นอกจากวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีจะเป็นวันสตรีสากล #InternationalWomensDay แล้ว เดือนมีนาคมยังเป็นเดือนที่เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องราวการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีอีกด้วย #WomenHistoryMonth เราอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจว่าทำไมสิทธิสตรีจึงเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และทำไม ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ = ความเป็นธรรมทางเพศ

Giant Whale in Feminist March in Santiago. © Cristobal Olivares / Greenpeace
เพื่อระลึกถึงการต่อสู้ของผู้หญิง ในวัน International Women’s Day กรีนพีซ ชิลี ร่วมเดินขบวนรณรงค์ด้านสิทธิสตรีพร้อมหุ่นวาฬสม่วงขนาดใหญ่ ที่จัดขึ้นในเมืองซานติเอโก เพื่อร่วมส่สงเสียงเรียกร้องความเสมอภาคและตีแผ่ประเด็นว่ากลุ่มผู้หญิงสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและการปกป้องสภาพภูมิอากาศอย่างไร © Cristobal Olivares / Greenpeace

ผู้หญิงเป็นกลุ่มคนสำคัญในการพัฒนาการต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ปัจจุบันพวกเธอคือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศมากกว่า 

เพราะความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาวิกฤตอย่างเช่นการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ การขาดแคลนน้ำ ทักษะการถนอมอาหาร รวมทั้งการอพยพย้ายถิ่นเนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงทั่วโลกกลับได้รับผลกระทบมากกว่าเนื่องจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ และยิ่งเห็นได้ชัดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

Super Typhoon Goni Aftermath in the Philippines. © Basilio H. Sepe / Greenpeace
ภาพของ ดิซิรี ซัลลิแคน วัย 19 ปี ถ่ายภาพพร้อมกับความเสียหายบนอ่าวในฟิลิปปินส์ ที่นี่เคยเป็นท่าเรือประมงก่อนจะถูกทำลายจนพังเสียหายด้วยซูเปอร์ไต้ฝุ่น โกนี ในมะนิลา ฟิลิปปินส์ © Basilio H. Sepe / Greenpeace


ผู้หญิงเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ จากบทความของสำนักข่าว The Guardian ระบุว่า “ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะทำงานอยู่ในภาคส่วนอาชีพที่มักได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด เช่น ภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และภาคการประมง” และยังมีข้อมูลจากกองทุน The Global Fund for Women ที่ยืนยันว่า อาหารราว 80% บนโลกที่ผลิตได้ถูกผลิตโดยผู้หญิง แต่กลุ่มผู้หญิงยังได้รับเงินทุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมเพียง 0.1%

3 ข้อเท็จจริงที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อผู้หญิง

เห็นได้ชัดว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศกลายเป็นสถานการณ์ที่ผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจะต้องเจอในชีวิตประจำวัน แต่พวกเธอกลับมีบทบาทน้อยมากในการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายทั้งในหน่วยงานท้องถิ่น หรือแม้กระทั่งในการเมืองระดับประเทศ

International Women's Day March 2019 in Seoul. © Seungchan Lee / Greenpeace
อาสาสมัครและสตาฟของกรีนพีซ เกาหลีใต้ ร่วมงานรณรงค์ในวันสตรีสากล (International Women’s Day) ในปี 2561 พร้อมป้ายข้อความ ‘Climate Justice, Gender Justice’ © Seungchan Lee / Greenpeace

ผู้หญิงเป็นกลุ่มที่สามารถให้ทางออกที่มีประสิทธิภาพในการต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ผู้หญิง (รวมถึงคนทุกเพศทุกวัย) ที่เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับต้น ๆ ต่างรู้ดีว่าโลกควรจะต้องแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างไร ด้วยประสบการณ์ตรงที่พวกเธอและเขาต่างต้องปรับตัวให้อยู่รอดกับผลกระทบที่เกิดขึ้น

Giant Whale in Feminist March in Santiago. © Sabine Greppo / Greenpeace
เพื่อระลึกถึงการต่อสู้ของผู้หญิง ในวัน International Women’s Day กรีนพีซ ชิลี ร่วมเดินขบวนรณรงค์ด้านสิทธิสตรีพร้อมหุ่นวาฬสม่วงขนาดใหญ่ ที่จัดขึ้นในเมืองซานติเอโก เพื่อร่วมส่สงเสียงเรียกร้องความเสมอภาคและตีแผ่ประเด็นว่ากลุ่มผู้หญิงสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและการปกป้องสภาพภูมิอากาศอย่างไร © Sabine Greppo / Greenpeace

เพื่อจะต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เราจะต้องต่อสู้เรียกร้องให้โลกนี้มีความเสมอภาค รวมทั้งเชิญชวนผู้หญิงทั่วโลกที่เป็นคนกลุ่มสำคัญและเป็นพลังร่วมปกป้องสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมด้วยกัน ดังที่ ซ็อสไทน์ นามันยา (Sostine Namanya) นักกิจกรรมและนักรณรงค์ด้านสิทธิสตรี ด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เคยกล่าวไว้ว่า 

“ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศสำหรับฉัน หมายถึงโลกที่ฟังเสียงของคนที่ได้รับผลกระทบผ่านความเหลื่อมล้ำในประเด็นต่าง ๆ เช่นความไม่เท่าเทียมทางเพศ ศักยภาพของแต่ละประเทศที่ไม่เท่ากัน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ หรือกลุ่มผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องทำงานทุกวันเพื่อความมั่นคงของครอบครัวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โลกที่ฟังเสียงของพวกเธอเพื่อการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั่นคือความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ”


*หมายเหตุ ‘ผู้หญิง’ ในบทความนี้หมายรวมถึงผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะเป็น หญิงข้ามเพศ นอน-ไบนารี่ (non-binary) และบุคคลที่มีเพศสภาพเหมือนกับเพศสรีระ (cisgender)