“ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน” เรามักได้ยินคำนี้กันอยู่บ่อยๆ แต่แท้จริงแล้วมันหมายถึงอะไรกันแน่ ? 

ความเชื่อมโยงทั้งหมดที่ว่านี้ หมายความว่าสิ่งมีชีวิตในโลก น้ำ อากาศ ไม่ได้ถูกจัดเรียงอย่างเรียบร้อยตามตัวอักษร แต่ผูกโยงกันอย่างซับซ้อนเหมือนเส้นด้ายที่ผสานกันจนเป็นผ้าหนึ่งผืน ในผ้าผืนนี้ เส้นด้ายแต่ละเส้นมีความสำคัญในตัวของมันเอง 

ความสำคัญของเส้นด้ายทุกเส้นในผืนผ้า คือสิ่งที่มาริสเตลล่า สแวมป้า (Maristella Svampa) นักเขียนและนักชีววิทยาชาวอาร์เจนติน่าเรียกว่า “ความเชื่อมโยงระหว่างความเป็นธรรมทางสังคมและความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม (…articulation between social justice and environmental justice…) 

มาริสเตลล่า สแวมป้า  นักเขียนและนักชีววิทยาชาวอาร์เจนติน่า

บางทีเราอาจยังไม่เห็นว่าการต่อสู้กับการวิกฤตเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราจำต้องให้ความสำคัญกับ “เศรษฐกิจใส่ใจ” (Care Economy) โดยในภาคส่วนนี้ประกอบด้วย คนดูแลผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ แม่บ้านพ่อบ้าน ซึ่งคนที่ทำงานในภาคส่วนนี้ส่วนมากเป็นผู้หญิง 

อย่างไรก็ดี แม้คนเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในสังคม แต่พวกเขากลับไม่ได้รับความใส่ใจและการยอมรับเท่าที่ควร เราอยากเห็นการให้ความสำคัญกับกลุ่มคนกลุ่มนี้ทุกคนควรต้องตระหนักถึงความสำคัญของคนเหล่านี้ ไม่ใช่ภาคส่วนที่เน้นการกอบโกยกำไร  

อย่างในช่วงวิกฤต โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรค เส้นด้ายที่ผสานกันเป็นผืนผ้าเริ่มหลุดรุ่ย และกลุ่มบุคลากรที่ดูแลสุขภาพกายสุขภาพใจนี้เองที่เป็นกลไกสำคัญในการผสานผืนผ้าให้กลับมาสวยงามเช่นเดิม 

มาร่า ดอแลน (Mara Dolan) ผู้จัดการโครงการที่ the Women’s Environment and Development Organization กล่าวว่า 

“การจะสร้างอนาคตที่มีความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม เราต้องเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับคนทุกเชื้อชาติ เพศ เศรษฐกิจ และความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับคนที่ทำงานด้านสุขภาพและคุณภาพความเป็นอยู่ของผู้คน”

มาร่า ดอแลน ผู้จัดการโครงการที่ the Women’s Environment and Development Organization  

ลิดี้ นัคพิล (Lidy Nacpil) ผู้ประสานงานของโครงการ Asian Peoples Movement on Debt and Development กล่าวว่า “กุญแจในการสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีววิภาพคือการรื้อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งเป็นระบบที่สร้างและก่อให้เกิดวิกฤต”

ผู้นำแนวคิดสตรีนิยมในทางใต้พยายามท้าทายระบบทุนนิยมโดยให้ความสำคัญกับส่วนรวมและให้คุณค่ากับ “เศรษฐกิจใส่ใจ” และแทนที่จะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ พวกเธอให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้หญิงในสังคม ตั้งแต่แม่บ้าน คนดูแลผู้สูงอายุและเด็ก และคนทำงานแนวหน้าทั้งหลาย

ไดน่า คาฟาฟาย (Dina Kafafy) จาก Sinaweya ในประเทศอียิปต์  เรียกร้องให้เราหันกลับมาใส่ใจวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์พื้นถิ่น โดยเธอกล่าวว่า “เราต้องเปลี่ยนมุมมองของเรา และจุดยืนของมนุษยชาติที่ใหม่  และเมื่อเรามองกลับไปที่ชุมชนดั้งเดิมในทุกมุมโลก เราจะเข้าใจถึงทรัพยากรท้องถิ่น รูปแบบสภาพภูมิอากาศ คนท้องถิ่นมักเข้าใจและให้ความเคารพต่อสิ่งแวดล้อม พวกเขาเป็นผู้รับจากโลกและมอบมันกลับคืน สิ่งนี้ทำให้ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ 

“ถ้าเราผูกโยงเรื่องนี้ให้เป็นรากฐานของสังคม โลกจะกลายเป็นที่ที่ๆเต็มไปด้วยความรัก ความเห็นอกเห็นใจ และผู้คนจะรู้สึกผูกพันธ์กับโลกและคนอื่น ๆ ได้” เธอกล่าว

ไดน่า คาฟาฟาย (Dina Kafafy) จาก Sinaweya ในประเทศอียิปต์

ผู้หญิงมากมายกำลังรณรงค์เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสังคม ความเข้าใจต่อคุณค่าและบทบาทของพวกเขาในภาวะวิกฤตควรได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะในช่วงการระบาดของเชื้อโรค ภัยภิบัติทางนิเวศวิทยา หรือแม้กระทั่งช่วงสงคราม 

“พวกเขากำลังต่อสู้เพื่อระเบียบใหม่ ระบบเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับทุกชีวิต เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนและสุขภาพโลก ให้ความสำคัญกับสังคม กับบทบาทและความเหนื่อยเหน็ดที่ไม่เป็นที่ประจักษ์ของผู้หญิง และนอกไปจากการยอมรับแล้ว งานของผู้หญิงควรได้รับการเผยแพร่มากกว่านี้”์ แนคพิลกล่าว 

สแวมป้าเห็นไปในทางเดียวกัน โดยเธอบอกว่า “นี่จะทำให้การสร้างความเท่าเทียมในเรื่องของเพศและชนชั้นเป็นไปได้ เพราะปกติแล้วภาระมักกระจายอย่างไม่เท่าเทียมในแต่ละครอบครัว และส่วนมากมักมาตกที่ผู้หญิงในครอบครัว”

ดอแลน เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับโครงสร้างการเงินโลก เพื่อที่จะกระจายทรัพยากรไปสู่ภาคส่วนที่ดูแลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ผู้คน ความเข้มงวดและให้ความสำคัญกับการบริการและปกป้องประชาชน พัฒนาระบบภาษีโลกที่ไม่ปกป้องผลกำไรของบริษัทเหนือสิทธิมนุษยชนและความอยู่ที่ดีของผู้คน 

โดยดอแลนยังกล่าวเพิ่มเติมว่า งานเพื่อสิ่งแวดล้อมไม่ใช่แค่งานที่สร้างแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม แต่รวมถึงให้ความสำคัญกับความใส่ใจและความเป็นอยู่ของเด็กและผู้สูงวัยด้วย


มีแนวคิดจากทางใต้ที่พยายามคัดง้างระบบทุนนิยมและโมเดลธุรกิจที่โกยผลประโยชน์จากทรัพยากรส่วนรวม ในทางตรงกันข้าม พวกเขาให้ความสำคัญกับคนและชุมชน และทำงานกับระบบนิเวศที่มีจำกัด คำถามตอนนี้คือเราจะทำยังไงให้ทางออกนี้กลายเป็น “นิวนอร์มอล”

โซเนีย กัวจาจาร่า ผู้นำชนพื้นเมืองในบราซิล

ท้ายที่สุด โซเนีย กัวจาจาร่า (Sonia Guajajara) ผู้นำชนพื้นเมืองในบราซิล (Articulação dos Povos Indígenas do Brasil) ได้ต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านของพวกเขาจากแผนพัฒนาที่ส่วนกลางบังคับเอามาให้ 

“เราเรียกร้องสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้ว เราดูแลบ้านของเรา ต้นไม้ ป่า น้ำ นี่คือบ้านของพวกเรา และบ้านของบรรพบุรุษ เป็นบ้านของสัตว์และจิตวิญญาณ เป็นที่ซึ่งมีความหลากหลายของชีวิตและค้ำจุนโลก

ความใส่ใจ เคารพซึ่งกันและกันและเคารพธรรมชาติจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ชุมชนในการสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงความไม่เท่าเทียม 

ประโยคที่เราได้ยินกันคุ้นหูคือ การกระทำสำคัญกว่าคำพูด แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วม ดังนั้นถ้าเราเชื่อมั่นในทฤษฎีที่ว่า “ทุกอย่างเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน” เราควรต้องเริ่มทำตอนนี้ เริ่มจากการเข้าใจก่อนว่าปัญหาของเรามันเชื่อมกับสิ่งอื่นๆ อย่างไร และมันจะนำพาเราไปจนถึงทางออก