• ร่างแรกของเนื้อหาการตัดสินใจ (decision text) ของความตกลงกลาสโกว์ไม่มีการอ้างถึงการปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล – แย้งกับคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
  • ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลก “ไม่เคย” ระบุถึงการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในฐานะปฏิบัติการที่จำเป็นเพื่อต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
  • กรีนพีซเรียกร้องให้คณะเจรจาของประเทศต่างๆ ยืนหยัดเพื่อป้องกันไม่ให้ซาอุดีอาระเบียและออสเตรเลียขัดขวางความคืบหน้าในการเจรจา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหาความตกลงสุดท้ายจะมุ่งมั่นที่จะปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • ความสมานฉันท์กับกลุ่มประเทศซีกโลกใต้จะมีความสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าทั่วโลกจะเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรมไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและเป็นธรรม

กลาสโกว์, สกอตแลนด์ – ร่างแรกของเนื้อหาการตัดสินใจของความตกลงกลาสโกว์ที่ COP26 ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการระบุถึงเชื้อเพลิงฟอสซิล แม้ว่าฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความจำเป็นในการยุติถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติใหม่ลงในทันทีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความตกลงปารีส

จากการขัดขวางโดยกลุ่มผลประโยชน์เชื้อเพลิงฟอสซิล เนื้อหาทางการฉบับแรกโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ล้มเหลวในการตระหนักว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และเนื้อหายังไม่มีความมุ่งมั่นในการลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อยุติการพึ่งพาถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติทั่วโลก  เนื้อหามีความยาวเพียง 850 คำ

นักกิจกรรมรณรงค์มีความกังวลอย่างมากเพราะโดยทั่วไปร่างแรกของเนื้อหาความตกลงที่เจรจาใน COP นั้นจะเขียนในโทนที่หนักแน่น และค่อยๆ ลดลงในสัปดาห์ที่สองเนื่องจากประเทศต่างๆ จะพิจารณาในรายละเอียดเพื่อแก้ไข เมื่อร่างแรกของเนื้อหาความตกลงขาดความหนักแน่น ก็ไม่ได้เป็นลางที่ดีนัก

การละเว้นที่เห็นอย่างชัดเจนนี้เกิดขึ้นแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (the International Energy Agency) ระบุไว้ว่า จะไม่มีโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่ นอกเหนือไปจากโครงการที่ดำเนินการไปแล้วในปี 2564 นี้ หากเราต้องการบรรลุเป้าหมายในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม หลังจากนั้น รายงานฉบับล่าสุดของ IPCC เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า “วิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศที่มีการอัพเดทล่าสุดจะต้องเป็น “จุดจบของเชื้อเพลิงฟอสซิล” และประเทศต่างๆ ควรยุติการสำรวจและผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่ทั้งหมด

นักกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องให้คณะเจรจา ยืนหยัดเพื่อป้องกันไม่ให้ซาอุดีอาระเบียและออสเตรเลียขัดขวางเนื้อหาของร่างความตกลงที่ระบุการลดเชื้อเพลิงฟอสซิล และบั่นทอนความมุ่งมั่นในการเจรจาที่กลาสโกว์ ข้อบ่งชี้หลักของความสำเร็จในสัปดาห์ที่สองมีดังนี้ 

  • การเจรจาในกลาสโกว์ต้องยึดโยงกับเป้าหมายเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ไม่เช่นนั้นแล้ว ผู้นำประเทศต่างๆ จะลงนามในหนังสือแจ้งการเสียชีวิตสำหรับหลายประเทศ แทนที่จะเป็นความตกลงด้านสภาพภูมิอากาศ
  • เนื้อหาของความตกลงต้องมุ่งมั่นปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล มิฉะนั้นจะไม่บรรลุเป้าหมาย 1.5 C ได้เลย
  • การบรรลุเป้าหมาย หมายถึงไม่มีการโกง ไม่มีช่องโหว่ ไม่มีการหลอกลวงเพื่อชดเชยคาร์บอน และไม่มีการฟอกเขียว
  • รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องแยกซาอุดีอาระเบีย ออสเตรเลียและบราซิลออกไป และกลุ่มประเทศที่ล่อแหลมต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องได้รับการสนับสนุน

เจนนิเฟอร์ มอร์แกน ผู้อำนวยบริหาร กรีนพีซ สากล ซึ่งเข้าร่วมทุก COP และทุกๆ ครั้ง เมื่อมีการกล่าวถึงเชื้อเพลิงฟอสซิลในเนื้อหาของความตกลงก็จะถูกขัดขวางจากกลุ่มประเทศเดียวกัน เธอกล่าวว่า “ สิ่งที่น่ากังวลมากในกลาสโกว์ คือ ร่างแรกของเนื้อหาความตกลงนั้นเบาหวิวเกินไปอยู่แล้ว  โดยทั่วไป เนื้อหาจะถูกร่างขึ้นอย่างหนักแน่น จากนั้นก็ค่อยๆ ถูกลดโทนลง  เพื่อให้เป้าหมาย 1.5 องศาเป็นจริง จะต้องมีคำว่า ‘ปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล’ และประเทศต่างๆ จะต้องกลับมาเจรจาในปีหน้าเพื่อปิดช่องว่างนี้”

เอ็ดวิน นามาคากา เยาวชนอายุ 27 ปี จากยูกันดา เป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศจากกลุ่ม Fridays for Future – Most Affected People and Areas เดินมาถึง COP26 ที่กลาสโกว์บนเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ของกรีนพีซ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมข้อความสำหรับผู้นำโลก “หยุดสร้างความล้มเหลว”

เอ็ดวินกล่าวว่า “ในช่วงชีวิตของผม ผมได้เห็นผลกระทบร้ายแรงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เร่งเร้าด้วยอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล”

“ผลลัพธ์การเจรจาที่กลาสโกว์จะต้องเป็นจุดสิ้นสุดของเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่ และจะต้องมีการสนับสนุนทางการเงินที่เหมาะสมต่อประเทศต่างๆ ในซีกโลกใต้  เราต้องการความสมานฉันท์ และเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและเป็นธรรม เพราะสิ่งที่น้อยกว่านั้นคือจุดจบของผู้คน ภูมิภาคและประเทศ”

เคท บลากโกเจวิก หัวหน้าฝ่ายรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศของกรีนพีซ สหราชอาณาจักร กล่าวว่า “ประธานการประชุม COP26 ของสหราชอาณาจักรละทิ้งกลุ่มประเทศที่อ่อนแอที่สุดลงด้วยการสนับสนุน ร่างเนื้อหาแรกที่เบาหวิว อะล็อก ชาร์มา ยังสามารถจัดการกับความท้าทายนี้ได้ และยืนกรานให้ผู้นำโลกยกระดับการเจรจาของพวกเขาให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและเพิ่มพันธะกรณีด้านการเงินเพื่อการปรับตัวในร่างเนื้อหา และการดำเนินการดังกล่าวเริ่มได้ที่สหราชอาณาจักรในวันนี้ด้วยการทบทวนโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่ทั้งหมด รวมถึงแหล่งน้ำมัน Cambo (ในสหราชอาณาจักร) และรับรองว่าการสนับสนุนทางการเงินด้านสภาพภูมิอากาศของสหราชอาณาจักรจะไม่มาจากงบประมาณด้านความช่วยเหลือที่มีการสนับสนุนอยู่เดิมแล้ว”

คณะเจรจาที่ COP26 มีเวลาอีกเพียงห้าวันในการบรรลุความตกลงที่ระบุว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลก จัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างไร และพยายามสรุปเนื้อหาสุดท้ายของความตกลงเพื่อให้ประเทศต่างๆ ลงนาม

ณ ครึ่งทางของการเจรจา ประเทศต่างๆ ประกาศถึงความตกลงแบบสมัครใจซึ่งมีเขียนอย่างคลุมเครือและเปิดช่องว่างในการตีความที่กว้างมาก

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะทำงานเฉพาะกิจที่เรียกว่า Taskforce for Scaling Voluntary Carbon Markets ซึ่งเป็นข้อเสนอจากทูตพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเงิน และ มาร์ก คานีย์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งอังกฤษ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นปฏิบัติการฟอกเขียว(Greenwash) ในวันพุธที่ผ่านมา Greta Thunberg และนักกิจกรรมของกรีนพีซประท้วงเพื่อขัดขวางงานเปิดตัว และเรียกร้องให้คณะทำงานเฉพาะกิจหยุดผลักดันวาระของตนโดยไม่ได้รับการตรวจสอบ

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซาอุดีอาระเบียถูกวิพากษ์วิจารณ์จากความพยายามขัดขวางการจัดทำเนื้อหาความตกลงที่จะนำไปสู่การตัดสินใจ(decision text) การลบข้อมูลอ้างอิง และพยายามปิดกั้นความพยายามบรรลุความคืบหน้าของการเจรจาในด้านการปรับตัว ในฐานะเป็นเสาหลักของความตกลงปารีส การปรับตัวคือความพยายามสนับสนุนผู้คนนับล้านทั่วโลกให้รับมือกับผลกระทบของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่สูงขึ้น การขาดความก้าวหน้าของเจรจาในเรื่องการปรับตัวจะทำให้กลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งกลุ่มประเทศในแอฟริกายอมรับเนื้อหาสุดท้ายของความตกลงได้ยาก ซึ่งปิดโอกาสความสำเร็จของการเจรจาที่ COP26

รัฐบาลของซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกยังพยายามที่จะโน้มน้าวถ้อยคำของรายงานวิทยาศาสตร์ว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ ซึ่งจะออกเผยแพร่ในเดือนมีนาคมปี 2565 สำนักข่าว BBC และ Unearthed เปิดเผยว่าตัวแทนจากกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบียกดดันให้ผู้เขียนรายงานการประเมินฉบับที่ 6 ของ IPCC ว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยลบ การอ้างอิงถึงงานวิจัยที่ตีพิมพ์ซึ่งระบุว่าจะต้องปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล ถ้าเราต้องการหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เป็นหายนะของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ในวันจันทร์ที่ผ่านมา (8 พฤศจิกายน) Global Witness เปิดเผยว่าผู้เข้าร่วมประชุม COP26 ที่กลาสโกว์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลมีจำนวนมากกว่าตัวแทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมการประชุม ขณะที่ นักเจรจาหว่านล้อมของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลมีจำนวนมากกว่าผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนชนพื้นเมืองที่รับรองโดย UNFCCC อย่างเป็นทางการ เกือบสองต่อหนึ่ง

เนื่องจากการประชุม COP สองครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในอียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นักกิจกรรมรณรงค์เห็นว่า ถึงเวลาที่ต้องรับรองเนื้อหาในความตกลงที่ออกมาจากการประชุม COP เพื่อยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

อาร์ชาค มากิเชียน เยาวชนอายุ 27 ปี เป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวชาวรัสเซียที่เข้าร่วม COP26 กล่าวว่า “ผมรู้สึกประหลาดใจที่ตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้ บรรดาผู้นำโลกทั้งหลายต้องเสนอทางออกสำคัญเพื่อกอบกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ ตลอดชีวิตของผม พวกเขาไม่เคยพูดถึงรากเหง้าของปัญหาเลยสักครั้ง อนาคตของฉันขึ้นอยู่กับเนื้อหา 850 คำ แต่เราต้องการอีกหนึ่งคำ นั่นคือ ปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล

“พวกผู้นำทำบ้าอะไรกัน? เราหมดเวลาแล้ว  ความตกลงกลาสโกว์ต้องหมายถึงการปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมดและทันที แค่นั้นแหละ”

หมายเหตุบรรณาธิการ

-เนื้อหาหลักที่ใช้ในการตัดสินใจ(cover decision) เป็นเอกสารที่รู้จักกันในชื่อ 1/CP.26, CMA3

-ภาพถ่ายของเอ็ดวิน นักกิจกรรมเคลื่อนไหววัย 27 ปี มีอยู่ใน media library ของกรีนพีซ

-หากต้องการสัมภาษณ์กับเจนนิเฟอร์ มอร์แกน ผู้อำนวยการบริหารของกรีนพีซ สากล โปรดติดต่อ: คุณแดนนีเอล ทาฟเฟ ที่ปรึกษาด้านสื่อ กรีนพีซ สากล ([email protected])

-โต๊ะข่าวต่างประเทศของกรีนพีซ: [email protected], +31 (0) 20 718 2470 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

-อ่านรายงาน “ปลดระวางถ่านหินเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในประเทศไทย

Global Climate Strike in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
รัฐบาลไทยต้องหยุดฟอกเขียว! เพื่อความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ

ไทยเป็นประเทศอันดับต้นๆของโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ รัฐสภาซึ่งเป็นที่ประชุมระดับชาติของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต้องเป็นผู้นำประกาศ “ภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ (climate emergency declaration)”

มีส่วนร่วม