มหาสมุทร เปรียบเสมือนว่าเป็นปอดของโลก ครึ่งหนึ่งของอากาศที่หายใจเข้าไปมาจากที่นี่ แต่ตอนนี้มหาสมุทรของพวกเรากำลังถูกทำลายจากมลพิษพลาสติกที่มาจากพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) และเครื่องมือการทำประมง มลพิษพลาสติกที่กำลังเกิดขึ้นในมหาสมุทรนับว่าเป็นภัยคุกคามที่อาจส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลรวมถึงความสามารถในการผลิตก๊าซออกซิเจนให้เราหายใจ

ถึงเวลาที่เราควรรู้ว่าปัญหาทุกอย่างนั้นเชื่อมโยงกันและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพื่อยุติมลพิษที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพื่อต่ออายุมหาสมุทรให้กับลูกหลานของเรา โดยอาจเริ่มจากตอบคำถามง่าย ๆ ต่อไปนี้

ขยะพลาสติกตกค้างอยู่ในมหาสมุทรมากน้อยแค่ไหน?

จากการประมาณการระหว่างปี 1950 ถึง 2017 มนุษย์ผลิตพลาสติกได้ประมาณ 9.2 พันล้านตัน เทียบเท่ากับน้ำหนักช้าง 1.2 พันล้านตัวหรือวาฬสีน้ำเงิน 88 ล้านตัว [1]

เนื่องจากการรวมกันของการผลิตจำนวนมากและการจัดการของเสียที่ไม่ดี มลพิษจากพลาสติกถึง 12.7 ล้านเมตริกตันจึงลงเอยในมหาสมุทรทุกปี [2] พลาสติกในมหาสมุทรไม่ได้ละลายหายไปไหน มันกระจายไปตามชายฝั่ง เข้าสู่กระแสน้ำในมหาสมุทร หรือกระจุกตัวอยู่ในกระแสน้ำและท้ายที่สุดแล้ว ส่วนใหญ่จะแตกเป็นชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่าไมโครพลาสติก

มีการพบขยะพลาสติกในร่องลึกก้นมหาสมุทรมาเรียนาที่มีความลึกอยู่ที่ 10,898 เมตร นับว่าเป็นจุดที่ลึกที่สุดในโลก ร่องลึกมาเรียนามีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ไม่มีอาหาร น้ำดื่ม รวมถึงอากาศให้หายใจ

ขยะพลาสติกเหล่านั้นไปอยู่ในมหาสมุทรได้อย่างไร?

แม้ว่าขยะพลาสติกที่พบในมหาสมุทรมาจากบนบกและและเกิดขึ้นในมหาสมุทร ประมาณ 60-80% ขยะที่พบในมหาสมุทรมาจากบนบก และ 20%-40% มาจากอุปกรณ์ประมง

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่าอุปกรณ์ประมงที่สูญหาย หรือถูกทิ้งมีสัดส่วนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั้งหมด แหล่งข้อมูลอื่น ๆ แสดงให้เห็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นเล็กน้อย

แม้ว่าการประมาณการอาจแตกต่างกันไป แต่เห็นได้ชัดว่าขยะที่มาจากพื้นดินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษพลาสติกในมหาสมุทร ตามมาด้วยเศษอวนหรือที่เรียกกันว่า ghost gear (ชาวประมงอาจตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจทิ้งอวนจับปลาไว้ในมหาสมุทร) เมื่อเรารู้แล้วว่ามลพิษพลาสติกในมหาสมุทรมีความเป็นมาอย่างไรมันถึงเวลาแล้วที่เราต้องจัดการกับปัญหานี้อย่างรวดเร็ว

การเป็นมังสวิรัติช่วยปกป้องมหาสมุทรหรือไม่?

สารคดี Seaspiracy เป็นหนึ่งในสารคดีที่ตีแผ่ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในมหาสมุทร ในสารคดีพุ่งเป้าไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินมาเป็นมังสวิรัติเป็นทางออกเดียวที่จะปกป้องมหาสมุทรได้ การปรับพฤติกรรมการกินเป็นหนึ่งในหลายวิธีที่จะช่วยทำให้สุขภาพของเราและโลกดีขึ้น อย่างไรก็ตามการทานมังสวิรัติหรือไม่ทานปลาไม่ใช่ทางออกที่สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ และอาจมองได้ว่าเป็นการทำลายความมั่นคงทางอาหารและทำลายกลไกการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของซีกโลกใต้ ซึ่งอาจทำให้แยกได้ยากขึ้นระหว่างการทำประมงเพื่อยังชีพกับอุตสาหกรรมการประมง

แนวคิดการทานมังสวิรัติเพื่อยุติมลพิษที่กำลังเกิดขึ้นในมหาสมุทรเป็นการฉายให้เห็นภาพของปัญหาเพียงด้านเดียวเท่านั้น ปริมาณขยะพลาสติกในมหาสมุทรมีมากมายมหาศาล เศษอวนที่ก่อให้เกิดมลพิษนั้นเป็นแค่เศษเสี้ยวเดียวของปัญหาทั้งหมด การเก็บขยะริมชายหาดในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ไม่อาจแก้ไขมลพิษพลาสติกในมหาสมุทรได้ หลายรัฐบาลทั่วโลกมองเป็นภาพเดียวกันว่าหากต้องการยุติมลพิษพลาสติกที่เกิดขึ้นในมหาสมุทร การยุติขยะพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งจากทุกคนต่างหากที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

รัฐบาลสามารถเป็นส่วนหนึ่งเพื่อยุติมลพิษทางทะเลได้อย่างไรบ้าง?

เดือนพฤษภาคม 2564 รัฐบาลได้ประกาศผลิตภัณฑ์จากพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นพิษในหนึ่งบัญญัติของพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของแคนาดา (CEPA) นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับการแก้ปัญหาพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งของแคนาดา อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก รัฐบาลกลางกำหนดข้อบังคบในการจัดการ “รายการที่ผลิตด้วยพลาสติก” โดยจำกัดการใช้และการขนส่ง และจะครอบคลุมเพียงพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งแค่ 6 รายการเท่านั้น ไม่รวมพวกก้นบุหรี่และฝาปิดถ้วยเครื่องดื่มร้อน จากร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้ขยะพลาสติกครั้งเดียวทิ้งในแคนาดาลดลงเพียงแค่ 1% นั่นคือเหตุผลที่ทำไมกรีนพีซจึงมุ่งเน้นการลดขยะที่ต้นทางและสนับสนุนให้มีการนำระบบเติม (Refill) และการใช้ซ้ำ (Reuse) เพื่อลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การแก้ปัญหาที่ปลายทางอย่างการรีไซเคิล การใช้พลาสติกชีวภาพ การกักเก็บคาร์บอนล้วนเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน

เช่นเดียวกับมลพิษทางทะเล การจับปลาในมหาสมุทรไม่ใช่มลพิษทางทะเลแต่การทำอุตสาหกรรมประมงต่างหากที่ทำให้ระบบนิเวศทางทะเลถูกทำลาย สหประชาชาติตระหนักว่ามีมหาสมุทรมากถึง 64% ที่เป็นเขตปลอดสนธิสัญญาทะเลหลวง  นั่นคือเหตุผลที่เราต้องมีสนธิสัญญาทะเลหลวงซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรา สนธิสัญญาทะเลหลวงนี้จะครอบคลุมน่านน้ำสากลและนับเป็นเขตรักษามหาสมุทรอย่างน้อย 30% ภายในปี 2573 แคนาดาและอีก 22 ประเทศทั่วโลกร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศในการเจรจาสนธิสัญญาทะเลหลวงในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายพื้นที่คุ้มครองทางทะเล 30% ของสหประชาชาติทั่วโลกภายในปี 2573 

เราจะยุติมลพิษพลาสติกในมหาสุมทรได้อย่างไร?

ตอนนี้เราตระหนักถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรซึ่งมาจากมลพิษพลาสติกและอุตสาหกรรมประมงและจำเป็นต้องหยุดการเป็นส่วนหนึ่งของภัยคุกคามนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องเริ่มแก้ไขปัญหาที่ต้นตอเพื่อผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว เราต้องการให้รัฐบาลออกกฎหมายหรือข้อบังคับใช้ต่ออุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อหยุดการก่อมลพิษพลาสติก

มีการคาดการณ์ว่าหากเรายังไม่เริ่มแก้ไขปัญหาที่ต้นตออย่างจริงจัง ปริมาณพลาสติกในมหาสมุทรจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 90 ล้านตันภายในปี 2573 [5] ชัดเจนแล้วว่าเราไม่สามารถนิ่งเฉยกับปัญหาดังกล่าวได้อีกต่อไปเพื่อยุติมลพิษพลาสติกที่กำลังเกิดขึ้น การหยุดพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักในการผลิตพลาสติก เพราะไม่ว่าจะเป็นมลพิษพลาสติก หรือมลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดินหรือในมหาสมุทรล้วนเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เพื่อยุติวิกฤตสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลต้องหยุดแสร้งว่าการรีไซเคิลสามารถแก้ไขมลพิษพลาสติกได้ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องยุติการผลิตหรือบริโภคที่ก่อให้เกิดของเสีย ซึ่งเป็นอันตรายต่อโลกและอนาคตของพวกเรา!


[1] Geyer, R. (2020). Chapter 2 in: Plastic Waste and Recycling, Letcher T M (Ed.), Academic Press, Cambridge, MA, USA (March 2020) Production, use, and fate of synthetic polymers

[2] Jambeck, Geyer, et al. Plastic waste inputs from land into the ocean. Science347, 6223,  768–771 (2015) DOI: 10.1126/science.1260352

[3] Chiba S, Saito H, Fletcher R, Yogi T, Kayo M, Miyagi S, Ogido M, Fujikura K. Human footprint in the abyss: 30 year records of deep-sea plastic debris. Marine Policy 96, 204-212 (2018). doi:10.1016/j.marpol.2018.03.022

[4]  Lebreton, L., Slat, B., Ferrari, F., Sainte-Rose, B., Aitken, J., Marthouse, R., … & Noble, K. (2018). Evidence that the Great Pacific Garbage Patch is rapidly accumulating plastic. Scientific Reports, 8(1), 4666. Available at: https://www.nature.com/articles/s41598-018-22939-w.

[5]  Borrelle et al. Predicted growth in plastic waste exceeds efforts to mitigate plastic pollution. Science 369, 1515-1518 (2020).  DOI: 10.1126/science.aba3656