ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา กรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในฮ่องกงส่งเอกสารเกี่ยวกับกฎหมายผลิตภัณฑ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมฉบับปรับปรุงให้กับสภานิติบัญญัติ โดยวางแผนว่าฮ่องกงจะต้องเริ่มแบนการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยมีกำหนดการจะเริ่มใช้มาตรการดังกล่าวภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดกรอบเวลาไว้สำหรับการดำเนินการในระยะที่สอง (ซึ่งจะต้องดำเนินการภายในปี 2025) อีกด้วย

โดยก่อนหน้านี้ กรีนพีซร่วมกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและกลุ่มบุคคลที่รณรงค์ด้านพลาสติกกว่า 5,300 คนเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่เข้มงวดขึ้น ด้วยแรงสนับสนุนมากมายนี้ทำให้การขับเคลื่อนของเราประสบความสำเร็จในที่สุด โดยเราทำให้รัฐบาลตอบรับข้อเรียกร้องของเรานั่นคือการแบนพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งให้ได้ภายในปี 2025

อย่างไรก็ตามยังมีคำถาม เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable Plastic) ประเภทไหนที่จะถูกแบนเป็นกลุ่มแรก หรือ นโยบายที่ทำอยู่ในปัจจุบันจะช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบที่เกิดจากมลพิษพลาสติกหรือไม่? หรือระบบใช้ซ้ำเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เราลดขยะได้สำเร็จและเป็นการแก้ปัญหาจากต้นเหตุหรือไม่? ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าสิ่งที่เราผลักดันนั้นประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน

1. บรรจุภัณฑ์พลาสติกใดบ้างที่จะถูกแบนเป็นอันดับแรก และบรรจุภัณฑ์แบบใดบ้างที่จะต้องได้รับการควบคุมตามแผนในปี 2025

แผนระยะแรก (เริ่มใช้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023) :

1.ยุติการใช้กล่องพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งในร้านอาหาร ได้แก่

  • กล่องใส่อาหาร EPS หรือกล่องโฟม (ทานที่ร้าน+กลับบ้าน)
  • หลอด (ทานที่ร้าน+กลับบ้าน)
  • ไม้คนเครื่องดื่ม (ทานที่ร้าน+กลับบ้าน)
  • ชุดช้อนส้อม (ทานที่ร้าน+กลับบ้าน)
  • จาน (ทานที่ร้าน+กลับบ้าน)
  • แก้ว (ไม่แจกแก้วที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งในกรณีลูกค้าดื่มที่ร้าน)
  • กล่องใส่อาหารและฝา (ไม่แจกให้ในกรณีลูกค้าทานที่ร้าน)

2.แบนการขายหรือแจกผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอื่น ๆ ได้แก่

  • คัดตอนบัต
  • แท่งไฟเรืองแสงใช้แล้วทิ้ง
  • ถุงพลาสติกใส่ร่ม
  • หมวกปาร์ตี้,ของประดับหน้าเค้ก,ลูกโป่งเป่าลม,ไม้ลูกโป่ง
  • ส้อมจิ้มอาหาร, ไม้จิ้มฟันพลาสติก, แปรงสีฟันด้ามพลาสติก, หวีพลาสติก, ขวดน้ำพลาสติกที่แจกในโรงแรม
  • ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยพลาสติก Oxo (พลาสติกที่แตกตัวด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชัน)
  • อุปกรณ์ในห้องน้ำของโรงแรม (รวมไปถึงแปรงสีฟันด้ามพลาสติก,หวีพลาสติก ฯลฯ) และขวดน้ำพลาสติกที่มีให้บริการในโรงแรม
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับห่อกระดาษชำระสำหรับแจกฟรี

แผนระยะที่สอง (กรอบระยะเวลา เริ่มดำเนินการครั้งแรกภายในปี 2025 )

3.ยุติการใช้กล่องพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในร้านอาหาร

  • Cups and cup lids (dine-in + takeaway) แก้วและฝาแก้ว (ทานที่ร้าน+กลับบ้าน)
ภาพระหว่างการรับฟังความเห็นสาธารณะเกี่ยวกับมาตรการการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง กรีนพีซและกลุ่มสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เสนอให้มีมาตรการ ‘แบนบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งภายในปี 2025’ ซึ่งข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนมากกว่า 5,300 รายชื่อ © Greenpeace / Chilam Wong

2.มีมาตรการลงโทษ หรือมีข้อยกเว้นอะไรบ้าง

จากข้อเสนอระบุว่า หากละเมิดระเบียบดังกล่าว ผู้ละเมิดต้องระวางโทษปรับสูงสุดเป็นเงินจำนวน 100,000 เหรียญฮ่องกง นอกจากนี้ยังมีระเบียบการลงโทษที่ระบุเป็นข้อกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่บังคับกฎหมายสามารถออกหนังสือแจ้งโทษปรับเป็นเงินจำนวน 2,000 เหรียญฮ่องกง อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้น 3 เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ :

  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ถูกแนบมากับอาหารและเครื่องดื่ม เช่น หลอดที่ติดกับกล่องเครื่องดื่ม, ช้อนหรือส้อมที่แนบมากับถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและถ้วยไอศกรีม
  • ผู้บริโภคที่จำเป็นต้องใช้หลอดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวเนื่องจากความจำเป็นทางการแพทย์
  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวที่จำเป็นในการแพทย์หรือใช้เพื่อความปลอดภัยในโรงพยาบาล หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในราชทัณฑ์ และอื่น ๆ เป็นต้น
ในปี 2018 นักรณรงค์ของกรีนพีซจัดกิจกรรมเพื่อเป็นตัวแทนของผู้สนับสนุน 33,000 รายชื่อที่ต้องการยุติการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งในภาคร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ด ได้แก่ Fairwood, Café de Coral และ Maxim’s MX. © Greenpeace / Pak Chai

3. 3 ข้อที่ควรตระหนักในการรณรงค์ครั้งนี้

แม้ว่ากรีนพีซยินดีมากที่ได้เห็นกระบวนการในการลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งและยังเป็นการลดขยะที่จะถูกส่งไปยังบ่อขยะอีกด้วย (ปัจจุบันมีขยะถูกส่งไปทิ้งที่บ่อขยะประมาณ 266 ตัน ต่อวัน) อย่างไรก็ตาม เรายังเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เสนอทางเลือกอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้เราเข้าใกล้เป้าหมายการลดขยะจากต้นทางมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย

การโฟกัสไปที่การหยุด ‘วัฒนธรรมการใช้แล้วทิ้ง’ มากกว่าทางเลือกของอุปกรณ์ที่นำมาทดแทน

ยังไม่มีการจัดการทรัพยากรเพื่อเป็นรากฐานที่จะเอื้อให้เกิด ‘การใช้ซ้ำ’ เช่น ระบบยืมคืนบรรจุภัณฑ์ และมาตรการปัจจุบันยังมีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนจากพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวไปเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น แต่ยังคงหลักการ ‘ใช้แล้วทิ้ง’ อยู่ เช่นการใช้กระดาษหรือไม้ไผ่ทดแทน ซึ่งหากไม่สนับสนุนให้เกิดระบบการใช้ซ้ำ การเปลี่ยนวัสดุเพื่อทดแทนก็ยังสร้างขยะอยู่ดีและเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาด

บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มยังไม่ถูกรวมอยู่ในการควบคุม

ในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่มาตรการการแบนไม่ได้ครบคลุมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกของเครื่องดื่มและอาหารประเภทพร้อมทาน แต่สุดท้ายบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ก็ยังได้รับการยกเว้นในทึ่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จึงยังเป็นช่องโหว่ของนโยบายดังกล่าว

การประชาสัมพันธ์ ‘หลักการใช้ซ้ำ’ เป็นสิ่งที่จำเป็น

นอกจากข้อเสนอแบนพลาสติก ยังมีสิ่งสำคัญคือการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์หลัก ‘การใช้ซ้ำ’ ในรูปแบบการยืมคืนอุปกรณ์และภาชนะต่าง ๆ และวางระบบการให้รางวัลเพื่อสร้างแรงผลักดันสำหรับผู้บริโภคที่นำภาชนะใช้ซ้ำมาเอง

ปัจจุบัน ร้านต่าง ๆ ในไต้หวันจะลดราคาให้ผู้บริโภคที่นำภาชนะของตนเองมา หรือธุรกิจในฝรั่งเศสเองก็มีระบบที่กำหนดราคาที่แตกต่างระหว่างราคาปกติกับราคาสำหรับผู้บริโภคที่นำภาชนะมาเอง กรีนพีซจึงเรียกร้องให้รัฐบาลฮ่องกงเพิ่มหลัก ‘การใช้ซ้ำ’ และประชาสัมพันธ์ระบบดังกล่าวผ่านระบบยืมคืนภาชนะเพื่อลดการสร้างขยะจากต้นทาง

กรีนพีซเริ่มโครงการ ‘Sheung Wan Borrow and Return Cup Program’ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2022 โดยหวังว่าจะสามารถพัฒนาระบบยืมคืนภาชนะที่เหมาะสมกับชาวฮ่องกง © Greenpeace / Waiho Ng 

4. การใช้ซ้ำ คือทางออกของวิกฤตมลพิษพลาสติก

ในเอกสารที่ส่งไปยังสภานิติบัญญัติ มีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกรณีศึกษาการลดใช้พลาสติกที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และแม้ว่าข้อมูลในเอกสารมุ่งเน้นไปยังการออกกฎหมาย แต่ในประเทศหรือในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังมีการตั้งเป้าหมายการลดใช้พลาสติก รวมทั้งโร๊ดแมพเพื่อประชาสัมพันธ์หลักการใช้ซ้ำ

ยกตัวอย่างเช่นร้านสะดวกซื้อในไต้หวันต้องกำหนดบริการยืมคืนภาชนะ ธุรกิจร้านอาหารในฝรั่งเศสจะต้องตั้งเป้าหมายปีต่อปีเพื่อพัฒนาทางเลือกในการใช้ระบบรีฟิลเครื่องดื่ม 

หลังจากรณรงค์เลิกใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งมาหลายปี กรีนพีซไต้หวันประสบความสำเร็จในการเรียกร้องให้กลุ่มร้านสะดวกซื้อ เช่น Family Mart และ 7-Eleven พัฒนาระบบการใช้แก้วแบบใช้ซ้ำและระบบการยืมคืนภาชนะ เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมนอกจากการแบนการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง © Greenpeace / Waiho Ng

เป้าหมายสูงสุดในการเรียกร้องก็เพื่อให้ภาครัฐนำเสนอทางเลือกในการลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง กรีนพีซเริ่มทำงานร่วมกับบริษัทสต๊าทอัพในพื้นที่และร้านคาเฟ่ 6 แห่งและเปิดตัวโครงการ ‘การยืมและคืนภาชนะใช้ซ้ำในย่านเชิงหว่าน’ (Sheung Wan Borrow and Return Cup Program) โดยโครงการดังกล่าวเปิดโอกาสให้ร้านคาเฟ่และร้านสะดวกซื้อมีบริการการเช่าแก้วให้ผู้บริโภคทดลองระบบ

5. กรีนพีซทำอะไรบ้างในการโปรโมทการลดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ? 

ย้อนกลับไปในปี 2017 กรีนพีซต่อสู้กับมลพิษพลาสติกอันเกิดจากภาชนะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่เกิดขึ้นในชุมชน เราใช้ข้อมูลวิจัยทางวิทยาศาสตร์เปิดโปงว่าการแจกภาชนะใช้แล้วทิ้งในระบบอาหารฟาสต์ฟู๊ดทำให้ขยะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราก่อตั้งเครือข่ายในฮ่องกงเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตที่ปราศจากพลาสติกใช้แล้วทิ้ง นอกจากนี้เรายังเริ่มนำร่องทางออกที่สร้างสรรค์เพื่อให้เกิดระบบการยืมคืนภาชนะซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งในการลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

จากการสนับสนุนและการเคลื่อนไหวของผู้คนร่วมกับกรีนพีซ พวกเราสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในฮ่องกง ในเรื่องต่อไปนี้

  • 2017 : ตรวจสอบข้อมูลในร้านแมคโดนัลในฮ่องกงร่วมกับอาสาสมัครและคาดการณ์ปริมาณภาชนะพลาสติกใช้แล้วทิ้งที่ถูกแจกจ่ายในช่วงเวลาอาหารเที่ยง ซึ่งคาดว่าหากนำภาชนะเหล่านี้มากองรวมกันจะมีความสูงเท่ากับตึกการเงินนานาชาติ (International Financial Centre : IFC) 72 ชั้น และจากการเผยแพร่ข้อมูลนี้ แมคโดนัลด์จึงประกาศยุติการใช้สไตโรโฟม ถ้วยพลาสติกแมคเฟลอรี่ และเริ่มมาตรการ ‘ไร้หลอดพลาสติกทุกวัน’ (“ Go Strawless Everyday”)
  • 2018 : เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับระบบการแจกจ่ายภาชนะพลาสติกใช้แล้วทิ้งในแบรนด์ฟาสต์ฟู๊ด 8 แบรนด์ และทำให้ผู้บริโภคร่วมกันเรียกร้องให้แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้ลดใช้พลาสติก การรณรงค์ของเราประสบความสำเร็จ จนนำไปสู่มาตรการลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งในระบบร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ดขนาดใหญ่ เช่น การงดแจกหลอดพลาสติกและงดแจกไม้คนเครื่องดื่ม
  • 2018 – 2021 : สร้างชุมชนปลอดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยรับอาสาสมัครเข้ามาทำงานเพื่อพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจในชุมชนเพื่อเสนอเกี่ยวกับการลดใช้พลาสติกและระบบการจูงใจผู้บริโภค เช่น การลดราคาหากผู้บริโภคเลือกที่จะลดใช้พลาสติก การดำเนินงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายร้านค้าที่ลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งได้มากกว่า 1,100 แห่ง
  • 2021 : นำร่องโครงการ ‘ยืมช้อนส้อมที่ใช้ซ้ำได้’ กับชุมชนในย่านร้านอาหาร Lo Tak Court ซึ่งตั้งอยู่ที่ฉวนวาน เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการณ์การทานอาหารและเครื่องดื่มแบบไร้พลาสติก โดยสามารถลดการผลิตขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งได้มากกว่า 1,470  ชิ้น รวมทั้งอัตราการคืนภาชนะก็มีมากจนเกือบ 100%
  • 2021 : ร่วมทำงานกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมอีก 9 องค์กรเพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ออกมาตรการควบคุมภาชนะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวภายในปี 2025 และขับเคลื่อนเสียงสนับสนุนจากชุมชนกว่า 5,300 รายชื่อ เรียกร้องให้รัฐบาลควบคุมการใช้ภาชนะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเช่นกัน
  • 2022 : กรีนพีซเปิดตัวระบบ smart system เพื่อเช่าและยืมภาชนะ โดยร่วมทำงานกับธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อออกระบบการเช่าและยืมภาชนะที่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติก
อนาคตที่ไร้พลาสติกจะเป็นไปได้หากเราร่วมมือกัน © Jessica Genoud / Greenpeace

กรีนพีซขอขอบคุณผู้สนับสนุนที่ร่วมกับเราในการรณรงค์เพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติกในครั้งนี้ เราต่างเชื่อว่าการรณรงค์นี้จะขยายออกไปกว้างกว่าเดิมหากเราเดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทำได้จริงเพื่อปกป้องโลกใบนี้ ส่วนการรณรงค์ในไทยเกี่ยวกับการต่อกรมลพิษพลาสติกของกรีนพีซ ประเทศไทยก็ยังคงดำเนินต่อไปในปีนี้เช่นกัน 

ที่ผ่านมา จากการเก็บขยะและตรวจสอบแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติก (Plastic Brand Audit) ที่พบในสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 2561-2565 ของอาสาสมัคร ผู้บริจาคกรีนพีซ รวมถึงเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ พบบรรจุภัณฑ์อาหารของ CP ในสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในประเภทสินค้าแบรนด์ไทย CP มีส่วนสำคัญในการลดมลพิษพลาสติกปริมาณมหาศาล โดยรับผิดชอบขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ของตนเอง และไม่ทิ้งให้เป็นภาระจัดการแก่สิ่งแวดล้อม ชุมชน เทศบาล และหน่วยงานกำจัดขยะในท้องถิ่นที่กำลังแบกรับภาระการจัดการขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอยู่

ร่วมส่งเสียงถึง CP ลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

มาร่วมกันบอก CP ให้ลดใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์

มีส่วนร่วม

เราเรียกร้องให้ผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์สินค้าในไทยตั้งเป้าลดบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลงทุนในระบบเก็บพลาสติกหลังการใช้งานกลับคืน การใช้ซ้ำ และรีฟิลโดยใช้ภาชนะใช้ซ้ำ ตลอดจนสนับสนุนกรอบกฎหมายที่ใช้หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility หรือ EPR) ในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย ร่วมกันบอก CP ถึงการลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง