ในกระแสดรามาฝุ่นพิษ PM2.5 เรามีการถกเถียงกันตั้งแต่เรื่องว่าฝุ่นมาจากไหน บ้างก็โทษควันปิ้งย่าง ฝุ่นจากการก่อสร้าง หรือโยนความผิดไปให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาจากการเผาในที่โล่ง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เราจำเป็นต้องพิจารณาถึงแหล่งกำเนิด PM2.5 ทุกแหล่งโดยไม่เลือกปฏิบัติและวางมาตรการระยะสั้นระยะยาวและกำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันและจัดการมลพิษทางอากาศอย่างชาญฉลาดให้สมกับยุค Thailand 4.0

ในขณะที่หน่วยงานรัฐยังตั้งตัวไม่ติดและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาถูกหยิบยกขึ้นมาหลังจากวิกฤตฝุ่นผ่านไปหลายสัปดาห์นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

แต่คำถามที่อาจผุดขึ้นมาในใจของใครบางคน อาจจะเป็นแบบนี้

“ตั้งแต่ปีใหม่มา คนกรุงเทพฯ อยู่ใต้เงามลพิษฝุ่น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานของไทยมาแล้วกี่วัน? แล้วถ้าเป็นข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก(WHO)ล่ะ?”

เราสามารถหาคำตอบได้จากข้อมูลย้อนหลังจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 10 จุดของกรมควบคุมมลพิษซึ่งตรวจวัดค่าความเข้มข้นของ PM2.5 อย่างต่อเนื่องดังนี้

กราฟแสดงความเข้มข้นรายชั่วโมงของ PM2.5 ระหว่างวันที่ 1-27 มกราคม 2562
จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 10 จุดในเขตกรุงเทพมหานคร
(ที่มา : http://air4thai.pcd.go.th/webV2/history/)

เมื่อนำข้อมูลมาแสดงในตาราง เราต้องอึ้งกับผลที่ได้ ยิ่งถ้าเราใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลกแล้วยิ่งจี๊ด

ตำแหน่งสถานีตรวจวัด

จำนวนวันระหว่างวันที่ 1-29 มกราคม 2562 ที่ความเข้มข้นของ PM2.5 เกินมาตรฐาน
24 ชั่วโมงของไทย

(50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

จำนวนวันระหว่างวันที่ 1-29 มกราคม 2562 ที่ความเข้มข้นของ PM2.5 เกินมาตรฐาน 24 ชั่วโมงตามคำแนะนำของ WHO

(25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

ริมถนนดินแดง เขตดินแดง 17 วัน 29 วัน
ริมถนนอินทรพิทักษ์ ธนบุรี

15 วัน

28 วัน
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง*

18 วัน

25 วัน
ริมถนนพระรามสี่ เขตปทุมวัน 15 วัน 28 วัน
แขวงพญาไท เขตพญาไท 9 วัน 26 วัน
ริมถนนกาญจนาภิเษก บางขุนเทียน 21 วัน 29 วัน
ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง 17 วัน 29 วัน
แขวงบางนา เขตบางนา 12 วัน 24 วัน
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ 11 วัน 28 วัน
แขวงดินแดง เขตดินแดง

13 วัน

27 วัน

หมายเหตุ : * ไม่มีข้อมูล 3 วัน
ที่มาข้อมูล : http://aqmthai.com/public_report.php

โดยสรุป ระหว่างวันที่ 1-29 มกราคม 2562 คนกรุงเทพฯ อยู่ใต้เงามลพิษฝุ่น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานของไทยตั้งแต่ 9-21 วัน และเกินมาตรฐาน 24 ชั่วโมงตามคำแนะนำของ WHO ตั้งแต่ 24-29 วัน

แต่ชีวิตคนไม่ได้เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ในทางระบาดวิทยา ทุกลมหายใจที่เราสูดเอาอากาศที่ปนเปื้อนมลพิษเข้าไป ไม่ว่ามากหรือน้อยเพียงใด จะส่งผลเสียหายต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว องค์การอนามัยโลกระบุว่า จริงๆ แล้ว เรายังไม่สามารถระบุถึงขีดจำกัดของความเข้มข้น(ของมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก)ที่โยงกับผลกระทบด้านสุขภาพของมนุษย์ได้ ด้วยเหตุนี้ ข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่จัดทำขึ้นในปี พ.ศ.2548 จึงตั้งเป้าหมายให้ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้มากที่สุด (1)

แล้วเราจะทำอย่างไรได้บ้างนอกเหนือจากการป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศที่ปนเปื้อนมลพิษ หนทางหนึ่งก็คือ การผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลในทันทีโดยแยกออกจากดัชนีคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ

กรุงเทพฯ ในฐานะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศสามารถทำได้เลย เพราะมีการริเริ่มเรื่องนี้ที่เชียงใหม่ไปแล้ว


ที่มา : http://www.cmaqhi.org 

หากกรุงเทพฯมีการใช้ดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อคนกรุงเทพฯ ก็จะทำให้กรุงเทพฯเรามีระบบการแจ้งเตือนคุณภาพอากาศที่ช่วยปกป้องประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (เด็ก ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลงอย่างน้อยร้อยละ 15-20

ร่วมทวงคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ในอากาศสะอาด ขออากาศดีคืนมา ได้ที่  greenpeace.or.th/right-to-clean-air

หมายเหตุ

1. www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ambient-(outdoor)-air-quality-and-health

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม
ธารา บัวคำศรี

About the author

ธารา บัวคำศรี
เป็นผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทย และร่วมก่อตั้งกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี พ.ศ.2543 งานอดิเรกคืออ่าน เขียน และเดินทาง ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ g">บันทึกของธารา