ความเชื่อเช่นนี้มักเกิดขึ้นจากภาพจำของพลังงานหมุนเวียนที่ผู้คนมักจะจินตนาการเป็นพื้นที่ว่างเปล่าที่เต็มไปด้วยแผงโซลาร์หรือกังหันลมตั้งเรียงกัน ซึ่งเราจำเป็นต้องเปลี่ยนภาพจำนี้ให้ได้ เพราะนี่ไม่ใช่ศึกระหว่างพลังงานหมุนเวียนกับพื้นที่ชนบทหรือเนินเขารกร้าง แต่เป็นการที่เราต้องเลือกระหว่างการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนกับโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งใช้พื้นที่ในธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆจากการที่ทรัพยากรถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติที่กักเก็บไว้กำลังถูกนำไปใช้จนหมดสิ้น

พื้นที่ที่ใช้ไปกับพลังงานหมุนเวียน

พื้นที่ที่ใช้ไปกับพลังงานหมุนเวียน (ปริมาณดินแดนที่ใช้ในการติดตั้ง ไม่ใช่พื้นที่โดยรอบทั้งหมดที่มีฟาร์มโซลาร์และกังหันลม) นั้นมีขนาดเล็กมาก อาทิ การติดตั้งกังหันลมในพื้นที่ชายฝั่งนั้นแท้จริงแล้วใช้พื้นที่ในปริมาณที่น้อยมาก (น้อยกว่าระยะ 20 เมตร โดยขึ้นอยู่กับประเภทของที่ดินที่ใช้ติดตั้ง) แม้ว่าฟาร์มกังหันลมจะครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง แต่ก็ยังสามารถใช้พื้นที่รอบๆตัวกังหันลมในการทำการเกษตร ปศุสัตว์ พื้นที่คุ้มครอง และอื่นๆอีกมากมายได้

ในพื้นที่ครอบคลุมฟาร์มกังหันลมทั้งหมด มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่สูญเสียไปโดยใช้ประโยชน์อื่นไม่ได้ ส่วนฟาร์มโซลาร์ที่ติดตั้งบนพื้นดินเองก็ยังสามารถใช้ทำเกษตรกรรม ปศุสัตว์ หรือแม้กระทั่งทำฟาร์มเลี้ยงผึ้งก็ยังเป็นไปได้ หรือมิฉะนั้นก็สามารถติดตั้งแผงโซลาร์บนอาคาร ลานจอดรถ หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ใดๆเลยด้วยซ้ำ

โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่พลังงานหมุนเวียนสามารถติดตั้งได้บน ที่ดินอุตสาหกรรมที่ถูกทิ้งร้างหรือไม่ถูกนำไปใช้งานให้คุ้มค่า หรือพื้นที่เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ที่ดินได้ ยิ่งไปกว่านั้น ฟาร์มกังหันลมและฟาร์มโซลาร์ยังสามารถติดตั้งได้โดยไม่ต้องใช้ที่ดินเลยด้วยซ้ำโดยอาศัยการติดตั้งแบบลอยน้ำและแบบนอกชายฝั่งซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเดนมาร์กซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการใช้พลังงานลมเป็นที่แรก มีการติดตั้งฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ๆที่มีการพัฒนาตลอดเวลาอย่างกระจกโซลาร์ กังหันลมขนาดเล็ก กระเบื้องโซลาร์ และถนนโซลาร์ ยังจะสามารถช่วยลดพื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งพลังงานหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆในอนาคต

พื้นที่ที่จะต้องใช้ในการติดตั้งพลังงานหมุนเวียน 100%

หากต้องการให้การผลิตไฟฟ้าในประเทศเป็นไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด ผลวิจัยชี้ว่าปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินนั้นมิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดคำนวณไว้ว่า หากมีการติดตั้งพลังงานหมุนเวียน 100% บน 139 ประเทศทั่วโลก จะใช้พื้นที่ในการติดตั้งเพียงแค่ร้อยละ 1 เท่านั้นของพื้นที่ทั้งหมด โดยส่วนมากจะเป็นการพลังงานลมบนชายฝั่ง พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังแสงอาทิตย์ในระดับเพื่อการใช้สอย และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ (CSP) ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวนี้ได้นับรวมพื้นที่ในการติดตั้งและพื้นที่โดยรอบแล้ว ตัวอย่างเช่น

  • งานวิจัยชี้ว่าการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้พื้นที่เพียงแค่ร้อยละ 3.4 ของประเทศญี่ปุ่นก็สามารถผลิตไฟฟ้าให้กับประเทศญี่ปุ่นในทุกภาคส่วนได้ถึงร้อยละ 77 (ทั้งภาคการใช้ไฟฟ้า การทำความร้อน และการขนส่ง) โดยบางส่วนยังสามารถติดตั้งแบบนอกชายฝั่ง บนทะเลสาบ และบนพื้นที่ฟาร์มได้ [รายงาน p32]
  • การติดตั้งแผงโซลาร์บนที่ดินโดยใช้พื้นที่มากกว่าสนามกอล์ฟเพียงนิดเดียว หรือราว 12,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่าสนามกอล์ฟที่ใช้พื้นที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (ดูที่ Fig 6.2 ) ก็สามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาได้หากแผงโซลาร์เหล่านี้ถูกติดตั้งในเขตที่แสงแดดส่องถึงมากที่สุด (ดูค่าเฉลี่ยอัตราการได้รับแสงในรัฐแอริโซนาที่กราฟด้านล่าง) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ยังสามารถมาจากแหล่งการติดตั้งอื่นๆได้อีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตั้งบนหลังคาเรือน เทียบกับการทำเหมืองถ่านหินในสหรัฐอเมริกาซึ่งใช้พื้นที่มากถึง 34,000 ตารางกิโลเมตรแล้วยังแทบไม่ได้รับการติดตั้งอย่างถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งยังขยายการใช้พื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ
  • ผลการคำนวณอีกชิ้นหนึ่งชี้ว่า การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกานั้นจะใช้พื้นที่เพียงแค่ร้อยละ 0.6 ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศเท่านั้น
  • และถ้าหากสหรัฐอเมริกาเลือกใช้พลังงานลมแบบบนชายฝั่งแทนพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะใช้กังหันลมเพียงแค่ 583,000 ตัว ซึ่งสามารถติดตั้งบนรัฐโรดไอแลนด์ ซึ่งเป็นรัฐที่เล็กที่สุดในประเทศได้
  • งานวิจัยที่จัดทำขึ้นสำหรับกระทรวงสิ่งแวดล้อมในเยอรมนีชิ้นหนึ่งพบว่ากังหันลมแบบบนชายฝั่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 125 กิกะวัตต์โดยใช้พื้นที่ในการติดตั้งเพียงแค่ร้อยละ 1.7 ของประเทศ ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าที่เยอรมนีตั้งเป้าไว้เพื่อทำให้เป็นประเทศที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100%เสียด้วยซ้ำ อีกทั้งการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ 143 กิกะวัตต์ยังใช้พื้นที่เพียงแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้น คำกล่าวอ้างที่ว่าพลังงานหมุนเวียนใช้พื้นที่ปริมาณมากยังมักจะมองข้ามการใช้พื้นที่ปริมาณมหาศาลของพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งไม่ได้ใช้พื้นที่เพียงแค่การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ แต่ยังต้องมีพื้นที่สำหรับการกักเก็บพลังงาน โรงกลั่นวัตถุดิบ ท่อนำส่ง รวมทั้งทางรถไฟสถานีขนส่งและเส้นทางถนนที่เกี่ยวข้อง

ผลวิจัยจาก Science ระบุว่าอเมริกาเหนือสูญเสียพื้นที่ไปกว่า 30,000 ตารางกิโลเมตรในการก่อสร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ในปี 2543

นอกจากนี้ พลังงานหมุนเวียนยังใช้พื้นที่เดิมซ้ำๆในทุกปีได้โดยไม่ต้องย้ายที่ปฏิบัติการ ในขณะที่พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นต้องแผ่ขยายพื้นที่ใช้งานออกไปเรื่อยๆเนื่องจากทรัพยากรถ่านหินหมดลงและแหล่งน้ำแห้งขอด ทำให้ต้องหาพื้นที่ใหม่อยู่เรื่อยๆเพื่อนำทรัพยากรมาใช้ป้อนพลังงานถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

การแผ่ขยายพื้นที่: พื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นที่ต้องใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้ 1 เทระวัตต์ต่อชั่วโมงในแต่ละปีจากแหล่งพลังงานที่ต่างกัน 3 แหล่ง

ประเด็นสำคัญ: เชื้อเพลิงฟอสซิลและสิ่งก่อสร้างอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการผลิตไฟฟ้าต้องใช้พื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆเพราะทรัพยากรถ่านหินและน้ำที่ลดลง ในขณะที่พลังงานหมุนเวียนสามารถใช้พื้นที่เดิมได้ทุกปี และกังหันพลังงานลมยังใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยมากอีกด้วย