เมื่อวันที่ 8 มีนาคม หรือวันสตรีสากลที่ผ่านมา ดร.แวนดาน่า ชีวา ได้ตีพิมพ์คำปราศรัยสั้น ๆ ที่พูดถึงเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างการล่าอาณานิคมกับผู้หญิง เธอกล่าวว่า ความมั่นคงทางอาหารและการปกป้องเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองเป็นรากฐานสำคัญที่ปลดปล่อยสตรีทั่วโลก

ชีวาเป็นแรงบันดาลใจให้ฉันทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้ เธอทำให้ฉันเห็นว่าความยุติธรรมของมนุษย์และการเข้าใจระบบนิเวศเป็นเรื่องเดียวกันอย่างชัดเจน สิบปีก่อนฉันเขียนชีวประวัติของผู้หญิงคนนึงที่มีความสำคัญในการก่อตั้งกรีนพีซ ในวันสตรีสากลของปีนี้ คำแถลงการณ์ของชีวาเป็นแรงบันดาลใจให้ฉันนึกถึงผู้หญิงหลายคนที่ทำให้ผู้คนตระหนักถึงเรื่องนิเวศวิทยา

ที่มาของการต่อสู้ทางนิเวศวิทยา

นักกิจกรรมด้านนิเวศวิทยากลุ่มแรกอาจจะเกิดขึ้นในปี 2263 ซึ่งคือชนเผ่าบิชนอย (Bishnois) แห่ง เคจาร์ลี (Khejarli) ประเทศอินเดีย ผู้พยายามปกป้องป่าในท้องถิ่นของตัวเองจากการตัดไม้เพื่อส่งแปรรูปไปให้กษัตริย์แห่งจ๊อดปูร์ (Jodhpur) ตามความเชื่อของชนเผ่าบิชนอยเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทุกอย่างมีความศักดิ์สิทธิ์รวมถึงผืนป่า และต้นไม้ ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจอร์ชสนา กามัต (Jyotsna Kamat) ได้มีบันทึกเกี่ยวกับชนเผ่าบิชนอยไว้ว่า หญิงสาวที่ชื่อ อมิตรา เทวี (Amrita Devi) ได้เผชิญหน้ากับคนงานตัดต้นไม้ เธอและคนในหมู่บ้านต่างกอดต้นไม้แต่ละต้นไว้เพื่อไม่ให้ถูกตัด แต่กลับกลายเป็นว่าทหารได้ตัดศีรษะชาวบ้านเหล่านั้นราว 363 คน เมื่อกษัตริย์แห่งจ๊อดปูร์ได้รู้ถึงการกระทำดังกล่าวจึงตกใจมาก โดยกษัตริย์แห่งจ๊อดปูร์ได้ออกมาขอโทษชนเผ่าบิชนอยและประกาศให้รัฐบิชนอยเป็นเขตคุ้มครอง ตั้งแต่นั้นมารัฐบิชนอยก็เป็นเขตคุ้มครองมาตลอดจนปัจจุบัน

ในปี 2516 ทางตอนเหนือของอินเดีย มีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งในหุบเขาอลักนานดา (Alaknanda) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากชนเผ่าบิชนอยและคานธี ที่ปกป้องป่าจากการจัดต้นไม้เพื่อการค้า จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดขบวนการชิบโก (chipko) หรือขบวนการอ้อมกอดทั่วทางตอนเหนือของอินเดีย

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อลิซ แฮมิลตัน เติบโตขึ้นมาในครอบครัวขาวไอริชหรือเยอรมัน และอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เธอดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านพยาธิวิทยาที่โรงเรียนแพทย์หญิงแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ในรัฐอิลลินอยส์ และเป็นผู้หญิงคนแรกที่ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี 2463 เธอเริ่มทำงานวิจัยโดยตรวจสอบทางพิษวิทยาในอุตสาหกรรม และค้นพบพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ในร่างกายช่างเหล็กพิษจากปรอทในร่างกายช่างทำหมวก โรคโลหิตจางแบบไขกระดูกฝ่อในคนงานตัดหินปูน และ “อุบัติการณ์ของโรคปอด” สูงผิดปกติในช่างแกะสลักหินแกรนิต งานวิจัยของเธอเป็นการวางรากฐานสำคัญสำหรับการปฏิรูปอุตสาหกรรม เมื่อเธอพบพิษจากสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน และทำให้เกิดการคัดค้านอย่างรุนแรงจากอุตสาหกรรมน้ำมันและยานยนต์ เธอกล่าวหาว่าบริษัท General Motors “ฆ่าคนโดยเจตนา” หลังจากกว่าสิบปีที่ทุกรัฐบาลล้มเหลวในการประกาศห้ามใช้สารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน จนในปี 2493 หัวเมืองใหญ่ทั่วโลกถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควันจากอุตสาหกรรม ในที่สุดในปี 2495 เกิด “หมอกควันมรณะ” ปกคลุมทั่วกรุงลอนดอนและมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ราว 4,000 คน จนในที่สุดรัฐสภาอังกฤษก็ออกพระราชบัญญัติอากาศสะอาดฉบับแรกตามคำแนะนำของแฮมิลตันเมื่อหลายสิบปีก่อน

ในปี 2505 ราเชล คาร์สันตีพิมพ์หนังสือชื่อ Silent Spring  ซึ่งได้จุดประกายให้หลายคนตระหนักในเรื่องระบบนิเวศ ในหนังสือได้กล่าวถึงนก 35 ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์เพราะสารเคมีออร์กาโนคลอรีน (organo-chlorine) เช่น สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่ม DDT ที่เป็นของเสียพิษร้ายแรงจากการทำอุตสาหกรรม คาร์สันกล่าวในหนังสือของตัวเองว่า “เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก ที่ตอนนี้มีมนุษย์ทุกคนต้องสัมผัสกับสารเคมีอันตราย”

งานของคาร์สันทำให้เธอได้เรียนรู้อย่างรวดเร็วเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมีเนื่องจากบริษัทในอุตสาหกรรมนั้นรู้อยู่แล้วว่าการผลิตของพวกเขาสร้างสารพิษแต่ไม่สามารถกำจัดมันได้อย่างปลอดภัย พวกเขาจึงสร้างตลาดการค้าสารพิษและกระจายมันไปทั่วโลก ผู้ก่อมลต่าง ๆ ได้พิษพยายามใส่ร้ายคาร์สันด้วยการบอกว่าการที่เธอเสียชีวิตจากโรคมาลาเรียนั้นเป็นเพราะว่าเรายังกระจายออร์กาโนคลอรีนไม่ครอบคลุมทุกมุมโลก และยังคงทำอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งที่ในความจริงแล้วคาร์สันสนับสนุนการควบคุมโรคอย่างถูกวิธี และยังบอกอีกด้วยว่ายุงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมาลาเรียนั้นมีภูมิคุ้มกันต่อยาฆ่าแมลง

คาร์สันเขียนในหนังสือของเธอว่า “การควบคุมธรรมชาติเป็นความคิดที่เกิดจากความทะนงตัว มันเป็นเรื่องดีและจำเป็นสำหรับพวกเราที่จะใคร่ครวญถึงความงามของโลก ซึมซับถึงความอัศจรรย์ และความรู้สึกนอบน้อมต่อธรรมชาติของเรา” งานเขียนของเธอพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับธรรมชาติ และจุดประกายการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยใหม่

สิ่งแวดล้อมในยุคสมัยใหม่

นอกจากผู้ก่อตั้งกรีนพีซบางคน ยังมีผู้หญิงอีกสองคนเป็นแรงบันดาลใจให้ฉันในช่วงปี 2513 ซึ่งคือ สเตฟานี มิลล์ และ โดเนลลา มีโดว์ 

ในปีพ.ศ. 2512 สเตฟานี มิลล์กล่าวในพิธีจบการศึกษาของเธอว่า “อนาคตเป็นเรื่องตลกที่โหดร้าย” เธอคาดการณ์ถึงผลกระทบทางนิเวศวิทยาที่อาจเกิดขึ้นจากจำนวนประชากรและการบริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเธอประกาศว่าจะไม่เพิ่มประชากรให้กับโลกใบนี้อีก เธอเรียกคำมั่นสัญญานี้ว่า “แบบร่างสตรีนิยมสายนิเวศวิทยา” ในปี 2513 ฉันได้พบกับมิลล์ในงานนิเวศวิทยาที่ซานฟรานซิสโก ซึ่งตอนนั้นเธอกลายเป็นผู้มีอิทธิพลและชื่อเสียงในฐานะนักเขียนและบรรณาธิการนิตยสาร Friends of the Earth’s Not Man Apart

มิลล์ตีพิมพ์หนังสือเจ็ดเล่มรวมถึง Epicurean Simplicity (2545), Tough Little Beauties(2550)  และ Whatever Happened to Ecology?(1989)   ซึ่งเป็นการบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัวจากการเรียนรู้เชิงนิเวศวิทยา และงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวแนวชีวภูมิศาสตร์ ในหนังสือชื่อ New Catalyst Books (2551)

ในงานเขียนของเธอระบุว่า “โลกเต็มไปด้วยความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างสมดุล โดยไม่ยึดกับสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง หน้าที่ของมนุษย์คือการหาทางกลับเข้ามาสู่ความสมดุลในแบบที่ควรจะเป็น”

ในปี 2511 โดเนลลา มีโดว์ จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาชีวฟิสิกส์ ต่อมากลายเป็นนักวิจัยด้านพลวัตที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และในปี 2515 เธอเป็นตั้งตั้งตัวตีในการเขียนเรื่อง ข้อจำกัดในการเติบโต (Limits to Growth) ร่วมกับเดนนิส มีโดว์ สามีของเธอ เจอร์แกน แรนเดอร์ส และวิลเลียม เบห์เรน เพื่อนร่วมสโมสรแห่งโรม

ฉันได้พบกับมีโดว์ในปี 1980 ที่ MIT (Massachusetts Institute of Technology) เรานั่งคุยกันในสนามหญ้า เธอเล่าให้ฉันฟังเกี่ยวกับทฤษฎีระบบและการที่ทีมของเธอได้คาดการณ์ถึงขีดจำกัดตามธรรมชาติของโลกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ของ Meadow ในตอนนั้นดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นจริงในโลกตอนนี้ ในหนังสือเรื่อง Limits to Growth: The 30-Year Update แสดงให้เห็นว่าคำพยากรณ์นั้นแม่นยำเพียงใด เมื่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ปล้นและทำลายระบบนิเวศป่าไม้เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงให้กับการเติบโตของโลก ในขณะเดียวกันก็สร้างของเสียที่เป็นพิษต่อระบบนิเวศของเราและทำให้ชั้นบรรยากาศมีอุณหภุมิสูงขึ้น

ในหนังสือ Leverage Points ของเธอที่ตีพิมพ์ในปี 2542 มีโดว์ได้หาวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อแทรกแซงแก้ไขระบบที่ซับซ้อน โดยสรุปแล้วเธอเขียนไว้ว่า ผู้นำโลกหลายคนกำลังแสดงให้เห็นถึงความคิดอันล้าหลังและกำลังมุ่งแก้ปัญหาในทางที่ผิด เธอแนะนำว่าการพยายามบรรเทาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีเช่น เงินอุดหนุนจากตลาด ภาษี และกฎระเบียบ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดในการเปลี่ยนแปลงระบบที่ซับซ้อน วิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคือการพยายามจัดการกับโครงสร้างระบบและเป้าหมายของมัน และวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำงานกับกระบวนทัศน์ซึ่งวางอยู่บนโครงสร้างและเป้าหมายของระบบ เพื่อก้าวข้ามกระบวนทัศน์ทางสังคมที่ทำให้เรามองไม่เห็นระบบโครงสร้างที่แท้จริงหนึ่งเดียว

ในหนังสือ Paradigms in Progress ของเธอในปี 2538 เขียนไว้ว่า นักเศรษฐศาสตร์อย่าง เฮเซล เฮนเดอร์สัน เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงนิเวศ โดยศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของระบบนิเวศและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ในแง่มุมที่ไม่ใช่เฉพาะที่เป็นกิจกรรมทางการเงิน ในหนังสือ My Name is Chellis and I’m in Recovery from Western Civilization (2537) ของ เชลลิส เกลนดินนิ่ง เปรียบเทียบวิกฤตทางนิเวศวิทยากับบาดแผลของบุคคลและการฟื้นฟูอาการ เธอชี้ให้เห็นแง่มุมของนิเวศวิทยาเชิงลึกและชนพื้นเมืองในฐานะที่เป็นเส้นทางเพื่อกลับสู่การเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

ในหนังสือ Biomimicry (2002) ของ Janine Benyus และ A Safe and Sustainable World (2006) ของแนนซี่ แจ็ค ทอดด์ ได้นำเสนอแนวคิดใหม่ เกี่ยวกับวิธีการใช้ลวดลายของธรรมชาติสู่โลกแฟชั่นผ่านการออกแบบเชิงนิเวศ

นอร่า เบทสัน ก่อตั้ง Warm Data Labs ด้วยจุดประสงค์ที่จะช่วยให้กลุ่มต่าง ๆ เปลี่ยนจากการพูดคุยกันบนอคติ และการถกเถียงจากสองฝั่งให้เป็นสิ่งที่เธอเรียกว่า “การเรียนรู้ร่วมกันข้ามบริบท” (trans-contextual mutual learning) เพราะภายใต้ระบบนิเวศของเรา การเรียนรู้ทั้งหมดเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของบริบทที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละบริบทก็ได้รับอิทธิพลจากบริบทอื่น ๆ ในปี พ.ศ.2560 Harvard Innovation Lab ได้เลือกหนังสือของเธอเรื่อง Small Arcs of Larger Circles: Framing through Other Patterns เป็นเนื้อหาหลักสำหรับนักศึกษาใหม่ ข้อความตอนหนึ่งของ Bateson เขียนว่า “ไม่มีภาษาใดที่จะใช้เรียกชื่อกระบวนการเคลื่อนไหวของบริบทอันกว้างใหญ่ที่เรามีส่วนร่วมได้” และ “เราไม่มีชื่อเรียกสำหรับแบบแผนของการพึ่งพาอาศัยกัน”

อลิซ ฟรีดมันน์ ได้แบ่งปันความรู้มากมายเกี่ยวกับระบบพลังงานในหนังสือและบทความ เธอสร้างเครือข่ายสำหรับระบบขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในหนังของเธอชื่อ When Trucks Stop Running: Energy and the Future of Transportation (2558) ได้ไปสำรวจการพึ่งพาการขนส่งสินค้าหนัก และความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้าในการเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับเรือและรถบรรทุกขนาดใหญ่ Friedemann ได้ตีพิมพ์ผลงานเป็นประจำที่ Energyskeptic และ Resilience เกี่ยวกับพลังงาน การเกษตร และการขนส่ง หนังสือเล่มล่าสุดของเธอที่ชื่อว่า Life after Fossil Fuels: A Reality Check on Alternative Energy (2564) ได้สำรวจพลังงานทางเลือกต่าง ๆ เช่น พลังงานจากลม แสงอาทิตย์ ไฮโดรเจน ความร้อนใต้พิภพ นิวเคลียร์ ชีวมวล และอื่น ๆ

งานวรรณกรรมเพื่อเข้าถึงธรรมชาติก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน นักกวีคนโปรดของฉันที่มีผลงานสะท้อนถึงความลึกซึ้งในธรรมชาติ ได้แก่ Mary Oliver, Denise Levertov, Susan Griffin, and Diane di Prima และนักประพันธ์ เช่น Annie Dillard, Camille Dungy, Andrea Wulf, และ Helen MacDonald.

ผู้หญิงผู้ก่อตั้งกรีนพีซ

โดโรธี สโตว์ เป็นประธานคนแรกของสหภาพแรงงานพลเมืองท้องถิ่นในโรดไอแลนด์ เธอใช้ในเวลาคืนงานแต่งงานที่งานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อสิทธิพลเมือง และอพยพไปที่แคนาดากับเออร์วิงสามีของเธอเพื่อประท้วงสงครามของสหรัฐฯ ในเวียดนาม เธอยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกรีนพีซในยุคแรกเริ่มที่บ้านของเธอ ซึ่งได้ผสมผสานการเมืองแบบถอนรากโถนโคนไปกับทัศนคติที่เปิดกว้างและแนวคิดการร่วมมือกันของชุมชน

มารี โบฮ์เลน เป็นนักวาดภาพประกอบ สมาชิกกลุ่มเซียร่า สมาชิกกลุ่มศาสนานิกายเควกเกอร์ และผู้รักสันติ เมื่อพอล ลูกชายของเธอเข้าเกณฑ์ทหารสหรัฐฯในปี พ.ศ.2510 เธอและสามีของเธอ จิม โบเลน อพยพไปยังเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ซึ่งพวกเขาได้พบกับพวกสโตว์ มารียืมกลยุทธ์ของกลุ่มศาสนานิกายเควกเกอร์ มารีเสนอแนวคิดที่จะแล่นเรือไปยังเขตทดสอบนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ในอลาสก้า ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรกของกรีนพีซ

Dorothy Stowe and Marie Bohlen. © Greenpeace
โดโรธี สโตว์ และ มารี โบฮ์เลน © Greenpeace

ดีโน่ เบอร์มิงแฮม ผู้นำ B.C. Voice of Women ในเมืองแวนคูเวอร์ ได้ระดมทุนและสร้างการรับรู้ของสาธารณะในแคมเปญแรกของกรีนพีซ และเพื่อนร่วมงานของเธออย่าง Lille d’Easum ได้เขียนรายงานทางเทคนิคของกรีนพีซชิ้นแรกเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบจากรังสี

โดโรธี เมตคาล์ฟ นักข่าวมากประสบการณ์ เปลี่ยนบ้านของเธอให้เป็นสถานีวิทยุในแคมเปญครั้งแรก และรายงานข่าวไปยังสื่อ  ต่อมาเธอถูกจับกุมในกรุงปารีสจากการประท้วงการทดสอบนิวเคลียร์และได้เข้าพบสมเด็จพระสันตะปาปาที่นครวาติกันเพื่อรับคำอวยพรแก่ภารกิจของกรีนพีซ โดโรธี เมตคาล์ฟ เป็นนักรณรงค์ที่ยอดเยี่ยม  และผลงานบางส่วนของเธอถูกเล่าขานที่กรีนพีซ 

ในปี 2506 โซอี้ ฮันเตอร์ (ราฮิม) เป็นสมาชิกคนหนึ่งของแคมเปญเพื่อปลดระวางอาวุธนิวเคลียร์ เธอได้พบกับบ๊อบ ฮันเตอร์ ซึ่งเป็นชาวแคนาดาที่อยู่ในลอนดอน เธอพาเขาไปเดินขบวนเพื่อสันติภาพครั้งแรก และต่อมาทั้งสองคนได้ช่วยกันเปิดตัวแคมเปญกรีนพีซครั้งแรกในแคนาดา 

ในปี 2513 โจนี มิทเชล นักดนตรีชาวแคนาดาวัย 27 ปี เป็นแกนนำคอนเสิร์ตการกุศลระดมทุนเพื่อแคมเปญแรกของกรีนพีซ

ผู้หญิงสองคนแรกที่ร่วมแล่นเรือในแคมเปญของกรีนพีซ ได้แก่ แอน-มารี ฮอร์น และแมรี ลอร์นี จากนิวซีแลนด์ บนเรือเวก้าซึ่งแล่นไปยังพื้นที่ทดสอบนิวเคลียร์ของฝรั่งเศสที่เกาะโมรูรัวในปี 2516 เทโกะ มิวะ และคาร์ลี ทรูแมน ล่องเรือในแคมเปญยุติการล่าวาฬเชิงพาณิชย์ของกรีนพีซครั้งแรกในปี 2518 ทรูแมนฝึกลูกเรือในการทำงานของเรือยางที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกรีนพีซ  มิวะเป็นผู้นำในการรณรงค์ต่อต้านพิษจากปรอทและมลพิษทางอากาศในญี่ปุ่น

บ๊อบบี้ ฮันเตอร์ คือผู้บริหารสำนักงานกรีนพีซแห่งแรกในเมืองแวนคูเวอร์ ในปี 2519 บ๊อบบี้และมาริลิน คากา เป็นผู้หญิงกลุ่มแรกที่ปิดล้อมเรือล่าวาฬอย่าง Vlasny เรือฉมวกของรัสเซีย

ที่กรุงลอนดอนในปี 2520 ซูซี นิวบอร์น และเดนิส เบลล์ ได้ซื้อและติดตั้งเรือลำแรกที่กรีนพีซเคยเป็นเจ้าของ นั่นคือ “เซอร์วิลเลียม ฮาร์ดี” เรือลากอวนขนาด 134 ฟุต ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเรือ “เรนโบว์ วอร์ริเออร์”  ในปี 2521 พวกเขาได้ช่วยนำลูกเรือนานาชาติซึ่งเผชิญหน้ากับนักล่าวาฬจากไอซ์แลนด์และสเปน และเปิดโปงเรือของอังกฤษชื่อ “Gem” ซึ่งได้ทิ้งขยะนิวเคลียร์ลงมหาสมุทรอย่างผิดกฎหมาย A Bonfire in my Mouth คือหนังสือของซูซี นิวบอร์นที่เล่าเรื่องราวของเธอเกี่ยวกับเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์

ในปี 2556  นักปีนเขาหญิง 6 คน คือ Sabine Huyghe (เบลเยียม), Sandra Lamborn (สวีเดน), Victoria Henry (แคนาดา), Ali Garrigan (สหราชอาณาจักร), Wiola Smul (โปแลนด์) และ Liesbeth Debbens (เนเธอร์แลนด์) ปีนขึ้นไปบนตึกกระจกสูง 310 เมตรซึ่งสูงที่สุดในลอนดอนอย่าง The Shard เพื่อเรียกร้องต่อการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซของบริษัทเชลล์ โดยในแต่ละขั้นตอนของการปีนจะต้องมีคนนำปีนเพื่อปีนแบบไร้เครื่องป้องกันในแต่ละส่วนของอาคาร

“ความอยุติธรรมในสังคมที่หยั่งรากลึก ตั้งแต่สิทธิแรงงานไปจนถึงความไม่เท่าเทียมทางเพศ ดำเนินควบคู่ไปกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ” เจนนิเฟอร์ มอร์แกน ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีซกล่าวในวันสตรีสากลปีนี้  “การส่งเสียงของคนชายขอบและผู้ที่เปราะบางที่สุด รวมทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสและพื้นที่ในการแสดงออกถือเป็นหัวใจสำคัญของภารกิจกรีนพีซ”

ในคำแถลงของปีที่ผ่านมา ชีวากล่าวว่า “ฉันอยากจะเห็นการปลดแอกจากอำนาจของโลกใบนี้ ผู้หญิง แรงงาน ชนพื้นเมือง และอนาคต”

ในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อนและไฟป่าในปี 2561 เกรียตา ทุนแบร์ย จากสวีเดน ได้พลิกประวัติศาสตร์ทางนิเวศวิทยาเมื่อเธอจัดการประท้วงที่โรงเรียนนอกเขต Riksdag ของสวีเดน โดยเรียกร้องให้รัฐบาลสวีเดนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน  การเคลื่อนไหวของเธอและ Vanessa Nakate, Jamie Margolin, Xiye Bastida และนักเคลื่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศผู้หญิงคนอื่น ๆ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนหยุดโรงเรียนประท้วงในกว่า 300 เมืองทั่วโลก ในเดือนธันวาคม 2561 ทุนแบร์ยพูดในการประชุมสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในโปแลนด์และตำหนิผู้แทนทางการเมืองต่ออดีตอันล้มเหลวของพวกเขา

© Greenpeace / Eric De Mildt
เกรียตา ทุนแบร์ย (คนกลาง) พร้อมด้วยนักเรียนชาวเบลเยียมกว่าพันคนเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้คนสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ © Greenpeace / Eric De Mildt

เกรียตากล่าวว่า “หากคุณยังไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ควรต้องทำมากกว่าโอกาสทางการเมือง มันคงไม่มีหวังแล้วล่ะ เราจะไม่สามารถแก้วิกฤตได้ถ้าเราไม่มองว่ามันคือวิกฤต” “คุณแค่พูดถึงกับการก้าวไปข้างหน้าด้วยแนวคิดแย่ ๆ เดิม ๆ ที่ทำให้เราอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ในขณะที่การกระทำเดียวที่มีเหตุผลตอนนี้คือการลงมือทำเพื่อหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น” 

เกรียตากล่าวต่ออีกว่า “โลกกำลังตื่นขึ้น” และ “การเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม”

บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่


อ้างอิง

“A message from Vandana Shiva,” International Women’s day, Navdanya, March 8, 2021

Ecofeminism, Maria Mies and Vandana Shiva, Zed Books, 1993, second edition 2014. 

Vandana Shiva, Staying Alive: Women, Ecology and Development in India (Zed Press/Penquin, 1988).

Vandana Shiva, Leipzig Appeal for Women’s Food Security, 1996, IATP.org

Mahila Anna Swaraj. Earth Rising, Women Rising: Regenerating the Earth, Seeding the Future. Navdanya, March, 2021.

Karen Warren, ed., Ecological Feminist Philosophies, University of Indiana Press, 1996.

Jyotsna Kamat, “The Bishnoi Community.” Geographica India. historian from Bangalore

Melissa Petruzzello, Chipko movement, Britannica, 2015.

The women who founded Greenpeace, Rex Weyler, Greenpeace International, 2010.

Alice Hamilton, MD: Exploring The Dangerous Trades, (Little, Brown,1943, NWU Press 1985)

Rachel Carson: Silent Spring, Houghton Mifflin, 1962

Chellis Glendinning, “Stephanie Mills: A Life of the Mind,” Wild Culture, 2019. 

Stephanie Mills, In Praise of Nature, (Island Press, 1990)

Donella Meadows: Leverage Points: Places to Intervene in a System, The Sustainability Institute, 1999. 

Donella Meadows, et. al., Limits to Growth (D. H. Meadows, D. L. Meadows, J. Randers, W. Behrens, 1972; New American Library, 1977); and Limits to Growth: The 30-Year Update (Chelsea Green, 2004).

Chellis Glendinning, My Name is Chellis and I’m in Recovery from Western Civilization, Shambhala, 1994.

Janine Benyus, Biomimicry: Innovation Inspired by Nature, Harper, 2002.

Nancy Jack Todd, A Safe and Sustainable World: The Promise Of Ecological Design, Island Press, 2006

Nora Bateson, Small Arcs of Larger Circles: Framing through Other Patterns,  (Triarchy Press, 2016). 

Hazel Henderson, Paradigms in Progress, (Berrett-Koehler, 1995). Alice J. Friedemann, When Trucks Stop Running: Energy and the Future of Transportation,” Springer, 2015; and essays at Energyskeptic.