มีความคืบหน้าครั้งใหญ่ในการรณรงค์เพื่อปกป้องผืนป่าอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นป่าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัท IOI หนึ่งในบริษัทผู้ค้าน้ำมันปาล์มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ออกมาประกาศเจตนารมณ์ว่าจะร่วมปกป้องผืนป่า ซึ่งเมื่อนำมาใช้จริงจะเป็นการแก้ไขปัญหาของบริษัทในเรื่องพื้นที่เพาะปลูกปาล์ม และจะเป็นมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของโลก

ข่าวดีนี้เกิดขึ้นหลังจากการรณรงค์อย่างต่อเนื่องของผู้สนับสนุนกรีนพีซกว่าหลายปี ซึ่งสามารถโน้มน้าวให้แบรนด์ระดับโลกต่าง ๆ หันมาหยุดรับซื้อน้ำมันปาล์มจากบริษัท IOI จนกว่าทางบริษัทจะจัดการปัญหาทำลายป่าไม้อย่างจริงจัง การผลักดันจากประชาชนทั่วโลกคือหัวใจสำคัญที่โน้มน้าวให้บริษัท IOI หันมาแสดงเจตนารมณ์เช่นนี้ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่ยังไม่มีบริษัทผู้ค้าน้ำมันรายใดรับปากที่จะทำมาก่อน และขณะนี้โลกกำลังจับตามองการเดินหน้าครั้งสำคัญของบริษัท IOI

บริษัท IOI ยังไม่ได้ลงรายละเอียดถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมของน้ำมันปาล์ม แต่มีการเปิดเผยแผนปฏิบัติการ และตอบรับการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานภายในหนึ่งปี กรีนพีซหวังว่าบริษัท IOI จะดำเนินการตามคำมั่นของตน และเราจะจับตามองอย่างใกล้ชิด

A Greenpeace investigator documents the devastation of a company-identified 'No Go' area of peatland in the PT Bumi Sawit Sejahtera (IOI) oil palm concession in Ketapang, West Kalimantan. This area of the concession suffered extensive fires in 2015.

ทีมสำรววจของกรีนพีซขณะกำลังเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบการทำลายป่าไม้ในพื้นที่ที่บริษัทระบุไว้ว่า “พื้นที่อันตราย” ซึ่งเป็นพื้นที่สัมปทานเพาะปลูกปาล์มน้ำมันของบริษัท PT Bumi Sawit Sejahtera (IOI) ที่เมืองเกตาปัง กาลิมันตันตะวันตก อินโดนีเซีย พื้นที่สัมปทานแห่งนี้ถูกเผาอย่างรุนแรงเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในปี 2557

สูญเสียลูกค้า

บริษัท IOI เป็นบริษัทผู้ค้าปาล์มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลก มีการซื้อและขายปาล์มน้ำมันจากบริษัทอื่น ๆ หลายร้อยบริษัท มีธนาคารในประเทศเป็นของตนเองที่อินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เพาะปลูก จนกระทั่งเกิดความขันแย้งขึ้นกับชุมชนท้องถิ่น

ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา กรีนพีซได้เปิดโปงความเชื่อมโยงของบริษัท IOI กับการทำลายป่าและพื้นที่ป่าพรุ การเอารัดเอาเปรียบแรงงาน โดยมีการรายงานถึงการใช้แรงงานเด็ก และเป็นต้นเหตุไฟป่าในพื้นที่สัมปทานของตน ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศขั้นร้ายแรง กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพราะบริษัท IOI รับซื้อน้ำมันปาล์มจำนวนมหาศาลจากบริษัทผู้ปลูกและผู้ขายอื่น IOI จึงมีความเชื่อมโยงกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมหลายประเด็นซึ่งเกิดขึ้นจากบริษัทเหล่านั้น

หลายปีที่ผ่านมา บริษัท IOI ได้แสดงเจตนารมณ์หลายต่อหลายครั้งที่จะยุติการทำลายป่า แต่ยังไม่มีครั้งใดที่มีการลงมือทำอย่างเหมาะสม จบลงที่ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้ ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมีนาคม 2559 บริษัท IOI ได้ถูกระงับจากการรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน RSPO (Roundtable For Sustainable Palm Oil) ตามมาด้วยการถูกร้องเรียนโดยองค์กรสิ่งแวดล้อม Aidenvironment ซึ่งหมายความว่าบริษัท IOI ไม่สามารถเรียกน้ำมันปาล์มของตนว่า “ยั่งยืน” ได้อีก กระนั้นบริษัท IOI ก็ยังฟ้อง RSPO กลับไป ในประเด็นเรื่องการระงับ และได้ถอนฟ้องไปในที่สุด

The Greenpeace thermal airship A.E. Bates flies over the San Francisco Bay area near a facility where palm oil trader IOI imports its palm oil in the San Francisco Bay area.

A.E. Bates เรือเหาะพลังงานความร้อนของกรีนพีซ ลอยอยู่เหนือซานฟรานซิสโก เบย์ ใกล้กับบริเวณที่บริษัท IOI นำเข้าน้ำมันปาล์มมา เมื่อเดือนตุลาคม 2559

ลูกค้ารายใหญ่ของบริษัท IOI จำนวนมาก อาทิ บริษัท Unilever และ Nestlé ได้ยุติการรับซื้อจากบริษัท IOI และถึงแม้ว่า RSPO จะยกเลิกการระงับไปแล้วหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ก็ยังคงยุติการซื้อต่อไป แต่บางบริษัทต้องอาศัยการโน้มน้าวมากกว่านั้น กล่าวคือ บริษัท General Mills ผู้ผลิตส่วนผสมเค้ก Betty Crocker ยังคงยินดีที่จะทำการค้ากับ IOI อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งผู้สนับสนุนกรีนพีซได้ร่วมกันส่งอีเมลกว่า 44,000 ฉบับไปถึง CEO ของบริษัท เพื่อบอกว่าเป็นการทำการค้าที่ไม่รับผิดชอบอย่างมาก

เมื่อครั้งที่นักกิจกรรมกรีนพีซขวางโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท IOI ที่ท่าเรือรอตเทอร์ดาม เนเธอร์แลนด์ การรณรงค์ในครั้งนั้นเป็นการย้ำเตือนบริษัททั้งหลายว่ายังคงมีผู้จัดจำหน่ายน้ำมันปาล์มที่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของโลก ที่พวกเขาควรพิจารณาหลีกเลี่ยง นักกิจกรรมกรีนพีซยังได้ยื่นรายชื่อประชาชนจากทั่วโลก 300,000 รายชื่อที่สำนักงานใหญ่เมืองกัวลาลัมเปอร์

Greenpeace activists close off access for all imports and exports from palm oil trader IOI in the harbour of Rotterdam, palm oil’s gateway into Europe.

นักกิจกรรมกรีนพีซขวางกั้นการเข้าออกของการสินค้าส่งทั้งรับซื้อและขายของบริษัทน้ำมันปาล์ม IOI ที่ท่าเรือรอตเทอร์ดาม ซึ่งเป็นทางส่งน้ำมันปาล์มสู่ยุโรป เมื่อเดือนกันยายน 2559

ผลกระทบขยายไปในวงกว้าง

การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ทำให้บริษัท IOI อยู่ภายใต้ความกดดัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนี้ แต่หากการแสดงเจตนารมณ์ในครั้งก่อน ๆ ไม่เป็นผล เหตุใดครั้งนี้จึงต่างออกไป?

การประกาศในครั้งนี้มีความลึกซึ้งมากกว่าสิ่งที่บริษัท IOI เคยให้คำมั่นมาก่อน โดย IOI ได้ชี้แจงว่าจะมีการให้หน่วยงานอิสระเข้ามาตรวจสอบว่าป่าไม้ แรงงาน และชุมชนในพื้นที่ของตนได้รับการคุ้มครองหรือไม่ อีกทั้งยังให้คำมั่นว่าจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานกับชุมชนในพื้นที่ รวมถึงมีการคุ้มครองสิทธิของแรงงานในการเพาะปลูกอีกด้วย

หนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ บริษัท IOI จะคอยติดตามซัพพลายเออร์ของบริษัทอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่ากลุ่มบริษัทเหล่านั้นจะปกป้องผืนป่าและคนด้วยเช่นกัน บริษัทใดที่ขายน้ำมันปาล์มให้กับ IOI  จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าตนปกป้องผืนป่า ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจะขยายไปไกลว่าภายในบริษัท IOI

ของแถมที่ดีทึ่สุด คือ บริษัท IOI จะสามารถกดดันบริษัทจัดหาน้ำมันปาล์มอื่น ๆ อาทิ Wilmar, Musim Mas และ Golden Agri Resources ให้ออกมาดำเนินการตาม ส่วนผู้ขายน้ำมันปาล์มจำเป็นต้องตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อให้แน่ใจว่า IOI จะไม่ได้รับสินค้าที่มาจากน้ำมันปาล์มสกปรก

การทำลายป่า คือปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม และผู้ค้าน้ำมันปาล์มจำเป็นต้องลงมืออย่างเร่งด่วนเพื่อขจัดปัญหาการทำลายป่าในห่วงโซ่อาหารของตน โดยจำเป็นต้องชี้เเจงถึงแผนการของตนเพื่อแสดงให้เห็นว่าจะมีการคัดเลือกผู้จัดหาวัตถุดิบน้ำมันปาล์มอย่างไร และยุติความสัมพันธ์กับบริษัทที่ทำลายป่าไม้ลง

ผลลัพธ์ที่ชัดเจนจะปรากฎเมื่อคำมั่นถูกนำมาปฏิบัติ ยังคงมีงานต้องทำอีกมากจนกว่าบริษัท IOI จะปลดเปลื้องจากการทำลายป่าอย่างแท้จริง เราจำเป็นต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด และไม่ลังเลที่จะท้าทาย IOI อีกครั้ง หากเราพบว่า IOI ไม่รักษาคำพูด

แต่ในตอนนี้ ต้องขอขอบคุณทุกคนทั่วโลก ที่มีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ และทำให้การยุติการทำลายป่าที่อินโดนีเซียใกล้ความจริงขึ้นAnnisa Rahmawati ผู้ประสานงานรณรงค์ป่าไม้อาวุโส กรีนพีซอินโดนีเซีย

 

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

Primary Forest in Papua. © Ulet  Ifansasti / Greenpeace
ร่วมปกป้องป่าฝนเขตร้อน

ป่าฝนเขตร้อนที่เป็นบ้านของอุรังอุตังกำลังถูกทำลายจากการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน หากเราไม่ทำอะไรเลย ถิ่นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ป่าจะถูกทำลาย

มีส่วนร่วม