อาหารที่เราบริโภคในปัจจุบันนี้กำลังส่งผลกระทบต่อโลกอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากการผลิต บรรจุภัณฑ์ การขนส่ง และการประกอบอาหารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี เรายังมีวิธีง่าย ๆ ในการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งจะเป็นก้าวแรกสู่การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

Organic Potatoes in Luxembourg. Aender Schanck, the organic farmers president, is seen here in his supermarket holding a sack of organic potatoes. 03/25/2010 © Emma Stoner / Greenpeace

หากใครที่คิดจะเปลี่ยนแปลงวิถีการบริโภคเพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีอยู่ ก็ควรคำนึงถึงการบริโภคที่เป็นมิตรต่อดาวเคราะห์สีน้ำเงินของเราด้วย และนี่คือ 5 วิธีที่เราควรทำเพื่อลดผลกระทบต่อโลกนี้:

1. ลองบริโภคผักใบเขียว

เราอาจเคยได้ยินชื่อ ผักคะน้าใบหยิกหรือ kale ซึ่งเป็นผักที่ได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมานี้ ไม่ใช่เพียงแค่ผักคะน้าใบหยิกเท่านั้นที่เป็นที่นิยม แต่สาหร่ายทะเลก็เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความหวังไว้ว่าจะเป็นอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด

ด้วยความสามารถเติบโตใกล้ชายฝั่งทะเลได้ดีรวมทั้งชอบน้ำเค็มมากกว่าน้ำจืด และใช้พื้นที่น้อยจึงทำให้ช่วยลดทรัพยากรในการเพาะปลูก นอกจากนี้สาหร่ายทะเลยังมีสารอาหารและช่วยทำความสะอาดสารพิษซึ่งส่งผลเสียต่อมหาสมุทรของเราอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์ยังอ้างว่าการที่สาหร่ายทะเลยังเติบโตเร็วนั้นเป็นสิ่งที่ดีโดยเฉพาะความสามารถในการดักจับก๊าซคาร์บอนที่มนุษย์ปล่อยออกมา และหากถามถึง ความสามารถในการดักจับคาร์บอน แล้ว เราอาจพูดได้ว่าสาหร่ายทะเลนั้นเป็นผู้ชนะเลิศ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การลดโลกร้อนของสาหร่ายทะเลได้ที่นี่

2. ลดเศษขยะจากอาหารให้ได้มากที่สุด

หากนำขยะจากอาหารทั้งโลกมารวมกัน เราจะสร้างเกาะได้เกาะหนึ่ง และมันก็เป็นตัวการใหญ่ติดอันดับสามที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเลยทีเดียว ในประเทศแถบตะวันตก อาหารขยะเหล่านี้เกิดจากการห่อหุ้มอาหารด้วยพลาสติก ห่วงโซ่อาหารที่ไร้ประสิทธิภาพ และการเลือกผักหรือผลไม้จากความสวยงามตามแบบที่เกษตรกรหรือซูเปอร์มาร์เก็ตนิยมทำ อย่างไรก็ดี ปัญหาอาหารขยะยังมีทางแก้ไข

องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) กล่าวว่า 1ใน 3 ของอาหารของโลกนั้นกลายเป็นเศษอาหาร ทั้งนี้ องค์การอาหารและการเกษตร ยังพบร่องรอยเกี่ยวกับผลกระทบของอาหารขยะต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หากไม่มีการคำนวณเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน รอยเท้าคาร์บอนจากการผลิตอาหาร และอาหารที่ไม่ได้รับการบริโภคมีประมาณเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 3.3 ตัน กล่าวคือ เศษอาหารเป็นตัวการก่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันดับ 3  รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน สำหรับรอยเท้าคาร์บอนจากการบริโภคน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำบนดินทั่วโลกในสัดส่วนที่ถูกนำมาใช้และเหลือจากการบริโภคนั้นมีมากถึง 250 ลูกบาศก์กิโลเมตร ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยน้ำในแต่ละปีของแม่น้ำวอลกาหรือสามเท่าของทะเลสาบเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ท้ายที่สุดแล้ว การผลิตอาหารที่ไม่ได้บริโภคเป็นการสูญเสียพื้นที่การเพราะปลูกไปกว่า 1.4 พันล้านเฮกตาร์ ซึ่งใกล้เคียงกับร้อยละ 30 ของพื้นที่เกษตรของโลก

Rotten tomatoes in a vegetables farm. 10/21/2005 © Greenpeace / Ángel Garcia

เราช่วยลดอาหารขยะได้ด้วยการ:

  • เช็คตู้เย็นหรือตู้กับข้าวทุกครั้ง แล้วจดรายการวัตถุดิบที่ขาดก่อนออกไปซื้อทุกครั้ง
  • จัดการอาหารอย่างชาญฉลาด เช่น นำผักหรือผลไม้ที่เหลือมาแปรรูปเป็นน้ำปั่นแสนอร่อย หรือซุป
  • ปลูกผักหรือผลไม้เองถ้าสามารถทำได้

3. ลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์

จาก กระบวนการนำเนื้อจากฟาร์มจนถึงแหล่งขายที่มีน้ำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ในกระบวนการ มีผลวิจัยชิ้นใหม่ออกมาแล้วพบว่า เนื้อที่เราบริโภคนั้น (โดยเฉพาะเนื้อแดง) มีผลกระทบต่อโลกเพราะมันมีส่วนในการก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน

หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียน รายงานว่า การงดปริโภคเนื้อแดงสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้เท่า ๆ กับการงดใช้รถยนต์ ยิ่งไปกว่านั้น ผลวิจัยยังได้ทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคแล้วได้ผลว่า ชาวอังกฤษที่รักในการบริโภคเนื้อสัตว์มีแนวโน้มที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่าเพื่อน ๆ ของเขาที่รับประทานอาหารมังสวิรัติถึง 2 เท่า

ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่แค่พฤติกรรมการบริโภคบนบกของเรายังไม่ยั่งยืนแล้ว แต่พฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลของเราก็กำลังทำร้ายมหาสมุทรอีกด้วย เราจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงการประมงทั่วโลกและต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ รวมไปถึงความเป็นกรดของหาสมุทร  อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

Activists hold a banner reading 'Illegal' by a Fish Aggregating Device (FAD) in the Western Central Pacific Ocean. Greenpeace has confiscated several FADs which are currently banned in pockets of the Pacific Ocean. 09/04/2009 © Paul Hilton / Greenpeace

สิ่งที่เราทำได้:

  • เลือกรับประทานเนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้าแทนวัวที่เลี้ยงด้วยธัญพืช
  • หากทานมังสวิรัติไม่ได้ เราอาจจะศึกษาจากเซอร์พอล แมคคาธนีย์ หรือ คริส มาร์ติน เพราะพวกเขาทานมังสวิรัติทุก ๆ วันจันทร์
  • หากทานมังสวิรัติอยู่แล้ว (และรักในการรับประทานด้วย) ก็สามารถ ลดรอยเท้าคาร์บอนลงได้อีกจากบทความ

4. ค้นหาผู้ผลิตอาหาร

สิ่งหนึ่งที่เรายังไม่ทราบก็คือ ชาวประมงส่วนใหญ่ในทุกวันนี้เป็นแรงงานทาส และอุตสาหกรรมทาสก็ยังทำเงินได้ กว่า32,000 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ ซึ่งอุตสาหกรรมทาสนี้อาจครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานของอาหารที่เราชื่นชอบ

Crew on Rusting Fishing Vessel. This is the hidden story behind pirate fishing - the conditions of near-slavery imposed by ruthless fishing companies in the rush for quick money. The men on board aren't pirates - they're the victims, left to rot on broken-down trawlers, half a world away from their families. 04/04/2006 © Greenpeace / Pierre Gleizes

ปัจจุบันนี้ กรีนพีซยังคง ทำงานเพื่อช่วยเหลือระบบอุตสาหกรรมและรัฐบาล เพื่อปรับปรุงสภาวการณ์ของอาชีพชาวประมงในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงมากที่สุดในโลก ชาวประมงต้องเผชิญหน้ากับปัญหาในสัญญาการบังคับใช้แรงงานเกือบทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่ค่าจ้างที่ต่ำมาก สุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอ ขาดอุปกรณ์ความปลอดภัย ขาดพื้นที่ส่วนตัว ไปจนถึงชั่วโมงการทำงานอันยาวนาน นอกจากนี้อาจประสบอันตรายเช่น การค้ามนุษย์หรือแม้กระทั่งการฆาตกรรมในทะเลอีกด้วย

จากนี้ จะต้องไม่มีการใช้แรงงานทาส ผลผลิตที่ได้จากอุตสาหกรรมทาสจะไม่อยู่ในซูเปอร์มาเก็ต ในร้านอาหาร หรือในครัวของเราอีกต่อไป  เราสามารถเลือกซื้ออาหารจากร้านที่มีห่วงโซ่การผลิตที่สะอาดไม่มีอุตสาหกรรมทาสเข้ามาเกี่ยวข้องได้

5. บริโภคอาหารในท้องถิ่นอาหารปลอดสารพิษ

Organic Potatoes in Sweden. 03/06/2008 © Greenpeace / Dieter Engler

โชคดีที่การบริโภคอาหารจากท้องถิ่นเป็นหนทางที่ดีในการลดการผลิตอาหารอย่างไม่ยั่งยืน การสร้างขยะจากอาการ อีกทั้งยังประหยัดในเรื่องของการขนส่งและบรรจุภัณฑ์  ซึ่งการบริโภคอาหารจากท้องถิ่นและอาหารปลอดสารพิษนี้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศของเรา ซึ่งวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้คือสอบถามว่า อาหารที่เราเลือกซื้อนั้นมีที่มาจากแหล่งผลิตใด คงจะไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่เราได้ซื้อผักผลไม้สด ๆ จากแหล่งกำเนิดแน่นอน!

Comments

Leave your reply