุมในการติดตามที่มาที่ไปของขยะสิ่งทอภายในปี 2022

ซึ่งจะทำให้หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility (EPR)) ที่จะสร้างข้อกำหนดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ การติดฉลาก และหลักการใช้วัสดุจากการรีไซเคิล แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น

Fast Fashion Research in Kenya. © Kevin McElvaney / Greenpeace
ภาพจากการลงพื้นที่ของกรีนพีซ เยอรมัน โดยพบว่าคนงานเก็บขยะและกลุ่มผู้ค้าเสื้อผ้ามือสองในแดนโดรา ไนโรบีต้องแบกภาระความเสี่ยงทางสุขภาพเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหลุมขยะ © Kevin McElvaney / Greenpeace

แล้วเราที่เป็นผู้บริโภคสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ท้ายที่สุดแล้ว ผู้บริโภคไม่ได้เป็นผู้ที่ต้องรับผิดต่อปัญหามากมายที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมแฟชั่นระดับโลก แต่เราต่างมีพลังในฐานะลูกค้าที่จะทบทวนเรื่องราวเหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า

เราทุกคนต่างต้องสวมใส่เสื้อผ้าและเสื้อผ้าก็ต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ แต่เราต้องมีหนทางที่ดีกว่านี้

1.เราสามารถทวงถามถึงคำมั่นสัญญาที่บริษัทหรือภาครัฐเคยให้ไว้ เช่น การใช้มาตรการ Green Claims Code ที่ออกโดยสหราชอาณาจักร มาเรียกร้องความรับผิดชอบของบริษัทเกี่ยวกับแคมเปญรักสิ่งแวดล้อมของบริษัทหรือ การรีไซเคิลขยะสิ่งทอ เป็นต้น

2.เราเข้าร่วมแคมเปญกับเครือข่ายที่รณรงค์เรื่องความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท Fast Fashion และสิทธิแรงงาน เช่น Fashion Revolution หรือ Labour Behind the Label

3.เราสามารถศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างเรากับที่มาที่ไปของเสื้อผ้าที่เราซื้อให้ลึกซึ้งมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาแบบปัจเจกหรือการร่วมกันสร้างเครือข่ายเพื่อศึกษาร่วมกันก็ตาม เพราะแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาแต่เราเชื่อว่าสิ่งนี้จะเปลี่ยนแปลงโครงการของวงการแฟชั่นในระยะยาว

MAKE SMTHNG Week Goes Millerntor Stadium, Hamburg Germany. © Joerg Modrow / Greenpeace
กิจกรรม MAKE SMTHNG Week ที่จัดขึ้นโดยกรีนพีซ เกิดขึ้นทั่วโลก โดยแสดงให้เห็นว่าเรายังมีทางเลือกอีกมากมายที่จะลดการบริโภคที่ล้นเกินจากอุตสาหกรรม Fast Fashion ที่สร้างผลกระทบต่อโลก ติดตามกิจกรรมนี้ได้จากเว็บไซต์ www.makesmthng.org © Joerg Modrow / Greenpeace

นอกจากนี้ การซื้อเสื้อผ้ามือสองหรือเลือกเสื้อผ้าจากแบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริง ๆ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ยังมีทางเลือกอื่น ๆ เช่น การเข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ที่ขายเสื้อผ้าต่อ หรือแลกเสื้อผ้า การเช่า และการนำเสื้อผ้าไปทำประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ ได้ด้วย อย่างเช่นกลุ่มที่จัดกิจกรรม Sustainable Fashion Week หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้ที่จะซ่อมแซมเสื้อผ้าก็เป็นสิ่งที่ช่วยไม่ให้เสื้อผ้าที่ยังใช้การได้ต้องเดินทางไปยังบ่อขยะได้

ยิ่งไปกว่านั้น เราทุกคนที่เป็นผู้ซื้อและสวมใส่เสื้อผ้าก็มีอำนาจเหนืออุตสาหกรรมแฟชั่น ดังนั้นแบรนด์ Fast Fashion จะไม่สามารถขายสินค้าที่ใช้แล้วทิ้งซึ่งทำขึ้นจากแรงงานฝีมือที่ต้องทำงานในสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ได้อีกต่อไป หากผู้บริโภคแสดงเจตจำนงแน่ชัดว่าเราไม่ต้องการเสื้อผ้าจากวิถีทางเช่นนี้

ตอนนี้เราทุกคนรับรู้ถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานที่อุตสาหกรรม Fast Fashion เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคและโลกใบนี้ ตั้งแต่ความต้องการฝ้ายที่เป็นตัวเร่งให้ปัญหาการค้าทาสรุนแรงขึ้น ไปจนถึงความต้องการใยโพลีเอสเตอร์ที่ทำให้เกิดความต้องการน้ำมันและเกิดมลพิษ ซึ่งปัญหานี้จะต้องยุติลงได้แล้ว


บทความนี้แปลจากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ อ่านบทความต้นฉบับ

ซีรีย์ สำรวจเหตุผลที่ทำไม Fast Fashion กลายเป็นตัวเร่งให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น