‘ภาวะโลกร้อน’ มักจะเป็นคำที่เราเห็นตามถุงผ้ารักษ์โลก ตามสโลแกนลดถุงพลาสติกช่วยลดภาวะโลกร้อน แต่ก็ยังมีคำศัพท์อีกคำหนึ่งที่ได้ยินบ่อยมากๆในระยะหลังนี้คือ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

เรารู้กันอยู่แล้วแหละว่ามันก็เป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน แต่มันต่างกันยังไงล่ะ ?

ภาวะโลกร้อน คือผลจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ออกสู่บรรยากาศโลกในช่วง 150 กว่าปีที่ผ่านมา ก๊าซเรือนกระจกดูดซับและกักเก็บความร้อนที่แผ่ออกจากโลก 

และเมื่อเรายังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเรื่อยๆจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เรื่อยๆ มันจึงเป็นตัวเร่งให้อุณหภูมิโลกยิ่งสูงขึ้นจนเกิด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เมื่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ สภาพภูมิอากาศที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม หรือที่เรียกกันว่า เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น 

ซึ่งถ้าเราไม่ทำอะไรเลย มันก็จะเกิดบ่อยขึ้น รุนแรงขึ้น ข่าวร้ายคือสภาพอากาศสุดขั้วที่พูดมาทั้งหมดเกิดขึ้นแล้วทั่วโลกและรุนแรงขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนนักวิทยาศาสตร์ได้ยกระดับคำเรียก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลายเป็น วิกฤตสภาพภูมิอากาศ เพื่อย้ำเตือนว่า ถ้าโลกยังนิ่งเฉยกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เราก็จะเจอกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่จะส่งกระทบต่อชีวิตของเราและลูกหลานในอนาคต

ในปี 2564 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว บ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นแทบจะทุกเดือนเลยทีเดียว ทั้งคลื่นความหนาวในยุโรป พายุทรายในจีน พายุเฮอริเคน ฝนตกและน้ำท่วมเฉียบพลัน รวมทั้งไฟป่าในหลายพื้นที่ทั่วโลก 

สรุปแล้ว ทั้ง ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ คือ ปรากฎการณ์ที่เชื่อมโยงกันด้วยกิจกรรมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกของมนุษย์เรานี่เอง มันจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ในตอนนี้ทั่วโลกเริ่มตระหนักและหันมาให้ความสำคัญต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เพราะวิกฤตสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของเราทุกคนบนโลก 

วิธีแก้ คือ ทั่วโลกจะต้องจัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเป็นรูปธรรม ( ที่ไม่ใช่การฟอกเขียวอย่างการชดเชยคาร์บอน ) ได้แล้ว

https://twitter.com/greenpeaceth/status/1494891316089864192?s=20&t=-020o0KoEuR4qE6yR3Vs1g

#สรรพสิ่งติ่งแวดล้อม