ภาพหลักเขตที่ 29 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดที่เอาไว้กำหนดพื้นที่ของเมืองหลวงของไทย (แบ่งเขตกรุงเทพฯกับจังหวัดสมุทรสาคร) หลักเขตนี้ตั้งอยู่ที่ป่าชายเลนบางขุนเทียนและกำลังได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ระดับน้ำกินพื้นที่แผ่นดินของกรุงเทพฯเข้ามาเรื่อย ๆ จนทำให้หลักเขตนี้เคยจมหายไปก่อนจะได้รับการบูรณะกจนกลายมาเป็นหลักเขตที่อยู่เหนือระดับน้ำในปัจจุบัน

ไทยกับความเสี่ยงต่อการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล

เพราะไทยเป็นหนึ่งในประเทศ 10 อันดับต้นที่มีความเสี่ยงมากที่สุดในโลกจากผลกระทบของ วิกฤตสภาพภูมิอากาศในระยะยาว ทั้งจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในฤดูน้ำหลากและน้อยลง ในฤดูแล้ง ภัยพิบัติทั้งอุทกภัย ภัยแล้งยาวนาน และพายุที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น สร้างความเสียหายต่อภาคเศรษฐกิจหลัก เช่น การเกษตร การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม รวมถึงการบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาเมือง การย้ายถิ่นฐานของประชากร การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการแพร่กระจายของโรค เป็นต้น

สถานการณ์หนึ่งในไทยที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กับการจะต้องเผชิญพายุหมุนเขตร้อนที่มีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศแล้ว แต่กรุงเทพ ฯ ยังเป็น 1 ใน 7 เมือง ที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากน้ำท่วมที่มากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุโซนร้อนที่เข้มข้นมากขึ้นอีกด้วย

กทม.มีพื้นที่ลุ่มต่ำ96% หากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ10ปี(จะเกิดภายในปี 2573) พบว่าเหตุการณ์น้ำท่วมชายฝั่งที่เกิดจากพายุซัดฝั่งและระดับน้ำขึ้นสูงสุด มีโอกาสเกิดน้ำท่วมสูงเกินระดับน้ำทะเล10% ต่อปี

10 ปีที่ผ่านมา ในฤดูฝนปกติเมื่อฝนตกหนักเกิน 70 – 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง น้ำฝนจะท่วมขังในบางพื้นที่ หากกทม.ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ทันเวลา น้ำจะท่วมขังในระยะเวลาหนึ่ง และถ้าในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นพร้อมกันอีก การระบายน้ำออกสู่ทะเลจะทำได้ยากลำบากมากขึ้น กทม.มีโอกาสจะโดนน้ำท่วมมากขึ้น รวดเร็วขึ้นและบ่อยขึ้น กรีนพีช ประเทศไทย เห็นว่าแนวคิดที่สำคัญของการรับมือกับปัญหา การป้องกันปัญหา การแก้ไขปัญหา และการอยู่กับปัญหา

วิกฤตสภาพภูมิอากาศ เป็นวิกฤตรับมือได้ด้วยการออกแบบนโยบายที่มีประสิทธิภาพจากภาครัฐ

การรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศให้ได้ผลในเชิงรุกนั้น ไทยจำเป็นจะต้องมีนโยบายที่มีประสิทธิภาพและมีหลักปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเป็นธรรม เปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เพื่อให้คนไทยเข้าถึงพลังงานได้อย่างเสมอภาค มีราคาที่เป็นธรรม และเพื่อให้ไทยร่วมบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีสที่โลกจะคงอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้สูงเพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส 

แน่นอนว่าการแก้ปัญหาแบบนี้ไม่อาจเริ่มได้ที่ตัวเราเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยนโยบายที่มีประสิทธิภาพมากพอเข้ามารับมือและแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศในระยะยาว

การเมืองที่ทำให้สิ่งแวดล้อมดี ต้องอยู่บนรากฐานของความเป็นธรรม เป็นประชาธิปไตย เปิดกว้างให้กับความหลากหลายทางความคิดและเปิดพื้นที่ให้กับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายอย่างแข็งขันและมีความหมาย

พรรคการเมืองในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชนในการดำเนินการทางการเมืองผ่านแนวนโยบายของพรรค จึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางที่ยั่งยืนและเป็นธรรมให้กับสังคมไทยในการต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ตามติดแคมเปญ #VoteForClimate

สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิตของเราเชื่อมโยงกัน การเลือกตั้ง 2566 กรีนพีซ ประเทศไทย อยากชวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคนมาร่วม #VoteForClimate เข้าคูหากาสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย

เกี่ยวกับแคมเปญ

#ClimateEmergency #เลือกตั้ง66