Break Free From Plastic

รูป #BreakFreeFromPlastic จากฝาขวดน้ำในระหว่างกิจกรรมการสำรวจแบรนด์โดยกรีนพีซ ประเทศไทยที่ชายหาดวอนนภา ประเทศไทย

รู้หรือไม่ว่าเราสร้างขยะจากการแกะห่อของขวัญในช่วงเทศกาล เช่น เทศกาลคริสต์มาส เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เยอะมาก เราโยนบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งลงในถังขยะด้วยความหวังที่ว่าพวกมันคงถูกรีไซเคิล และไม่กลายเป็นมลพิษขยะพลาสติกในมหาสมุทร

แต่จริงๆแล้ว ขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งในปริมาณมหาศาลไม่ได้ถูกรีไซเคิลทั้งหมด เรารีไซเคิลขยะเหล่านี้ได้เพียงร้อยละ 9 เท่านั้นและส่วนที่เหลืออีกจำนวนมากก็หลุดรอดไหลลงมหาสมุทรไป ขยะพลาสติกปริมาณเท่าคันรถบรรทุกไหลลงสู่มหาสมุทรทุกวินาที ขยะพลาสติกทั้งหมดเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลและแน่นอนว่ามันได้ปนเปื้อนไปอยู่ในห่วงโซ่อาหารซีฟู้ดทั่วโลก อย่างไรก็ดีบริษัทต่างๆยังคงพยายามผลักความรับผิดชอบในการจัดการขยะมาที่ผู้บริโภค เพื่อที่พวกเขาจะได้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีราคาถูกต่อไปได้

พวกเขาย้ำเสมอว่า “เราต้องรีไซเคิลเพิ่ม” และ “ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง”

อย่างไรก็ดีในปีนี้ (พ.ศ.2561) ผู้บริโภคเริ่มตื่นตัวและกล้าที่จะเรียกร้องให้หยุดวงจรนี้ อีกทั้งยังเป็นปีที่ผู้คนทั่วโลกเข้าใจว่าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งไม่ใช่สิ่งอำนวยความสะดวกสบายแต่เป็นปัญหา ปีนี้เป็นปีที่ความรับผิดชอบในการสร้างขยะพลาสติกถูกตั้งคำถามกลับไปถึงบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ล้นเกินจนกลายเป็นมลพิษ การสื่อสารว่านี้ไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้บริโภคกลุ่มเดียวเท่านั้นแต่เป็นความรับผิดชอบของบริษัทผู้ผลิตด้วย

Plastics Pollution

นักดำน้ำกรีนพีซ ทาวิช แคมป์เบล ถือป้ายผ้า “โคคา – โคล่า นี่ขยะของคุณหรือเปล่า?” และถือขวดพลาสติกโค้กที่ลอยปะปนกับขยะอื่นๆของแพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิก แม้กระทั่งในมหาสมุทรที่ไกลจากฝั่งถึงหลายพันกิโลเมตรแต่เราก็ยังพบขยะพลาสติก

ด้วยพลังของผู้บริโภคทำให้บริษัทใหญ่ๆอย่างโครเกอร์ แม็คโดนัลด์ สตาร์บัคส์ และ เอรามาร์ก เริ่มให้คำมั่นสัญญาในการลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และในขณะที่หลายบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่ใส่ใจเกี่ยวกับปัญหานี้ ผู้คนกลับเริ่มตระหนักและพูดถึงประเด็นขยะพลาสติก เน้นย้ำถึงอายุการใช้งานของบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้ที่เราใช้มันเพียงไม่กี่นาทีแล้วทิ้งแต่จริงๆแล้วพวกมันจะปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานพอๆกับอายุของมนุษย์เรา ตอนนี้แบรนด์หลายๆที่เริ่มหยุดการใช้หลอดพลาสติกแล้ว ซึ่งเรามองว่าการณรงค์เกี่ยวกับหลอดพลาสติกเป็นจุดเริ่มต้นของการหยุดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวอย่างจริงจัง

เพราะการรณรงค์ลดใช้หลอดพลาสติกเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเล็กๆ แท้จริงแล้วยังมีปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น เราควรผลักดันให้หยุดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งในทุกรูปแบบ

ถึงเวลาแล้วที่กลุ่มบริษัทในกลุ่มประเทศซีกโลกเหนือจะต้องหยุดการสร้างมลพิษในประเทศกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ด้วยวัฏจักรพลาสติกที่ไม่จบสิ้น ปัญหาขยะพลาสติกยังเกี่ยวข้องกับประเด็นความเป็นธรรมอีกด้วยเพราะ ประเทศที่มีรายได้น้อยมักจะถูกกระทบจากความโลภของบริษัทใหญ่ ตั้งแต่การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการผลิตพลาสติก และในปี พ.ศ. 2562 บริษัทใหญ่ๆอย่าง โคคา – โคล่า เป๊ปซี่ ยูนิลีเวอร์ พร็อกเตอร์แอนด์แกมเบิล และเนสท์เล่ ต้องให้คำมั่นสัญญาที่จะหยุดการทิ้งขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างเป็นรูปธรรม พวกเราต่างรู้ดีว่าการบวนการการรีไซเคิลเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาใหญ่นี้เลย

จำนวนพลาสติกบนโลกใบนี้จะต้องลดลง

Plastics Pollution

ขยะพลาสติกถูกพบอยู่ในท้องของลูกนกทะเลที่ตายแล้ว พ่อแม่ของนกคิดว่าขยะเหล่านี้คืออาหารจึงคาบมาป้อนให้ลูกนก

การแก้ไขปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกมีความสำคัญหลากหลายประการเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเพราะความกังวลต่อเต่าทะเลกับหลอดพลาสติกที่ติดอยู่ในจมูก ไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่ม พลาสติกไมโครไฟเบอร์ในอากาศที่เราหายใจ ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกไปในระหว่างกระบวนการผลิตพลาสติก หรือความจริงที่ว่าพลาสติกคือสิ่งที่ต่อชีวิตให้กับอุตสาหกรรมฟอสซิล แต่สิ่งสำคัญข้อหนึ่งที่ชัดเจนก็คือเราต้องหยุดใช้มันเพื่อยุติยุคของพลาสติก

นอกจากนี้ พวกเราต่างเกี่ยวข้องกับพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเนื่องจากวัฒนธรรมบริโภคนิยม แบรนด์ใหญ่ๆต้องการให้เราซื้อสินค้า ใช้สินค้าอย่างรวดเร็วแล้วทิ้ง หลังจากทิ้งก็ซื้อสินค้าใหม่เพิ่ม ปัญหาของห่วงโซ่นี้คือเราไม่สามารถ “ทิ้ง” ขยะหรือสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วได้จริงๆผลที่ตามมาก็คือมลพิษจากขยะพลาสติกที่จะคงอยู่ต่อไป

พลาสติกจะแตกตัวเป็นพลาสติกขนาดจิ๋วหรือไมโครพลาสติก (แม้กระทั่งไมโครบีดส์เองก็คือไมโครพลาสติกเช่นกัน) สัตว์ทะเลก็จะกินไมโครพลาสติกเหล่านี้และหลังจากนั้นก็เป็นพวกเราเองที่กินสัตว์ทะเลปนเปื้อนไมโครพลาสติกอีกที วัฒนธรรมบริโภคนิยมของบริษัทใหญ่กำลังทำลายโลกและทำลายสุขภาพของเรา

Plastics Pollution

จอห์น โฮเชวา จากกรีนพีซสหรัฐอเมริกา ยืนอยู่ในเกาะคาโฮโอลาเว ในรัฐฮาวาย แม้ในสถานที่ที่ได้รับความคุ้มครองแต่เราก็พบขยะพลาสติกจำนวนเป็นตันบริเวณชายฝั่ง

ในฤดูแห่งการท่องเที่ยวนี้เรากำลังคิดถึงการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า (พ.ศ.2562) ใครหลายคนอาจกำลังคิดถึงวิธีที่จะเดินหน้าหยุดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่อยากฝากไว้เรากำลังวางแผนที่จะเรียกร้องให้แบรนด์ใหญ่หยุดสร้างขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างเป็นทางการ

เคธ เมลเกส ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซสหรัฐอเมริกา