ลอนดอน 21 เมษายน 2565 – นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเสียงคลื่นปริศนา ซึ่งขนานนามว่า “เสียงปืน” ระหว่างการศึกษาและเก็บตัวอย่างเสียงวาฬ 600 ตัว เป็นเวลา 11 วัน ที่เขตภูเขาใต้ทะเลวีมา ในมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายฝรั่งแอฟริกาใต้ราว 1,000 กิโลเมตร โดยเสียงนี้ไม่เคยถูกบันทึกได้มาก่อน 

การวิจัยมีขึ้นในระหว่างที่กรีนพีซสากลกำลังล่องเรือสำรวจในเขตภูเขาใต้ทะเลวีมา ซึ่งนำโดยมหาวิทยาลัยสเตลเลนบอชจากแอฟริกาใต้และมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์จากสหราชอาณาจักร โดย ดร. คริสเตน ทอมสัน จากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์และนักวิจัยของกรีนพีซสากล และเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่นำทีมวิจัย กล่าวว่า

“เรายังคงไม่เข้าใจว่า ‘เสียง’ นี้หมายถึงอะไร แต่น่ามหัศจรรย์ที่เราสามารถบันทึกเสียงของวาฬหลังค่อมได้เป็นครั้งแรก นี่หมายความว่ายังมีอีกมากมายที่เราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์พวกนี้ การศึกษาของเรายืนยันว่าวาฬที่ว่ายผ่านเขตภูเขาใต้ทะเลวีมาขณะเดินทางไปทั่วมหาสมุทรกำลังให้อาหาร เขตภูเขาใต้ทะเลสามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสายพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น และเราต้องปกป้องแหล่งอนุรักษ์ในมหาสมุทรโลกอย่างเร่งด่วนเพื่อให้แหล่งที่อยู่อาศัยเหล่านี้ยังคงอยู่ต่อไป

การสำรวจของกรีนพีซสากลในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานเสียง (moored hydrophones) ในการเฝ้าสังเกตวาฬในพื้นที่ เสียงของวาฬถูกจับได้ระหว่างการเฝ้าสังเกตสามคืนติดต่อกัน โดยเสียงที่จับได้บ่อยที่สุดเป็น คือเสียงต่ำและเสียง “วัปซ์”

โดยเสียง “วัปซ์” ที่ว่านี้ เข้าใจว่าเป็นการสื่อสารระหว่างแม่ลูกเพื่อเป็นสัญญาณในการหาตำแหน่งของกันและกัน วาฬหลังค่อมก็ส่งเสียงที่ว่านี้เช่นกันขณะให้อาหาร ซึ่งชี้ชัดว่า ภูเขาใต้ทะเลวีมาเป็นแหล่งให้อาหารที่สำคัญ

นับตั้งแต่มีการค้นพบในปี 2502 พื้นที่รอบๆภูเขาใต้ทะเลวีมากลายเป็นพื้นที่ที่มีการจับปลาเกินขนาด กระทั่งตอนนี้มีการห้ามจับปลาในบางส่วนของพื้นที่ และมันยังเป็นแหล่งนิเวศทางทะเลที่บอบบางเนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรายังไม่มีสนธิสัญญาทะเลหลวง ทำให้เราไม่สามารถปกป้องพื้นที่นี้ได้อย่างเต็มที่ ยังไม่มีกฎหมายนานาชาติในการปกป้องภูเขาใต้ทะเลในทะเลหลวง ทั้งๆที่ในหลายๆพื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับสายพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น

ดร. ทอมสันเสริมในประเด็นนี้ว่า “ห้าสิบปีที่แล้ว รัฐบาลของประเทศต่างๆร่วมกันพลิกชะตาของวาฬหลังค่อม ทำให้จำนวนประชากรของพวกมันเพิ่มขึ้นในทะเลหลวง ตอนนี้ทะเลทั่วโลกเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ได้รับการปกป้อง ซึ่งนั่นไม่ดีพอที่จะปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยของวาฬได้”

วิล แมคคัลลัม หัวหน้าโครงการทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ สหราชอาณาจักร กล่าวว่าสนธิสัญญาสหประชาชาติซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการต่อรอง จะช่วยเบิกทางให้เราสามารถสร้างพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล

“นานมาแล้ว ทะเลหลวงถูกมองเป็นพื้นที่ไร้ความอุดมสมบูรณ์ แต่การศึกษาก็พิสูจน์ให้เห็นว่านอกจากมันจะเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตเดินทางข้ามไปในที่ต่างๆทั่วมหาสมุทร นี่คือสาเหตุว่าทำไมเราควรต้องมีเขตอนุรักษ์ทางทะเลให้ครอบคลุมอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของมหาสมุทรทั้งหมด ซึ่งรวมไปถึงพื้นที่อย่างภูเขาใต้ทะเลวีมา การฟื้นฟูวาฬหลังค่อมคือหนึ่งในเรื่องราวความสำเร็จในการปกป้องสิ่งแวดล้อม และตอนนี้สิ่งที่จะปกป้องมันไปตลอดกาลคือสนธิสัญญาทะเลหลวง


อ้างอิง

  1. บทความ “Detection of humpback whale (Megaptera novaeangliae) non-song vocalizations around the Vema Seamount, southeast Atlantic ocean” ตีพิมพ์ในวารสาร JASA Express Letters

ติดต่อ 

จูเลีย ซาโนลลิ หัวหน้าทีมสื่อสาร โครงการทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ สหราชอาณาจักร [email protected], +44 (0) 7971 769107

หรือติดต่อโต๊ะข่าวกรีนพีซสากล 

[email protected], +31 (0) 20718 2470 (ตลอด 24 ชั่วโมง)