กรีนพีซร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมของกายา (Global Alliance for Incinerator Alternatives-GAIA) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรทั่วโลก เพื่อเรียกร้องให้การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(UNFCCC) ปฏิเสธแผนการแก้ปัญหาการชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ไม่ตรงจุด เช่น การเผาขยะเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน โดยรัฐภาคีของ UNFCCC จะเข้าร่วมประชุมสมัชชารัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้

แถลงการณ์นี้กล่าวถึงข้อเรียกร้องให้เกิดการยุติการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use-plastic) โดยเรียกร้องให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีภาระรับผิดต่อมลพิษพลาสติกรวมทั้งกิจกรรมของอุตสาหกรรมที่เป็นแรงขับให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้น

ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ระบุว่า เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นทั่วโลก ซึ่งประกอบไปด้วยนโยบายการห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทเอกชนหันมาเลือกใช้ระบบการใช้ซ้ำและการเติม และการห้ามการนำเข้า-ส่งออกเศษขยะพลาสติก ทั่วโลกกำลังปฏิเสธการเผาขยะเพื่อเป็นพลังงานและกำลังหาวิธีแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ การลดใช้พลาสติก และทางออกที่สร้างสรรค์ในแบบอื่นๆ อีกทั้งแรงงานในอุตสาหกรรมรีไซเคิลและอุตสาหกรรมขยะได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์เพื่อรณรงค์ด้านความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศพร้อมกับการลดขยะและลดมลพิษ

Plastic Wave in Zagreb. © Nevio  Smajic / Greenpeace
© Nevio Smajic / Greenpeace

หลักการขยะเหลือศูนย์ (zero waste) ถูกนำมาปรับใช้ในระดับท้องถิ่นและชุมชน และได้พิสูจน์ว่าสามารถลดปริมาณขยะสะสมลงได้มาก ในขณะเดียวกันการเก็บ คัดแยกขยะและการรีไซเคิลช่วยสร้างอาชีพ ประหยัดเงิน รวมทั้งปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเมืองต่าง ๆ กำลังหยุดวงจรพลาสติกที่ไหลลงสู่มหาสมุทรด้วยการพัฒนาระบบที่เข้มงวดขึ้นโดยการแบนพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และพลาสติกย่อยสลายได้

ตัวอย่างหลักการที่มาจากการร่วมมือจากฐานรากเหล่านี้เป็นกลยุทธ์ที่ดีที่จะนำมาปรับใช้กับเมืองใหญ่ๆเพื่อลดมลภาวะซึ่งจะเกิดกับสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงทำให้เข้าถึงโอกาสที่จะพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

ข้อเรียกร้องขององค์กร Gaia และเครือข่ายที่ร่วมลงนาม :

  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อให้แน่ใจว่าอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกจะไม่พุ่งสูงเกินไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส
  • ยกเลิกแผนการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ(Waste-to-energy)ออกจากแผนที่นำทางลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ(NDCs)และแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศต่างๆ หยุดการขยายอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ลดการผลิตพลาสติก ยุติการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวในภาคส่วนต่างๆ และปล่อยให้แหล่งเชื่อเพลิงฟอสซิลอยู่ใต้ดิน 

ข้อเสนอแนะเพื่อการเปลี่ยนผ่าน :

  • ให้คำมั่นสัญญาถึงเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำได้จริง เพิ่มความมุ่งมั่นเพื่อรับประกันว่าการเปลี่ยนผ่านจะนำไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ไร้ขยะได้จริง
  • ลงทุนกับมาตรการลดขยะและเพิ่มระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบไร้ขยะลงไปในแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งระบบการขนส่งผลิตภัณฑ์และระบบการนำมาใช้ใหม่
  • กำหนดให้อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและผู้ผลิตพลาสติกมีภาระรับผิดต่อการก่อมลพิษพลาสติกและมีส่วนสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Producer Pays Principle – PPP)
  • จัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนโมเดลการเปลี่ยนผ่านพร้อมกับให้การคุ้มครองด้านการเงินและสร้างรายได้ที่เหมาะสมกับแรงงานในภาคการรีไซเคิลในระหว่างการเปลี่ยนผ่านตามข้อเสนอเชิงนโยบาย 

อ่านแถลงการณ์และรายชื่อองค์กรที่ร่วมลงนาม

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ COP26 คืออะไร และทำไมจึงสำคัญกับสภาพภูมิอากาศของเรา

Global Climate Strike in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
รัฐบาลไทยต้องหยุดฟอกเขียว! เพื่อความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ

ไทยเป็นประเทศอันดับต้นๆของโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ รัฐสภาซึ่งเป็นที่ประชุมระดับชาติของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต้องเป็นผู้นำประกาศ “ภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ (climate emergency declaration)”

มีส่วนร่วม