ในวันที่ 26 กันยายน เป็นวันขจัดอาวุธนิวเคลียร์สากล โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) หนึ่งปีหลังจากการตกลงทำสนธิสัญญาสากลที่ต้องการให้อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธที่ผิดกฎหมาย ตอนนี้เราต้องยืนยันการเดินหน้าตามหลักสนธิสัญญาและย้ำเตือนว่าเพราะเหตุใดเราจะต้องยุติการครอบครองอาวุธที่มีพลังการทำลายล้างสูงเพื่อสร้างโลกที่มีสันติภาพ

“เมืองฮิโรชิม่าอันเป็นที่รักของฉัน ต้องกลายเป็นเมืองร้างที่ถูกปกคลุมไปด้วยเศษอิฐ ซากศพที่ถูกเผาไหม้และโครงกระดูก” เซ็ทสุโกะ เทอร์โลว์ ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิม่า อ่านเรื่องราวของเธอได้ที่นี่

เหตุการณ์อันน่าเศร้าจากผู้รอดชีวิตทำให้เราคิดถึงการทำลายล้างของอาวุธนิวเคลียร์ มันมีพลังทำลายล้างสูงมากกว่าลูกระเบิดอื่นๆที่ถูกทิ้งในฮิโรชิม่ากว่า 60 เท่า

สนธิสัญญาห้ามการใช้อาวุธนิวเคลียร์ร่างขึ้นโดย 122 รัฐที่เป็นสมาชิกในองค์การสหประชาชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อห้ามการใช้และกำจัดอาวุธชนิดนี้โดยสิ้นเชิง และเพื่อให้สนธิสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้จะต้องมีสมาชิก 50 รัฐที่ยอมรับ ซึ่งมีรัฐ 15 รัฐได้ลงนามยอมรับ และปัจจุบันมีรัฐลงนามเพิ่มอีก 60 รัฐ

ถึงเวลาแล้วที่ต้องห้ามการใช้อาวุธนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการ ยุติความแพร่หลายของอาวุธนิวเคลียร์และเสริมสร้างความมั่นคงระหว่างประเทศ

“เป็นเวลากว่า 10 วันที่เราช่วยเหลือทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ผู้สูงอายุและเด็กๆ พวกเขาหลายคนทนทุกข์กับความเจ็บป่วยจากรังสีหลังเหตุการณ์การระเบิด พวกเขาต้องอพยพออกจากบ้านเกิดเป็นเวลากว่าทศวรรษ เมืองของพวกเขาเสียหายเกินกว่าจะเยียวยา” บันนี แมคดิอาร์มิด ผู้อำนวยการกรีนพีซสากลในขณะนั้นพูดถึงเหตุการณ์ในฮิโรชิม่า ในเหตุการณ์นั้นลูกเรือ เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ ได้ล่องเรือไปยังมหาสมุทรแปซิฟิคเพื่อช่วยเหลือเหยื่อจากการทดลองนิวเคลียร์

และนี่คือ 5 เหตุผลที่ต้องห้ามการใช้อาวุธนิวเคลียร์

1) อาวุธนิวเคลียร์มีพลังทำลายล้างสูงที่สุด

พิธีกรรมทางศาสนาเนื่องในวันครอบรอบ 60 ปีของการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโรชิม่า

พิธีกรรมทางศาสนาเนื่องในวันครอบรอบ 60 ปีของการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโรชิม่า

อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธที่ร้ายแรงต่อมนุษย์มากที่สุด มันทำร้ายประชาชนและทหารทุกคนที่อยู่ในรัศมี รังสีจากการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ยังส่งผลกระทบในระยะยาวต่อร่างกายผู้ที่ได้รับผลกระทบ และลูกหลานของพวกเขา
อาวุธนิวเคลียร์ถูกใช้เพียง 2 ครั้งในช่วงเวลาการทำสงคราม ปี พ.ศ.2488 โดยระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิม่าและเมืองนางาซากิ ทำให้พลเมือง 250,000 คน บางกลุ่มถูกเผาทันที บางกลุ่มเสียชีวิตอย่างน่าหดหู่ในสัปดาห์หรือในเดือนต่อมา นอกจากนี้ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมาก็ยังมีพลเมืองอีกหลายพันคนเสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการได้รับรังสี

ยังมีระเบิดนิวเคลียร์มากกว่า 2,000 ลูกที่ถูกทดลองในโครงการทหาร ซึ่งมีผู้ได้รับผลพวงจากการทดลองด้วย

2) อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธที่ไร้ประโยชน์

Yokosuka Peace Fleet Protest. © Greenpeace / Naoko Funahashi

กลุ่ม Peace Fleet ประท้วงต่อต้านการปรากฏตัวของเรือรบนิวเคลียร์ USS MIDWAY ในเมืองโยโกซูกะ ประเทศญี่ปุ่น

การหยุดอาวุธนิวเคลียร์นี้จะช่วยปกป้องเราจากภัยคุกคามในยุคของเรา เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้ายและการก่อการร้ายทางไซเบอร์ อาวุธนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่ล้าสมัยและไม่ใช่ความท้าทายในยุคปัจจุบันแล้ว แต่มันสร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างประเทศและทำให้โลกเราห่างไกลจากสันติภาพ

การอ้างถึงเสถียรภาพระหว่างประเทศมหาอำนาจขึ้นอยู่กับการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะอาวุธที่มีพลังในการทำลายล้างสูงขนาดนี้เป็นสิ่งที่ถูกนำไปค้ำประกันเสถียรภาพระหว่างประเทศได้อย่างไร?  มีแต่ประเทศที่ครอบครองอาวุธเท่านั้นที่จะอ้างถึงความมั่นคงในลักษณะนี้ สำหรับประเทศอื่นๆแล้วอาวุธนิวเคลียร์คือปัจจัยหนึ่งที่เป็นภัยคุกคามประเทศ ทั้งในด้านมนุษยธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม

3) เพราะอาวุธนิวเคลียร์มีต้นทุนสูง

No War Demonstration in Germany. © Paul Langrock / Greenpeace

บอลลูนลมร้อนของกรีนพีซพร้อมคำว่า “เราไม่เอาสงคราม” ในการเดินประท้วงต่อต้านสงครามในประเทศอิรัก

แม้ว่าในช่วงหลังสงครามเย็น อาวุธนิวเคลียร์ในคลังยุทโธปกรณ์ถูกลดจำนวนลงในช่วงปี พ.ศ. 2500   แต่งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ก็ยังเพิ่มขึ้น ตัวเลขค่าใช้จ่ายนี้มีอยู่ในทุกรัฐที่มีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ จากการประเมินของ องค์กรโกลบอลซีโร่ ในปี พ.ศ. 2544 พบว่าระหว่าง พ.ศ. 2543 – 2563 มีการใช้งบประมาณไปเกือบหนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐ!
ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกกว่าหลายล้านคนทุกข์ทนจากความหิวโหย ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ รัฐที่มีนิวเคลียร์ทำให้เราสูญเสียงบประมาณสาธารณะที่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านสุขภาพ การศึกษา หรือการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน การช่วยเหลือเหยื่อ การพัฒนาด้านการรักษาพยาบาลและปัจจัยการบริการอื่นๆที่ประชาชนในประเทศควรได้รับ

4) มีความเสี่ยงที่อาวุธนิวเคลียร์จะแพร่กระจายไปสู่รัฐอื่นๆ

Peace Doves - Hiroshima Atomic Bombing 60th Anniversary. Japan 2005. © Greenpeace / Jeremy Sutton-Hibbert

นกพิราบเพื่อสันติภาพถูกปล่อยในกิจกรรมรำลึกครอบรอบ 60 ปี การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า

ความแพร่หลายของอาวุธนิวเคลียร์มีความเสี่ยงที่จะทำให้รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่แล้วเพิ่มจำนวนอาวุธของตัวเอง และมีความเสี่ยงที่รัฐที่ไม่มีอาวุธในครอบครองจะเริ่มผลิตอาวุธนิวเคลียร์มาเป็นของตัวเอง ตามเป้าหมายของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2513) วิธีการที่เราจะต่อสู้กับความเสี่ยงนี้ก็คือป้องกันรัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองจากการพัฒนาและทดลองอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกร้องให้รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ลดจำนวนอาวุธของตนเองลง

โชคไม่ดีที่ความมุ่งมั่นเหล่านี้ยังคงไม่เป็นรูปร่างขึ้นมา แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าความปลอดภัยคือ การเราเรียกร้องว่าความปลอดภัยของชาตินั้นขึ้นอยู่กับนโยบายยับยั้งนิวเคลียร์ และในเวลาเดียวกันชาติอื่นๆก็ร้องขอให้หยุดใช้เช่นกัน

สุดท้าย จะเกิดอะไรขึ้นหากอาวุธนิวเคลียร์ที่อันตรายนี้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด?

5)เพราะอาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธที่มีพลังทำลายล้างสูงเพียงชนิดเดียวที่ยังไม่ถูกแบน (อย่างจริงจัง)

Hiroshima Atomic Bombing 60th Anniversary. Japan 2005. © Greenpeace / Jeremy Sutton-Hibbert

อนุสรณ์สันติภาพฮิโระชิมะเป็นอาคารที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางการระเบิดมากที่สุดในบรรดาอาคารที่ยังตั้งทนต่อแรงระเบิด ตัวอาคารได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพหลังจากถูกระเบิด ปัจจุบันได้กลายเป็นอนุสรณ์เตือนให้ระลึกถึงพลังทำลายล้างของระเบิดปรมาณู และเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังในสันติภาพและการต่อต้านการใช้อาวุธปรมาณู

แต่เราเปลี่ยนแปลงได้! ในขณะที่อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพถูกแบนจากทั่วโลก (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2515  และ ปี พ.ศ.2536 ตามลำดับ ) แต่อาวุธนิวเคลียร์ก็ยังไม่ถูกแบนจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์โดยองค์การสหประชาชาตินั้นกำลังอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎเพื่อบังคับใช้ภายในปี พ.ศ.2563
แน่นอนว่ารัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครองเช่น ฝรั่งเศส คว่ำบาตรสนธิสัญญาฉบับนี้ เราสร้างแรงกดดันต่อฝรั่งเศสและอีก 8 รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ ให้ตกลงลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราเพิ่มจำนวนประเทศที่ตกลงลงนามได้และเราสามารถลดการลงทุนในการผลิตอาวุธชนิดนี้จากสถาบันการเงิน รวมไปถึงผู้คนอีกหลายพันคนทั่วโลกที่เห็นด้วย

ร่วมกันส่งพลังจากทั่วโลก เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราต้องการให้โลกปลอดภัยไร้อาวุธนิวเคลียร์ ! แสดงพลังของคุณเพื่อสนับสนุนสันติภาพด้วยการแชร์บทความนี้ให้เพื่อนๆของคุณ