32 ปีก่อนหน้านี้ อุบัติเหตุนิวเคลียร์กลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เกิดการปนเปื้อนพื้นที่ขนาดใหญ่ในทวีปยุโรป คนรุ่นปัจจุบันอาจไม่สามารถจำได้ ผักโขมและผักสีเขียวอื่นๆ ต้องถูกทำลายในหลายประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี วัวทั่วยุโรปต้องถูกกักไว้ในคอก และต้องยกเลิกการบริโภคนม เป็นเวลามากกว่าสองทศวรรษที่กวางขนาดใหญ่จำนวนมากในแลปแลนด์ แกะในเลคดิสทริคของประเทศอังกฤษ และหมูป่าในแทบชวาร์ซวาลด์ ของประเทศเยอรมนี ต้องถูกฆ่าทิ้งเนื่องจากมีการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่สูงเกินไป ในหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบสูงสุดคือ ประเทศเบลารุส ยูเครน และรัสเซีย พื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตรยังคงเป็นพิษอยู่เกินที่จะมีผู้คนกลับเข้ามาอยู่ได้ และผู้คนอีกหลายล้านคนในบริเวณห่างออกไปยังคงต้องระมัดระวังเพื่อใช้ชีวิตประจำวันอยู่เพราะอาจเสี่ยงกับสารปนเปื้อน

เพียงเมื่อปีที่ผ่านมานี้เอง ณ สถานที่เกิดเหตุภัยพิบัติ ที่กลุ่มคนจากนานาประเทศสามารถจำกัดบริเวณที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิดออกมาได้ ซึ่งหมายความว่าเราจะสามารถทำความสะอาดรังสีที่ตกค้างของนิวเคลียร์ในบริเวณนั้นได้ แต่จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีที่ในตอนนั้นยังไม่มีการพัฒนาขึ้น ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2529 เราทราบจากประสบการณ์ตรงว่าพลังงานนิวเคลียร์นั้น มาพร้อมกับความเสี่ยงขั้นรุนแรง

นักกิจกรรมกรีนพีซ ถือแบนเนอร์เพื่อคัดค้านแผนโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำใน เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก

เมื่อ 7 ปีก่อน ภัยพิบัติฟุกุชิมะแสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงนี้ยังคงมีอยู่ในทุกๆที่ และตราบเท่าที่มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์อยู่ บทเรียนที่มีชื่อเสียงจากภัยพิบัติครั้งนี้ ซึ่งคือการ “คิดในสิ่งที่คิดไม่ถึง” ถูกกล่าวถึงในสื่อสิ่งพิมพ์มากมาย รวมทั้งจากภาคส่วนนิวเคลียร์เองด้วย

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำ? แน่ใจหรือ?

เครื่องสังเวยนิวเคลียร์โรซาตอม ของประเทศรัสเซีย วางแผนที่จะย้ายเข้าไปอยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำแห่งแรกของโลก มีชื่อว่า อาคาดีมิค โลโมโนซอฟ (Akademik Lomonosov)  เพื่อการเตรียมพร้อมหลังจากนี้ จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ผ่านทะเลบอลติก ไปยังบริเวณประเทศนอร์เวย์ถึงเมืองเมอร์มันสค์ โดยจะถูกบรรจุไปด้วยเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และได้รับการทดสอบในระยะห่างเพียงไม่กี่กิโลเมตรจากชาวเมอร์มันสค์ร่วม 300,000 คน

ในตอนแรก โรซาตอม วางแผนที่จะขนย้ายเชื้อเพลิงและทดสอบ อาคาดีมิค โลโมโนซอฟ ที่อยู่ในอู่ต่อเรือบาลทิสกี อยู่แล้ว ณ ใจกลาง เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ห่างจากโบสถ์เซนท์ไอแซคไป 2.3 กิโลเมตร

จะมีอะไรผิดพลาดได้?

ก่อนหน้านี้มีคำพูดกระอึกกระอักของ เรสทิคนาดซอร์ ผู้วางระเบียบเรื่องนิวเคลียร์ชาวรัสเซียออกมาบ้าง แต่เนื่องจากช่องโหว่ในกฎหมายนิวเคลียร์  มันเคยเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก่อนที่จะมาจอดในเมืองปิเวค แต่เป็นเพียงเรือบรรทุกลำเลียง ที่ยังไม่มีการเข้าถึงการตรวจสอบอย่างครบครัน หรืออาณัติให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ มีเพียงคำร้องของพลเมืองชาวเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 12,000 คน คำถามในการประชุมด้านกฎหมายของเมือง และถือเป็นเรื่องใหญ่อันน่ากังวลจากประเทศต่างๆทั่วทะเลบอลติก คือการขนส่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สองเครื่องที่เต็มไปด้วยเชื้อเพลิงที่ถูกฉายรังสีไปแล้ว รวมถึงการที่ไม่มีระบบขับเคลื่อนของตัวเองไปตามชายฝั่งที่เต็มไปด้วยหิน ทำให้โรซาตอมตระหนักถึงอะไรบางอย่าง เพราะฉะนั้นตอนนี้เชื้อเพลิงจะถูกส่งไปยัง เมอร์มันสค์ โดยทางรถไฟแทน

อาคาดีมิค โลโมโนซอฟ จะถูกลากออกจากเมอร์มันสค์ไป 5,000 กิโลเมตร ในขณะที่กำลังบรรทุกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อยู่ พร้อมกับเชื้อเพลิงที่ผ่านการทดสอบแล้ว) ผ่านเส้นทางทะเลเหนือ (Northern Sea) ไปยังท่าเรือเล็ก ๆ ของเมืองปิเวค ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองชูโคตา ซึ่งขณะนี้เส้นทางนี้ได้กลายเป็นทะเลที่ปราศจากน้ำแข็งเนื่องจากวิกฤตโลกร้อน

ในเมืองปิเวค เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีหน้าที่รองรับประชากรประมาณ 5,000 คน และท่าเรือ รวมไปถึงเหมืองถ่านหินต่างๆ ขนาด 70 เมกะวัตต์

ไม่เพียงเท่านั้น อาคาดีมิค โลโมโนซอฟ ยังจะเป็นกองเรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำกองแรกที่จะตั้งฐานอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก ใกล้กับรัสเซีย โรซาตอมเพิ่งจะได้รับคำสั่งให้บริหารจัดการการเดินเรือทั้งหมดและการพัฒนาตลอดเส้นทางทะเลเหนือ เพื่อเป็นการปูทางการแสวงหาประโยชน์แผนใหญ่ ในบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกของประเทศรัสเซีย ซึ่งอาจจะเป็น น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำเหล่านี้จำเป็นต้องจัดส่งพลังงาน ขุดหาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอำนาจทำลายล้างต่อสภาพอากาศขึ้นมาเพิ่มอีก

จากตรงนั้น วิศวกรของโรซาตอม ได้เสนอให้สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ พัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการกลั่นน้ำทะเลในส่วนอื่นๆ ของโลกตั้งแต่ปี 2538 ลองนึกถึงเกาะห่างไกลในประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ประเทศจีนเองก็ยังตั้งใจที่จะใช้สิ่งนี้บนเกาะห่างไกลกลางทะเล

หากการพัฒนานี้ไม่ถูกสะกัดไว้ ภัยพิบัตินิวเคลียร์ครั้งต่อไปอาจจะเป็นเชอร์โนบิลบนน้ำแข็ง หรือเชอร์โนบิลบนโขดหินก็เป็นได้

[1] โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บนเรือแห่งแรกของโลก ยูเอส สเตอร์กิส หรือ MH-1A ไม่ได้ออกแบบมาเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว มันเป็นเรือ ลิเบอร์ตี้ หรือเรือบรรทุกสินค้าอเมริกา ที่มีการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์ และมันไม่นับว่าเป็นความสำเร็จที่แท้จริง มันทำหน้าที่อยู่เพียง 7 ปีในเขตคลองปานามา แล้วจึงถูกเก็บไว้เฉยๆ ถูกพังเสียหายโดยพายุ เก็บสำรองไว้และถูกลืมไปเสียส่วนใหญ่ เป็นเวลา 38 ปี โดยขณะนี้กำลังถูกรื้ออยู่ที่เมือง กัลเวสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

ราชิด อาลิมอฟ ผู้ประสานงานรณรงค์ยุตินิวเคลียร์ของ กรีนพีซรัสเซีย
ยอน ฮาเวอร์คอมพ์ ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานนิวเคลียร์ จาก กรีนพีซยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออก

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านบทความต้นฉบับได้ที่นี่

Comments

Leave your reply