พลาสติกมันมีอยู่ในทุกช่วงเวลาของเรา ทุกวินาทีมีการใช้ขยะพลาสติกออกมาเยอะมาก ในขณะเดียวกัน ถึงจะมีผลการวิจัยต่าง ๆ มาว่าแต่ละปีมีขยะต้องกำจัดมากน้อยเเค่ไหน มนุษย์พยายามจะผลิตพลาสติกลดลง แต่ว่าสุดท้ายเเล้วขยะพลาสติกยังเป็นปัญหาที่จัดการได้ยากอยู่ เพราะเราก็ชินกับการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันไปแล้ว นอกจากนี้ มันไม่ใช่เป็นปัญหาที่กระทบเเค่คน เเต่ยังกระทบถึงสัตว์สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกใบนี้ด้วย

จุดเริ่มต้นความสนใจต่อปัญหาพลาสติก

ช่วงที่เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัย ก็เป็นคนไม่ค่อยใช้พลาสติกอยู่เเล้ว พอเราได้มาเรียนในสาขาระหว่างประเทศก็รับรู้เรื่องราวสิ่งเเวดล้อมระหว่างประเทศมากขึ้น จากการอ่านข่าวหลาย ๆ ปัญหา โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่ดูเหมือนไกลตัว เเต่จริง ๆ เเล้วมันใกล้ตัวกว่าที่คิด ปัญหาพลาสติกมันเป็น Subset จากปัญหาสิ่งแวดล้อม หากเราจะศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ต้องศึกษา subset ของปัญหานั้น ปัญหาพลาสติกเองก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่เจมส์เองก็ศึกษาข้อมูลด้วย พยายามจะปรับเเก้ที่ตัวเองด้วย ด้วยการลดพลาสติก

การขับเคลื่อนประเด็นปัญหามลพิษพลาสติก 

ในระดับปัจเจกหรือตัวเราเองด้วยกันเเล้ว การที่เราจะไปแก้ปัญหาที่โคตรใหญ่ขนาดนี้ ก็อาจจะต้องใช้เสียงค่อนข้างมาก อันดับเเรกที่เจมส์ทำคือลดการใช้พลาสติกลง เลือกใช้เท่าที่จำเป็น หรือนำกลับมาใช้อีก เช่นการเก็บถุงพลาสติกนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นสิ่งที่ทำทุกบ้านเลยมั้ย 5555 เเละเสียงของปัจเจกชนมันเล็ก เพราะฉะนั้นมันก็จำเป็นที่เราต้องเข้าร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เขารณรงค์อย่างเช่นกรีนพีซ เจมส์เองก็พยายามที่จะกระจายข้อมูลลงไปในเเพลตฟอร์มออนไลน์ ทวิตเตอร์ ไอจี เเละก็ร่วมลงชื่อสนับสนุน เพื่อให้เสียงของเราได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมของเราให้มันดังขึ้นไปอีก ทั้งระดับรัฐเอง หรือระดับระหว่างประเทศก็จะหันมาสนใจประเด็นนี้มากขึ้น 

จริง ๆ แล้วเราอาจจะมองว่าตัวเองเป็นปัจเจกเหมือนจะไม่สำคัญ เเต่ถ้าเรารวมตัวกันหลายคนก็เป็นภาคประชาสังคมที่เเข็งเเกร่ง ก็สามารถผลักดันนโยบายให้เปลี่ยนแปลงได้  เเละด้วยความที่เจมส์เองทำงานในสโมสรนักศึกษา เราก็สามารถทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมได้ อย่างการคัดเเยกขยะ เจมส์ก็พยายามใช้หน้าที่ของตัวเองผลักดันให้ได้มากขึ้น ถึงแม้อาจจะเปลี่ยนแปลงได้เเค่ในคณะ เเต่ก็เป็นจุดเล็ก ๆ ที่สามารถจุดประกายต่อไปในสังคมที่ใหญ่ขึ้นได้

นโยบายของภาครัฐกับการจัดการปัญหามลพิษพลาสติก

ช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา เจมส์ได้ไปเข้าร่วมการพิจารณานโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ เขาเปิดให้เยาวชนเข้าไปฟัง เเต่ที่เจมส์ฟังมาในด้านความมั่นคงของรัฐ มันไม่มีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมหรือปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) อยู่เลย ซึ่งมองว่าโคตรเป็นอะไรที่…รัฐควรหันมาให้ความสนใจมากขึ้นได้แล้ว ถึงเเม้เขาจะบอกว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในด้านอื่น เเต่จริงๆเเล้วปัญหานี้มันกระทบต่อความมั่นคงต่อรัฐ เรื่องของสิ่งเเวดล้อมถูกพูดถึงน้อยมาก ยิ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาพลาสติกหรือปัญหาเล็กย่อยต่าง ๆ เขาพูดแค่ในเชิงภาพรวมใหญ่ ๆ ที่เราไม่สามารถเห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมได้เลย ได้ฟังแค่เป็นนามธรรม อย่างเช่น สอนวิธีคัดเเยกขยะเฉย ๆ เเต่ก็ฝังกลบรวม ส่วนสิ่งที่ควรจะทำเลยก็เช่น คุณควรกำหนดกฏหมายเก็บภาษีจากโรงงานผลิตพลาสติกไปเลย ต้องไม่เกินเท่าไหร่ต่อปี ถ้าคุณมองประเด็นเรื่องขยะพลาสติกต้องกระทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ ภาครัฐเองก็ยังไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นประเด็นความมั่นคง ซึ่งความมั่นคงของเขาก็เก่ามาก อย่างเรื่องชายแดน ทหาร มันเป็นประเด็นค่อนข้างที่จะเชยไปแล้ว  

เหมือนภาครัฐผลักภาระนี้ให้ประชาชนซะเอง เจมส์ก็เห็นว่า CP มีเเคมเปญงดเเจกถุงพลาสติก เเต่จริง ๆแล้วก็เป็นเเค่การลดต้นทุนของนายทุนก็เเค่นั้น มันก็คือการฟอกเขียวเฉย ๆ จริง ๆ มันควรไปเริ่มเเก้ตั้งเเต่โครงสร้าง กำหนดมาตรการภาษีไปเลย ใช้เป็นเเรงจูงใจให้ทั้งรัฐ เอกชน สังคมลดการผลิตลง หรือใช้พลาสติกให้น้อยลง ทำให้ชัดเจนเลย

เจมส์คุงทิ้งท้ายว่า “ประเด็นพลาสติกหรือประเด็นสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเรา มันแทบจะอยู่ทุกช่วงเวลาในชีวิตประจำวันเรา เเต่คนมักมองข้ามปัญหาขยะพลาสติก เพราะคิดว่าตอนนี้มันสะดวกสบาย เเต่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคตกันเลย อยากให้มองย้อนกลับมาที่ตัวเองว่า คุณพยายามที่จะลดการใช้แล้วหรือยัง คุณพยายามที่จะใช้เสียงของตัวเองให้ภาครัฐได้ยินไหม ควรลดความเห็นแก่ตัว เเล้วก็ใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้มากกว่านี้ ไม่เพียงแค่สังคมไทย แต่รวมไปถึงสังคมโลก

เจมส์คุง อรรถพล พวงสกุล นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์

อ่านเรื่องราวปัญหามลพิษพลาสติก กับบทบาทของผู้ผลิตที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมได้ที่นี่ 
#BreakFreeFromPlastic
#TheStoryOfPlastic