นอกจากจะเป็นตัวการหลักที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและวิกฤตสภาพภูมิอากาศแล้ว รายงานจากเครือข่าย C40 Cities Climate Leadership Group ระบุว่าจากแบบจำลองและวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของถ่านหินต่อสุขภาพของประชากรในเมืองใหญ่ใน 61 เมืองทั่วโลกในช่วงปี 2563-2573 รายงานฉบับนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินที่มีต่อโลก สุขภาพ การงาน และเศรษฐกิจของเรา

Clean Air Now Photo Op in Banten. © Rendra Hernawan / Greenpeace
นักกิจกรรมและอาสาสมัครกรีนพีซอินโดนีเซียถือป้ายรณรงค์เรื่องมลพิษทางอากาศบริเวณโรงไฟฟ้าถ่านหินสุรายา อินโดนีเซีย © Rendra Hernawan / Greenpeace

ข้อสรุปจากรายงาน

ถ่านหินเป็นอันตรายต่อประชากรในหลายเมือง เนื่องจากมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำให้ผู้คนใน 61 เมือง อาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควรราว 264,900 ราย สามารถอ่านระเบียบวิธีวิจัยและภาคผนวก

ถ่านหินส่งผลกระทบในทุกๆด้านต่อสุขภาพของประชากรในกลุ่มเมือง C40 จะส่งผลให้เด็กคลอดก่อนกำหนด 121,100 ราย มีเด็กกลายเป็นผู้ป่วยหอบหืดรายใหม่ 93,600 รายและ 247,900 ราย ต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉินด้วยโรคหอบหืดในกลุ่มเมืองดังกล่าว

ผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรเป็นต้นทุนด้านเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากผลกระทบมลพิษทางอากาศของโรงไฟฟ้าถ่านหินทำให้มีต้นทุนที่ต้องจ่าย 8.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหนึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายจากการขาดงานเพราะปัญหาสุขภาพถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เราจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เพราะปัจจุบันประเทศที่ใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อยร้อยละ50ของจำนวนประเทศที่มีการรันโมเดลพบว่า ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนต่ำกว่าถ่านหินและมีแนวโน้มต่ำลงอย่างเนื่อง เมืองเหล่านี้สามารถส่งต่อสิ่งแวดล้อมที่ดี ความเป็นธรรมและอนาคตที่ยั่งยืนด้วยการปลดระวางถ่านหินและแทนที่ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและเทคโนโลยีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

Cycling Through the Pollution in New Delhi. © Subrata Biswas / Greenpeace
ภาพนักปั่นจักรยานและสวมหน้ากาก N95 ป้องกันฝุ่นละอองในกรุงนิวเดลี อินเดียเผชิญกับมลพิษทางอากาศมายาวนาน นักเรียนในอินเดียกว่า 35% มีสุขภาพปอดที่ย่ำแย่ © Subrata Biswas / Greenpeace

สำหรับประเทศไทยนั้น สิทธิในการหายใจของคนไทยยังคงถูกละเมิด รัฐไทยยังคงเพิกเฉยต่อการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ แม้ว่าในเดือนกันยายนที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลก (WHO) เสนอค่าแนะนำคุณภาพอากาศใหม่เป็นไกด์ไลน์ที่อยากให้ทุกเมืองมีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น มิหนำซ้ำนายกรัฐมนตรียังปัดตกร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ 3 ฉบับ เหลือเพียง ร่างพ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. ….  ริเริ่มโดยเครือข่ายอากาศสะอาด ซึ่งมีการรณรงค์รวบรวมรายชื่อประชาชนอยู่ในขณะนี้

กรีนพีซในฐานะที่ได้ขับเคลื่อนงานรณรงค์ #ขออากาศดีคืนมา #RightToCleanAir มีความเห็นว่า รัฐบาลไม่ควรเพิกเฉยและควรยกประเด็นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนอย่างเช่น พลังงานลมและแสงอาทิตย์ รวมทั้งระบบขนส่งมวลชนโดยไฟฟ้าขึ้นมา เพื่อลดอันตรายต่อสุขภาพประชาชนจากมลพิษทางอากาศและลดต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อดูแลสุขภาพ

Air Pollution Protest in Bangkok. © Wason Wanichakorn / Greenpeace
ในปี 2563 นักศึกษา บุคคลทั่วไปและเครือข่ายร่วมกับกรีนพีซ จัดกิจกรรม “พอกันที ขออากาศดีคืนมา” เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทย © Wason Wanichakorn / Greenpeace

เพราะการเข้าถึงอากาศดีคือสิทธิพื้นฐานของเราทุกคน และคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นก็เป็นการช่วยป้องกันประชาชนจากการเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศได้ ดังนั้นจำเป็นจะต้องเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ซึ่งจะทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นอย่างยั่งยืน

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม