กลุ่มลันกิต (Langit Collective) มาเลเซีย กิจการเพื่อสังคมที่ขายข้าวพันธุ์พื้นเมืองเก่าแก่ที่ปลูกโดยชุมชนลุนบาวัง แขวงซาราวัก มาเลเซีย สร้างตลาดใหม่สำหรับผลิตผล พัฒนา ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรด้วยราคาที่เป็นธรรม และส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืนซึ่งจะช่วยอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ที่ตกทอดมารุ่นสู่รุ่น

การทำเกษตรแบบยั่งยืนช่วยรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ © Langit Collective

เมื่อหกปีก่อน เมลิซ่า ลิม และเพื่อน ๆ ไปลงพื้นที่กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่หมู่บ้านลาวาส แขวงซาราวัก มาเลเซีย พวกเขาได้มีโอกาสทานอาหารพื้นถิ่น และประทับใจในการต้อนรับอันอบอุ่นและคุณภาพของข้าวที่มีกลิ่น และรสชาติอันโดดเด่น “เหมือนว่าเรามีสิทธิพิเศษที่ได้กินข้าวคุณภาพดี 5 มื้อต่อวัน” เมลิซ่ากล่าว

เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งข้าวจากพื้นที่ห่างไกลมายังตลาดท้องถิ่นค่อนข้างสูง (4 ชั่วโมงโดยรถยนต์บนถนนไม่ได้ลาดยาง) ชาวนาจึงมักจะใช้ข้าวส่วนเกินในการเลี้ยงสัตว์แทน เมื่อลิมและเพื่อน ๆ เฉินเลอเหลิง ชางจือเชียง เซี่ยหยงหลิงรู้เรื่องนี้ ทำให้พวกเขารู้สึกท้อแท้ที่ข้าวคุณภาพดีต้องกลายเป็นอาหารเหลือ

และความท้อแท้นั้นเป็นสิ่งกระตุ้นใจให้พวกเขาสร้าง ‘กิจการเพื่อสังคมลันกิต’ ที่รวบรวม บรรจุ ขาย ส่งเสริมข้าวที่เป็นมรดกตกทอดของชุมชนลุนบาวัง พวกเขาต้องการจะพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรด้วยราคาที่เป็นธรรม ขณะที่ส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนควบคู่ไปด้วย เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูงกว่าตลอดท้องถิ่นถึงสองเท่าเมื่อผู้บริโภคจ่ายเงินเสร็จที่หน้าประตูบ้าน

เกษตรกรเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวโดยใช้มืออย่างที่ทำมาตลอดรุ่นสู่รุ่น © Langit Collective

ชุมชนซาราวักมีข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ตกทอดกันมารุ่นสู่รุ่นกว่า 300 สายพันธุ์ ส่วนมากปลูกเพื่อกินเองในครอบครัวและขายที่ตลาดท้องถิ่น ข้าวมีคุณภาพและจุดเด่นเฉพาะตัวตามลักษณะของพื้นที่ปลูกนี้ถูกส่งต่อเป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่น หากเมล็ดพันธุ์ไม่ถูกปลูก ข้าวอาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ด้วยการสร้างตลาดใหม่และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อปลูกข้าวพันธุ์นี้ต่อไปเป็นการช่วยรักษาอาหารอันเป็นมรดกนี้ไม่ให้สูญพันธุ์

การทำเกษตรแบบดั้งเดิมนี้ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศของพื้นที่ เกษตรกรปลูกและเก็บเกี่ยวผลิตผลด้วยสองมืออย่างที่ทำมารุ่นสู่รุ่น กระบือช่วยใส่ปุ๋ย และเตรียมแปลงปลูกระหว่างฤดู ลานกิจส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกแบบยั่งยืนต่อไปและไม่ใช่สารเคมีในการจำกัดศัตรูพืชต่อไป

เหมือนกับหลาย ๆ ที่ทั่วโลก โรคระบาดสร้างความท้าทายแก่กิจการเพื่อสังคมนี้ พวกเขาต้องหันมาขายผลผลิตในช่องทางออนไลน์ หลังจากห่วงโซ่อุปทานต้องหยุดชะงักไปกว่าเดือน

การระบาดนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของระบบอาหารท้องถิ่นที่ทำให้ชุมชนไม่เข้าถึงแหล่งอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่ถูกตัดขาดจากห่วงโซ่อุปทาน “ผู้คนต่างหิวโหย และไม่มีรายได้มากพอที่จะเลี้ยงปากท้องตัวเอง” เมลิซ่ากล่าว

หากเมล็ดพันธุ์ไม่ถูกปลูกหรือส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น ก็อาจทำให้ข้าวเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ © Langit Collective

พวกเขาสร้างโมเดลอาหารกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรมาเลเซียเพื่อแก้ปัญหาความไม่มั่งคงทางอาหารของชุมชนพื้นเมืองที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่มาเลเซียตะวันตก ที่นั่นมี 40 ครอบครัวที่ปลูกผักต่าง ๆ กว่า 24 ชนิดในพื้นที่เข้าร่วมโครงป่าอาหารใน 6 เดือน  พวกเขาหวังจะนำโมเดลที่ตุ้นทุนและค่าบำรุงรักษาต่ำนี้ไปใช้กับชุมชนอื่นๆ เพื่อทำเกษตรแบบยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สิ่งนี้ทำลายมายาคติที่ว่าอาหารต้องถูกปลูกด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เราพยายามที่จะไม่ใช้เทคโนโลยีมากเกินไป เพราะบางทีคำตอบอาจอยู่ที่การมองย้อนกลับไปในอดีตถึงสิ่งที่เรามีอยู่ในธรรมชาติก็เป็นได้ 

ในทางกลับกัน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในมาเลเซียตะวันออกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในช่วงโรคระบาดนี้ เธอกล่าวถึงการที่พวกเขาเพาะปลูกและใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติแบบยั่งยืน

“เกษตรกรที่เราทำงานด้วยยังคงใช้วิธีเพาะปลูกแบบดั้งเดิมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อเกิดโรคระบาด ผู้คนในเมืองต่างตกงานจึงเดินทางกลับมายังหมู่บ้านเพื่อทำเพาะปลูกอีกครั้ง ทำให้ปีนี้ได้ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวมากกว่าปกติ ซึ่งถือเป็นปัญหาในทางที่ดี”