เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2497 บนเกาะบิกินี่ อะทอลล์ (Bikini Atoll) เกาะที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ เป็นเกาะที่กองทัพสหรัฐได้ปล่อยระเบิดไฮโดรเจนลูกแรกของโลก ซึ่งมีอานุภาพรุนแรงกว่าระเบิดที่ฮิโรชิมะและนางาซากิกว่าพันเท่า กัมมันตรังสีถูกพัดพาลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทำให้ประชาชนของเกาะ Rongelap และ Utirik และลูกเรือ Fukuryu Maru ถูกอาบรังสี

ชาวเกาะและลูกเรือประมงต้องทุกข์ทนการเจ็บป่วยที่เกิดจากรังสีเช่น ผมร่วง และผิวหนังลอก Aikichi Kuboyama หนึ่งในลูกเรือ ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลฮิโรชิมะหลังจากหกเดือนที่ถูกอาบด้วยกัมมนตภาพรังสี เด็ก ๆ บนเกาะล้วนได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพตลอดชีวิตรวมถึงโรคมะเร็ง และส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ลูกเรือ Lucky Dragon ได้รับสารกัมมันตรังสีถึง 3-5 ซีเวิร์ต (sievert)

การได้รับสารกัมมันตรังสีปริมาณเพียงแค่ 1 ซีเวิร์ต (sievert) ก็สามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยจากรังสีซึ่งจะนำไปสู่โรคมะเร็งและการเสียชีวิต แต่ในระดับ 5 ซีเวิร์ต (sievert) นั้นสามารถคร่าชีวิตคนที่สัมผัสกับสารกัมมันภาพรังสีได้ภายแค่ในเดือนเดียว ยกตัวอย่าง เช่น คนงานที่เสียชีวิตที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลภายในไม่กี่สัปดาห์แรกหลังจากการสัมผัส และในปริมาณ 10 ซีเวิร์ต (sievert) สามารถฆ่ามนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เหยื่อจากระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากินั้นได้รับปริมาณสารกัมมันตภาพรังสีถึง 150 ซีเวิร์ต (sievert) ซึ่งแม้แต่จุลินทรีย์ก็เสียชีวิต

การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ Castle Bravo บนเกาะบิกินี่ อะทอลล์

ปัจจุบันนี้ ภายในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟูกูชิมะที่ชำรุด แกนนิวเคลียร์ที่หลอมละลายปล่อยรังสีออกมาเป็นปริมาณถึง 530 ซีเวิร์ต (sievert) ต่อชั่วโมง ซึ่งปริมาณนี้เพียงพอที่จะฆ่ามนุษย์ในทันทีทันใดและละลายอุปกรณ์จักรกลที่ทำมาจากเหล็กกล้าภายในระยะเวลาแค่สองชั่วโมงเท่านั้น

ความหมายของ “การล่มสลาย”

เมื่อเราได้ยินคำว่า “การล่มสลายของสังคมอุตสาหกรรม” บางคนอาจจะนึกถึงภาพวันโลกาวินาศหรือภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่เกี่ยวกับวันโลกแตก แต่การล่มสลายของสังคมเช่น ในกรุงโรม เมโสโปเตเมียหรือราปานุย (Rapa Nui) ชื่อดั้งเดิมของเกาะอีสเตอร์ (Easter Island) ไม่ได้เป็นเช่นนั้น  “การล่มสลาย” ของสังคมที่ซับซ้อนมักเกี่ยวข้องกับการเสื่อมของที่อยู่อาศัยของระบบนิเวศซึ่งอาจใช้เวลาหลายศตวรรษ ดังนั้น  “การล่มสลายของสังคม” แท้จริงแล้วมีลักษณะอย่างไร?

James Kunstler เรียกการล่มสลายของสังคมอุตสาหกรรมนี้ว่าเป็น “ภาวะฉุกเฉินที่ยาวนาน” ซึ่งเป็นกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงความไม่สม่ำเสมอมาหลายชั่วอายุคน ความขัดแย้งทางสังคมบางอย่างที่มีให้เราเห็นในปัจจุบัน เช่น วิกฤติการธนาคาร สงคราม ผู้ลี้ภัย การเหยียดผิว สามารถแสดงถึงระยะเริ่มต้นของการล่มสลายอันยาวนานที่เกิดจากระบบนิเวศ Dmitry Orlov นักเขียนชาวรัสเซียได้อธิบายถึงห้าระยะของการล่มสลาย: การเงิน การค้า การเมือง สังคม และท้ายสุดคือวัฒนธรรม แต่เมื่อชีวิตยังไม่สิ้น ชุมชนจึงได้แสวงหาทางเลือกอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนเงิน ตลาดล้มเหลว ความศรัทธาในตัวรัฐบาลหายไป ความเชื่อมั่นในตัวเพื่อนบ้านกัดกร่อน และประชาชนสูญเสียความเชื่อมั่นในความประพฤติที่ถูกตามทำนองคลองธรรม

ด็อกเตอร์ Joseph Tainter ศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของมหาวิทยาลัยยูทาห์ (Utah State University) ได้อธิบายการล่มสลายว่าเป็น “การทำให้ง่ายลง” ของสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกระบวนการของสังคมที่เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น “เพื่อให้เข้าใจถึงคำว่าการล่มสลาย”เราต้องเข้าใจความซับซ้อนก่อนเป็นอันดับแรก” เขาอธิบายเพิ่มเติม

มีหลายสังคมที่พัฒนาทางออกที่ซับซ้อนเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นโดยพัฒนามาจากข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม แต่ในท้ายที่สุดผลประโยชน์ส่วนเพิ่มของทางออกเหล่านี้ที่ถูกปฏิเสธ พิจารณาจากน้ำมัน การรุกล้ำทางทหาร หรือพลังงานนิวเคลียร์ที่กลายเป็นปัญหามากกว่าทางออก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่ไม่ได้เจตนา เนื่องจากการแก้ปัญหาด้านเทคนิคประสบกับชีวกายภาพที่จำกัด บวกกับการลงทุนที่นำไปสู่ผลประโยชน์ที่น้อยลง จนถึงกระนั้นสังคมจึงเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติ เช่น ภาวะโลกร้อน การเกิดสงคราม หรือภัยจากกัมมันตภาพรังสี

ตามที่ Tainter ได้กล่าวไว้ถึงการล่มสลายของสังคม เมื่อมูลค่าความซับซ้อนด้านเทคนิคมีราคาสูงกว่าผลประโยชน์ ความเข้าใจเรื่องการล่มสลายทางสังคมนี้สอดคล้องกับสภาพความสับสนวุ่นวายที่กำลังเกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งฟุกุชิมะ

ต้นทุนของสังคม

TEPCO บริษัทที่ผลิตเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในฟุกุชิมะ เลือกที่จะเพิกเฉยต่อเสียงคำเตือนที่มาจากผู้คนในและนอกบริษัทถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เป็นเพราะว่าระบบและมาตรการการป้องกันมีราคาแพงเกินไป ด้วยเหตุนี้อุบัติภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในปีพ.ศ. 2554 จึงได้ทำลายระบบหล่อเย็นของโรงงานและทำให้เกิดการหลอมละลายของแกนในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสามเครื่อง

หกปีหลังจากเกิดหายนะภัย แกนของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยังคงหลอมละลายลงไปในชั้นของพื้นหินและระดับของกัมมันตภาพรังสียังคงมีความรุนแรงมากจนแม้แต่หุ่นยนต์ที่นำมาใช้ระบุตำแหน่งของแท่งเชื้อเพลิงไม่สามารถทนได้ การกำจัดแท่งเชื้อเพลิงได้ถูกกำหนดไว้ในปีพ.ศ. 2558 เพราะความล่าช้า การกำจัดถูกจึงถูกเลื่อนออกไปเป็นปีพ.ศ. 2560 แต่การกำจัดเกิดความล่าช้าอีกครั้งและในตอนนี้ยังไม่มีวี่แววของช่วงระยะเวลาที่แน่นอนในการกำจัดแท่งเชื้อเพลิงนี้ ในขณะที่น้ำท่วมที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีได้ถูกพัดพาลงไปในมหาสมุทรแปซิฟิก 300 ตันต่อวัน

การประมาณมูลค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีรังสีนั้นเพิ่มขึ้นหลายพันล้านยูโรในแต่ละปี และการปลดระวางจะใช้เวลาประมาณ 40 ปี ในเดือนธันวาคมปีพ.ศ. 2559 รัฐบาลญี่ปุ่นได้แถลงถึงค่าใช้จ่ายในการปลดระวางโรงไฟฟ้าและโรงเก็บกากกัมมันตภาพรังสี หากสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การปฏิบัตการครั้งนี้จะมีมูลค่าเกินกว่า 21 ล้านล้านเยน (เท่ากับ หนึ่งแสนแปดหมื่นล้านปอนด์ และสองแสนล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งราคานี้ยังไม่รวมถึงภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นก่อนปีพ.ศ. 2593 อีกด้วย

บริษัท TEPCO อาจจะล้มละลายก่อนที่พวกเขาจะจ่ายค่าดำเนินการ ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี นั่นหมายความว่าประชาชนจะต้องจ่ายเงินให้กับค่าฟื้นฟูนี้ เช่นเดียวการที่รัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือธนาคารหลังจากการล่มสลายทางเศรษฐกิจครั้งล่าสุด การแปรรูปผลกำไรส่วนตัวให้เป็นค่าใช้จ่ายของสังคม คือนโยบายหลักของบริษัทขนาดใหญ่ที่ทันสมัย

การแก้ปัญหาด้านพลังงานนิวเคลียร์ต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นกลายเป็นหลุมดำทางเทคนิคและทางการเงินขนาดใหญ่ที่มีผลตอบแทนติดลบ และการนำทรัพยากรที่ขาดแคลนจากชุมชนที่ดิ้นรนนำมาใช้ นี่คือลักษณะของการล่มสลายทางอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในโลกของเราในปัจจุบัน

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นถึงความเสียหายของเตาปฏิกรณ์ที่ 1 ของโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2554

ผู้เคราะห์ร้าย

ประชาชนที่มีฐานะอาจจะยังไม่สังเกตเห็นการล่มสลายในช่วงระยะแรก เนื่องจากผู้เคราะห์ร้ายรายแรกเป็นคนยากจน การหลอมละลายของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะทำให้ผู้คนกว่า 150,000 คน ต้องย้ายที่อยู่อาศัย กว่า 1,600 คน เสียชีวิตระหว่างอพยพและผู้ที่รอดชีวิตต้องอาศัยอยู่ในค่ายอพยพชั่วคราวที่มีการจัดสรรอาหารและเสบียงอาหารอย่างไม่เพียงพอ หลายครอบครัวได้ละทิ้งบ้านเกิดของพวกเขา ความฝันที่มีอยู่กลับแตกสลาย ช่วงเวลาการเรียนรู้และเติบโตของเด็กถูกทำลาย ครอบครัวแตกแยก และกิจการขนาดเล็กสูญหายไปตลอดกาล

ในสังคมญี่ปุ่น ผู้หญิงและเด็ก ๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายและความเสี่ยงสูงเนื่องจาก “ความเหลื่อมล้ำทางเพศ”  Kendra Ulrich เขียนไว้ในบทความของเขาเรื่อง “ผลกระทบที่ไม่เท่ากัน” ในระหว่าง 34 ประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความแตกต่างด้านค่าจ้างแรงงานระหว่างเพศ เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีใต้และเอสโตเนีย หลังจากหายนะภัยนิวเคลียร์ แม่เลี้ยงเดี่ยวต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านการเงินและสังคมในการฟื้นตัว สารกัมมันตภาพรังสีทำให้ทารกในครรภ์และเด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านสุขภาพมากที่สุดภายในอนาคต

ช่วงปีที่ผ่านมา ชายวัย 77 ปี ชื่อ Ichiro Tagawa ได้กลับมายังหมู่บ้านนามิเอะ หมู่บ้านที่เขาเคยอาศัยอยู่ และเขากลับมาเปิดร้านซ่อมจักรยานที่เป็นอาชีพหลักของครอบครัวของเขามาถึง 80 ปี เขาได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของ New York Times ว่า “ฉันไม่ค่อยกังวลกับระดับของสารกัมมันตรังสีเท่าไหร่ เพราะว่าฉันแก่มากแล้ว”

เทคนิคการวาดภาพด้วยแสงพิเศษแสดงให้เห็นถึงการปนเปื้อนของสารกัมมันภาพตรังสีในจังหวัดฟุกุชิมะ

เพื่อประหยัดงบ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศให้บางเมืองที่อยู่ใกล้เมืองฟุกุชิมะว่าเป็นเมืองที่ “ปลอดภัย” โดยการเพิ่มค่าขีดกำจัดของการแผ่รังสีและหลังจากนั้นได้ยกเลิกการจัดที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้แก่ผู้อพยพ และยืนยันให้ประชาชนเดินทางกลับไปหมู่บ้านที่ “ปลอดภัย” การส่งประชาชนกลับไปสู่สภาพแวดล้อมนั้นเหมือนกับเป็นการฆาตกรรมแบบสุ่ม ที่บางคนอาจจะเป็นโรคมะเร็งและเสียชีวิตจากการได้รับสารกัมมันตภาพรังสี

การทุจริตและการปกปิดกลายเป็นเรื่องปกติของบริษัท TEPCO และอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ รัฐบาลญี่ปุ่นและบริษัท TEPCO ยังเพิ่มขีดจำกัดของระดับความปลอดภัยของการแผ่รังสีให้กับพนักงานในโรงงานประมาณ 700 เท่า และสั่งให้นักวิทยาศาสตร์หยุดการตรวจสอบระดับสารกัมมันตภาพรังสีในบางพื้นที่ของโรงงานแม้ว่าจะมีค่าเกินมาตรฐาน จากหนังสือของ Tomohiko Suzuki เรื่อง ยากูซ่าและพลังงานนิวเคลียร์ ผู้รับเหมาของบริษัท TEPCO จ่ายสินบนให้กับแกงค์ยากูซ่าซึ่งเป็นอาชญากรในญี่ปุ่นในการเก็บสัญญาก่อสร้าง และแกงค์ยากูซ่าจะจ่ายเงินให้กับนักการเมืองและสื่อต่างๆให้ปิดปาก คนงานที่ถูกหลอกล่อให้เข้าไปยังโรงงานรวมทั้ง คนจรจัด ผู้ป่วยจิตเวท ผู้อพยพผิดกฎหมาย และอดีตยากูซ่าที่เป็นเจ้าหนี้

อุตสาหกรรมอันตราย

เรื่องราวของการผลิตพลังงานจากนิวเคลียร์ได้เริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2493 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน เริ่มการก่อสร้างคลังแสง แต่การสร้างคลังแสงพลูโตเนียมเป็นสิ่งที่จำเป็นมากกว่ากองกำลังทหารของพวกเขา การศึกษาของคณะกรรมการพลังงานปรมาณูของสหรัฐฯได้ข้อสรุปว่าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เชิงพาณิชย์เพื่อการใช้พลังงานอย่างเดียวนั้นไม่สามารถเป็นไปได้ในแนวทางเศรษฐกิจเนื่องจากต้นทุนและความเสี่ยง ดอกเตอร์ Charles Thomas ผู้บริหารของบริษัทมอนซานโต เสนอแนวทางแก้ไขคือ “เตาปฏิกรณ์อเนกประสงค์” ซึ่งจะผลิตพลูโตเนียมสำหรับใช้ในทางการทหารและพลังงานไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์

บริษัทได้รับประโยชน์จากการค้าสองทาง ในขณะที่สาธารณชนเป็นฝ่ายรับผิดชอบในการวิจัยโครงสร้างพื้นฐานและความเสี่ยง: การแปรรูปผลกำไร วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของอุตสาหกรรม “พลังงานนิวเคลียร์” คือการจัดหาพลูโทเนียมสำหรับอาวุธและกำไรให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง

อุตสาหกรรมที่อันตรายนี้ได้กลายเป็นพื้นที่มรณะและรกร้างเกือบทั่วทุกมุมโลก เช่น สถานที่เก็บอาวุธนิวเคลียร์ Hanford ในสหรัฐอเมริกา โรงงานแปรรูปชื่อ Acerinox ในสเปน พื้นที่ทดสอบอาวุธ ในคาซัคสถาน เหมืองแร่ยูเรเนียมของบริษัท Zapadnyi ในคีร์กีซสถาน และเหมืองแร่ยูเรเนียมอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน โรงงานที่หยุดการทำงานกากขยะนิวเคลียร์ และภัยพิบัติเช่นฟุกุชิมะและเชอร์โนบิล

ไม่มีใครทราบเลยว่ามีกี่คนที่เสียชีวิตจากหายนะภัยโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เชอร์โนบิล สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซียประเมินไว้อยู่ที่ 200,000 คน ส่วนคณะกรรมการระดับชาติของยูเครนประมาณประเมินจำนวนตัวเลขไวที่ 500,000 คนที่เสียชีวิตจากผลกระทบต่อสุขภาพของการแผ่กัมมันตภาพรังสี

รองเท้าของนักเรียนอนุบาลที่ถูกทิ้งไว้ที่โรงเรียนอนุบาลในเมือง Pripyat ประเทศยูเครน

ในปี พ.ศ. 2526 สถานีโทรทัศน์ยอร์กเชียร์เปิดเผยว่าในหมู่บ้าน Seascale ที่ใกล้กับพื้นที่นิวเคลียร์ของ Sellafield / Windscale เด็กที่ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่า พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นที่อันตรายที่มีการรั่วไหลของ พลูโตเนียม-24, อะเมริเซียม-241 และซีเซียม-137 เข้าสู่สภาพแวดล้อมโดยรอบและการใช้พลูโทเนียมเป็นระเบิดในโลกของการเมือง ตามการรายงานของ BBC ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดตอนนี้ตกอยู่ประมาณ 7 หมื่นล้านปอนด์และเพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกปี ขณะที่บริษัทหรือสมาคมที่เกี่ยวข้องยังคงสามารถหารายได้ให้กับบริษัทได้แต่ไม่สามารถทำให้เกิดความคืบหน้าในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดครั้งนี้ใช้งบประมาณของรัฐบาลอังกฤษที่ไว้ใช้สำหรับ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ตั้งแต่พลังงานนิวเคลียร์เคยได้รับการพิจารณาว่าเป็นทางออกสำหรับการปล่อยก๊าซคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

ในเดือนกุมภาพันธ์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ EDF Flamanville ในประเทศฝรั่งเศส ที่ใช้งบประมาณเกินถึงสามเท่าและเกิดความล่าช้าไปหนึ่งเดือน ได้ปิดทำการหลังจากการระเบิดและไฟไหม้ ประเทศฝรั่งเศสเผชิญกับค่าใช้จ่ายประมาณ สองแสนล้านยูโรเพื่อปลดระวางเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จำนวน 58 เครื่องหลังจากหมดอายุการใช้งาน ประเทศเยอรมนีได้ระดมเงินจำนวน 3,800ล้านยูโรเพื่อปลดระวางเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จำนวน 17 เตา และสหราชอาณาจักรได้ประมาณการค่าใช้จ่ายไว้ระหว่าง หนึ่งแสนเก้าล้านยูโรถึงสองแสนห้าหมื่นล้านยูโรในการปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศของตน

นี่คือการเผชิญหน้ากับการล่มสลายของอุตสาหกรรมเมื่อการแก้ปัญหากลายเป็นปัญหาใหญ่ พลังงานนิวเคลียร์ได้กลายเป็นข้อบกพร่องที่ใหญ่หลวง เนื่องจากได้ดึงทรัพยากรจากชุมชนที่ต้องการโรงเรียน โรงพยาบาล และสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต Joseph Tainter กับ Jared Diamond พร้อมด้วยนักวิจัยคนอื่นชี้ให้เห็นว่าบางสังคมสามารถหลีกเลี่ยงการล่มสลายนี้ได้ โดยไม่ได้เพิ่มความซับซ้อนทางสังคมด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้น แต่เป็นการลดขนาดลงอย่างตั้งใจและเรียนรู้ที่จะเติบโตในความซับซ้อนที่มีระดับต่ำ เช่น จักรวรรดิบายแซนไทน์ ในทศวรรษที่ 1300 ที่ตั้งอยู่บนเกาะ Tikopia

นี่เป็นความท้าทายของสังคมอุตสาหกรรม พวกเราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเราได้หรือไม่? โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยและมีอำนาจ เราสามารถกลับคืนสู่โลกแห่งความเป็นจริงได้หรือไม่?

Rex Weyler นักเขียน นักข่าว และหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกรีนพีซสากล 

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

Comments

Leave your reply