ความเชื่อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “free-rider” (ฟรีไรเดอร์ หมายถึง ผู้บริโภคที่ต้องการผลประโยชน์จากผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย) ซึ่งอ้างว่าคนที่ติดตั้งแผงโซลาร์นั้นกำลังเอาเปรียบผู้อื่น เพราะทำให้ผู้ที่ไม่ได้ติดตั้งมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

เนื่องจากยังไม่มีระบบสนับสนุนหรือตอบโต้การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดย่อมที่เพิ่มมากขึ้นแบบสากลที่ใช้เหมือนกันทั่วโลก ทำให้มีผู้ออกมาตอบโต้ทฤษฎีดังกล่าวในรูปแบบต่างๆมากมาย ซึ่งแต่ละประเทศอาจนำวิธีการที่ต่างกันมาใช้ ทั้งการยกเว้นภาษี การตั้งเป้าหมายด้านพลังงานหมุนเวียน การใช้เงินอุดหนุน การใช้มาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Feed-in Tariff) การใช้โซลาร์เสรี (Net Metering) ฯลฯ ลองสังเกตดูว่าในพื้นที่ของคุณนั้นใช้วิธีการใด

ใครคือกลุ่มคนที่กล่าวว่าผู้ใช้พลังงานหมุนเวียนคือพวก free-rider

การตรวจสอบว่าคำกล่าวหานี้มาจากคนกลุ่มใดก็สำคัญเช่นกัน ซึ่งมันมักจะมาจากกลุ่มคนที่มีความเชื่อยึดมั่นในแนวคิดแบบหัวเก่า ทั้งทางฝั่งผู้ดำเนินการสายส่งไฟฟ้าและหน่วยงานสาธารณูปโภค เพราะถ้าหากว่ามีผู้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กเป็นจำนวนมากและทำให้ความต้องใช้ไฟฟ้าโดยรวมลดลง รายได้สุทธิของหน่วยงานสาธารณูปโภค รวมถึงความมั่นคงด้านรายได้ก็จะลดลงด้วยเช่นกัน เพื่อให้มั่นใจว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น หน่วยงานสาธารณูปโภคจึงอาจพยายามหาหนทางสร้างรายได้ด้วยวิธีการอื่นๆอย่างการเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายการจ่ายไฟฟ้าและกล่าวโทษผู้ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดย่อม ประสิทธิภาพด้านพลังงานเองก็ทำให้ความต้องต้องการใช้ไฟฟ้าลดลงเช่นกัน แต่แน่นอนว่าไม่มีหน่วยงานสาธารณูปโภคหรือผู้ดำเนินการสายส่งไฟฟ้ากล้าออกมากล่าวหาว่าประสิทธิภาพด้านพลังงานก็ส่งผลต่อราคาไฟฟ้า

วิธีการเปรียบเทียบราคา

ใบเสร็จค่าไฟฟ้าของผู้บริโภคนั้นประกอบด้วยค่าใช้จ่ายหลายอย่าง ทั้งค่าใช้จ่ายไฟฟ้าโดยรวม (ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้) ค่าใช้จ่ายการส่งสัญญาณไฟฟ้าและการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงค่าบริหาร โดยระบบไฟฟ้านั้นยังต้องอาศัยความจุและแหล่งกักเก็บไฟฟ้าสำรอง ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ไม่ได้แยกรายการออกจากกัน จึงยากที่จะคำนวณว่าค่าใช้จ่ายแต่ละส่วนแบ่งออกเป็นอย่างละเท่าใด อีกทั้งหน่วยงานสาธารณูปโภคยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องรับผิดชอบ เช่น ภาระหนี้สิ้นและค่าใช้จ่ายนิวเคลียร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ซ่อนอยู่ในใบเสร็จค่าไฟฟ้าของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน

ผู้บริโภคอนาคต (Prosumer) ที่ขายพลังงานให้กับโครงข่ายเองก็ต้องมีส่วนร่วมในค่าใช้จ่ายของระบบอย่างสมเหตุสมผลด้วย (ดูที่การชำระค่าใช้จ่ายระบบสายส่งด้านล่าง) แต่ถ้าหากผู้บริโภคอนาคตเหล่านี้ได้รับเงินส่วนแบ่งในจุดต่ำสุดของราคาพลังงานรวม และยังต้องชำระค่าส่วนแบ่งในการนำส่งสัญญาณและการจ่ายไฟฟ้ารวมถึงค่าบริหาร พวกเขาก็จะไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากผู้บริโภค
ซึ่งผู้บริโภคอนาคตเหล่านี้บางคนก็ไม่ได้รับเงินส่วนแบ่ง เช่น ในสเปน ผู้เป็นเจ้าของแผงโซลาร์ต้องจ่ายภาษีค่าไฟฟ้าที่ตนเป็นผู้ผลิตเองเสียด้วยซ้ำ

เหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้หน่วยงานสาธารณูปโภครู้สึกถูกคุกคามจากการใช้โซลาร์เสรีและการเติบโตของผู้บริโภคอนาคตคือการที่บทบาทของพวกเขาในตลาดพลังงานอาจลดลงไปเท่ากับผู้ดูแลการจ่ายไฟฟ้าและผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้พวกเขาสูญเสียอำนาจในมือ และผลประโยชน์อื่นๆที่เคยได้รับ

พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าโดยรวมอย่างไร

แผงโซลาร์ที่เชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้านั้นสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าโดยรวมได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภคทั้งหมด

  • พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดปริมาณไฟฟ้าที่หน่วยงานสาธารณูปโภคต้องซื้อจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าก๊าซ
  • พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดปริมาณการสูญเสียไฟฟ้าจากการนำส่งสัญญาณและการจ่ายไฟฟ้าจากระยะไกล (ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้มักตกอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริโภค)
  • พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนของหน่วยงานสาธารณูปโภค ซึ่งมิฉะนั้นแล้วอาจต้องสร้างโรงไฟฟ้าและสายนำส่งสัญญาณเพิ่มเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ โดยผู้ที่ชำระค่าใช้จ่ายในการลงทุนดังกล่าวแท้จริงแล้วคือเจ้าของแผงโซลาร์ ผู้ซึ่งลงทุนด้วยเงินนับพันดอลลาร์/ยูโร ด้วยเงินของตนเองเพื่อสร้างกำลังผลิตไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังมีผลประโยชน์อื่นๆที่ยากจะระบุราคาที่แน่นอนได้ เช่น ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมในการลดมลพิษและการสร้างอาชีพนับพันในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น ทั้งในการติดตั้ง การจัดการโครงการ การซื้อขาย ฯลฯ

ความผิดพลาดในอดีต

ในการจัดจำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์ช่วงแรกเริ่มในบางประเทศ การใช้มาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Feed-in Tariff) นั้นถูกออกแบบมาได้ไม่ดีนัก ทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภครายอื่นๆเพิ่มสูงขึ้นจริงๆ เพราะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจภายหลังปี 2551 หน่วยงานสาธารณูปโภคบางรายได้ประเมินปริมาณไฟฟ้าที่พวกเขาจะสามารถขายได้ไว้เกินความเป็นจริง เมื่อความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง มาตรการดังกล่าวจึงไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของระบบ ทำให้ผู้บริโภคที่ต้องพึ่งพาโครงข่ายไฟฟ้าหลักเพียงอย่างเดียวมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับการเติบโตของภาคพลังงานแสงอาทิตย์พอดิบพอดี จึงเป็นการง่ายกว่าที่จะโยนความผิดให้กับผู้ถือครองแผงโซลาร์ (ผู้บริโภคอนาคต หรือ prosumer) แม้ว่าปัญหาที่แท้จริงจะเกิดจากการประเมินความต้องใช้ไฟฟ้าผิดพลาดของหน่วยงานสาธารณูปโภค

การชำระค่าใช้จ่ายสายส่งไฟฟ้า

ผู้บริโภคอนาคตจำเป็นต้องชำระค่าใช้จ่ายของสายส่งไฟฟ้าเช่นกันหากพวกเขาซื้อไฟฟ้าจากระบบสายส่งไฟฟ้ามาใช้ด้วยในบางครั้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับทางหน่วยงานสาธารณูปโภคว่าจะคิดค่าใช้จ่ายตรงนี้อย่างไรเพื่อให้ยุติธรรมกับผู้บริโภคทุกราย หากทางหน่วยงานสาธารณูปโภคซ่อนตัวเลขค่าใช้จ่ายสายส่งไฟฟ้าไว้ในค่าใช้โดยรวม ก็อาจกลายเป็นว่าครัวเรือนที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองเป็นหลัก (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) ไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายสายส่งไฟฟ้าใดๆเลย ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานสาธารณูปโภค ผู้ซึ่งได้ประโยชน์จากผู้บริโภคอนาคตเหล่านี้จากอัตราการปล่อยมลพิษและค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่ลดลง

ประเด็นสำคัญ: พลังงานแสงอาทิตย์ขนาดย่อมสร้างประโยชน์ให้กับระบบมากกว่าอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการลดมลพิษและความสูญเสียจากการนำส่งไฟฟ้า มากกว่าผลประโยชน์อื่นใด หรือมากกว่าเงินอุดหนุนที่จ่ายให้กับผู้บริโภคอนาคตเสียด้วยซ้ำ