พลังของประชาชนที่ร่วมกันลุกขึ้นคัดค้านการคุกคามของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย คือพลังสำคัญที่สุดที่ทำให้โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่โครงการต่าง ๆ ที่เทพา จังหวัดสงขลา และจังหวัดกระบี่ ไม่สามารถดำเนินการได้

และนี่คืออีกครั้งที่ชุมชนออกมาเคลื่อนไหวอย่างทรงพลัง

เช้าตรู่ของวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 ตัวแทนกลุ่มชาวประมงเทพา จังหวัดสงขลา ได้ออกมารวมตัวอีกครั้งใกล้เกาะขาม จังหวัดสงขลา โดยมีเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ ซึ่งเป็นเรือสัญลักษณ์ของกรีนพีซ ออกมาร่วมเปล่งเสียงแสดงจุดยืนไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ณ ตือโละปาตานี พื้นที่แห่งนี้เชื่อมโยงกันจากอำเภอเทพาถึงแหลมตาชี เรือประมงราว 100 ลำ จากชุมชนสะกอม เทพา และสวนกง ในจังหวัดสงขลา พร้อมกับแผ่นผ้าที่เป็นภาพตัวละครในหนังตะลุง เขียนเป็นข้อความ  “ควน ป่า นา เล ควรหวงแหน” ซึ่งหมายถึง “ปกป้องภูเขา ป่าไม้ ทุ่งนาและทะเล” “ไม่เอาถ่านหิน” และ “Heart for Sea” อันเป็นการแสดงเจตนารมย์คัดค้านต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 2,200 เมกะวัตต์ที่เทพา อันจะทำลายความอุดมสมบูรณ์ของผืนทะเลตือโละปาตานีที่แหล่งผลิตอาหารทะเลที่เลี้ยงปากเลี้ยงของของคนไทย

“พวกเราผูกพันกับทะเลและผืนดินที่นี่ ถ้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเดินหน้าต่อไป เราอาจสูญเสียทุกอย่าง ทั้งบ้าน วิถีชีวิต และวัฒนธรรม การถูกบังคับให้ย้ายออกจากแผ่นดินเกิดที่ได้มาจากบรรพบุรุษ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ย้ายถิ่นฐานเท่านั้น แต่เป็นการทำลายเอกลักษณ์ของชุมชน” นายดอเลาะ อาแว ตัวแทนชุมชนตันหยงเปาว์กล่าว

การมาของโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2,200 เมกะวัตต์ สร้างความกังวลต่อชุมชนในพื้นที่ โดยเฉพาะผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชาวประมงและทะเล เนื่องจากพื้นที่ของชุมชน 152 ครัวเรือนราว 240 ครอบครัว มัสยิสถ์ 2 แห่ง สุสานมุสลิม 2 แห่ง โรงเรียนศาสนา และวัด จะถูกแทนที่ด้วยโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน

การออกมาเคลื่อนไหวของชุมชนในวันนี้เป็นการตอกย้ำจุดยืนของชุมชนอีกครั้งว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ใช่ทางออกของพลังงาน หลังจากที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้สั่งยกเลิกรายงาน EHIA ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและกระบี่ และตกลงที่จะให้กระทรวงพลังงานจัดทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) เพื่อศึกษาว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่ และอำเภอเทพา มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ โดยจะต้องจัดทำด้วยนักวิชาการที่มีความเป็นกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกัน และหากการศึกษาชี้การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินว่าไม่เหมาะสม กฟผ. ต้องยุติการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 9 เดือน

“การรวมตัวของพี่น้องประมงพื้นบ้านในพื้นที่จะนะ เทพา และปัตตานีในวันนี้ รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาชน นักวิชาการ ศิลปิน สื่อมวลชน นักพัฒนาเอกชน นักศึกษา เยาวชน และผู้ที่หวังเห็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในวันนี้ เป็นการยืนยันถึงความจำเป็นที่ต้องการสานพลังความเป็นเครือข่ายที่เหนียวแน่น และร่วมกันปกป้องฐานทรัพยากร ฐานชีวิตของผู้คนให้พ้นจากหายนะจากการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่สุขสงบและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์” ตัวแทนชุมชนกล่าวในแถลงการณ์

ความอุดมสมบูรณ์ของเทพาได้ถูกเก็บข้อมูลและถ่ายทอดออกมาผ่านทางรายงาน “ตือโละปาตานี วิถีการพัฒนาอย่างยั่งยืน: การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนกรณีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา” โดยรายงานเล่มนี้ได้ใช้วิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ที่มาจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลในชุมชนถึงสิทธิ และความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และช่วยประกอบการตัดสินใจในชุมชน

จากการทําแผนที่ความเสี่ยง ชุมชนพบว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาส่งผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมในหลายมิติ ทั้งนี้ในการประเมินผลกระทบโดยชุมชน ได้ทําการจัดลําดับประเด็น ท่ีมีผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชน จํานวน 3 ประเด็น คือ

  • ผลกระทบจากการบังคับโยกย้ายถิ่นฐานที่อาจต้องจำใจย้ายโดยไม่ได้รับค่าชดเชยใด ๆ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย
  • ผลกระทบต่อการทําาประมง จากการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศของแม่น้ำ ลำคลอง ป่าชายเลน ชายหาด และทะเล จากการปรับปรุงพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน  รวมถึงการนำเข้าน้ำทะเลสู่โครงการวันละ 9 ล้านลูกบาศก์เมตร เถ้าถ่านหินที่เกิดจากการผลิตจะฝังอยู่ในพื้นที่โครงการ รวมถึงน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ถูกระบายลงสู่ทะเลและป่าชายเลน
  • ผลกระทบต่อการทําาเกษตร ได้แก่ ข้าวพื้นเมือง แตงโมรวมถึงการทําาเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งย่อมได้รับผลกระทบโดยตรงจากมลพิษทางอากาศ

“การโยกย้ายออกจากพื้นที่ ผมมองว่ามันไม่ใช่แค่การโยกย้ายออกจากพื้นท่ี แต่คือการล่มสลาย การทําาลาย ชุมชนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผมมองว่ามันเป็นความปวดร้าวที่ถูกกระทาํา อย่างรุนแรง ไม่สามารถจะอธิบายเป็นคำพูดได้ว่ารู้สึกยังไง” ซานุซี สาและ ชาวประมงพื้นบ้าน กล่าวสะท้อนความรู้สึก

ถึงแม้จะมีการระบุมาตรการในรายงาน อีเอชไอเอโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ถึงการเพิ่มการจ้างงานกว่า 3,000 คน ประเด็นที่ต้องคิดต่อคือ ทักษะฝีมือของคนในพื้นที่นั้น ตรงตามที่ทางโครงการต้องการจ้างงานหรือไม่ ทางบริษัทมีสิทธิจะจ้างแรงงานจากพื้นที่อื่นๆ หรือจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทํางานแทน ก็เป็นได้ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มชาวบ้านในพื้นท่ีเองก็มีอาชีพท่ีสามารถหาเลี้ยงครอบครัว และมีเงินเก็บออมได้อย่างสบายอยู่แล้ว ไม่จําเป็นต้องผันตัวเองไปเป็นแรงงานหรือกรรมกรก่อสร้างในพื้นที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน

“สิทธิของประชาชน ผมคนนึงละที่ขอสู้ตาย” หมิด ชายเต็ม ชุมชนเทพา เครือข่ายตือโละปาตานี
“วันนี้ที่เราทำเราคิดถึงคนรุ่นหน้าจริงหรือเปล่า หรือคิดถึงผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ข้อมูลในรายงานมาจากปากของชุมชนทั้งหมด นี่คือวิถีทางที่ยั่งยืนที่เรานำเสนอ” ดร.มนทกานต์ ฉิมมามี สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

ในช่วงสัปดาห์นี้ตัวแทนชุมชนเครือข่ายตือโละปาตานี ได้ออกมากทำกิจกรรมร่วมกันกับเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ของกรีนพีซ ทั้งกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยกลุ่มเยาวชน Beach For Life หรือ เด็กรักษ์หาด  กลุ่มปันรักที่รณรงค์ด้านอาหารทะเลและการประมงแบบไม่ทำลายล้าง และยังมีตัวแทนชุมชนจากอำเภอเทพา และหนองจิกของเครือข่ายตือโละปาตานี ซึ่งทุกคนล้วนต่างต้องการปกป้องรักษาความอุดมสมบูรณ์และวิถีชีวิตของตน

“กรีนพีซร่วมยืนหยัดกับชุมชนในการส่งเสียงของชุมชนที่เป็นห่วงต่อผลกระทบด้านสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน สิทธิและเสียงของชุมชนไม่ควรถูกละเลย การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องมุ่งไปที่ชุมชน ความต้องการของชุมชนและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่” จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงาน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

“ควน ป่า นา เล ควรหวงแหน” ชุมชนเทพาขอเลือกเทใจให้พลังงานหมุนเวียนไม่ใช่ถ่านหิน รัฐบาลล่ะเลือกที่จะเปิดใจรับฟังหรือยัง

Brand Audit in Chonburi, Thailand. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
อาสาสมัครกรีนพีซ

ไม่ว่าคุณเป็นใครก็สามารถมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครกรีนพีซได้ ซึ่งคุณสามารถเลือกประเภทของอาสาสมัครได้ตามความสนใจ อาทิ เยาวชนกรีนพีซ (Youth) นักพูดเพื่อสิ่งแวดล้อม (Greenspeaker) นักกิจกรรมเชิงออนไลน์ (Digital Activist) และนักกิจกรรมภาคสนาม (Activist)

มีส่วนร่วม
รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

About the author

รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์
นักเขียน นักสิ่งแวดล้อม ผู้เชื่อในพลังการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของทุกคนจากการเลือกกิน เลือกซื้อ เลือกใช้ และการลงมือทำ เพื่อสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

Comments

Leave your reply