จากข้อมูลขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (US EPA) ระบุถึงผลการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ รายงานว่าเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเช่น คลื่นความร้อน หรือพายุลูกใหญ่ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงกว่าเดิม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนในระยะยาวจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม กลายเป็นภัยต่อชุมชนเช่นอาจทำให้มนุษย์มีโอกาสป่วยและเสียชีวิตมากขึ้น หรือทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจำนวนมาก

Hurricane Ida Hits Louisiana. © NOAA
ภาพถ่าบดวเทียมเฮอริเคนไอดา (Hurricane Ida) ขณะกำลังพักผ่านรัฐหลุยส์เซียนา โดยเฮอริเคนดังกล่าวมีความแรงระดับ 4 ทำให้ระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคามกลายเป็นอัมพาต © NOAA

ไม่กี่วันหลังเฮอริเคนไอดา (Hurricane Ida) พัดถล่มนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทำให้การคมนาคมกลายเป็นอัมพาตและมีผู้เสียชีวิตจากเฮอริเคนดังกล่าว เฮอริเคนไอดาไม่หยุดเท่านั้น พายุยังพัดผ่านรัฐหลุยส์เซียนาในความเร็วลมระดับ 4 (มีความเร็วประมาณ 150 ไมล์ต่อชั่วโมง) ทำให้เกิดดินถล่ม หลังจากนั้นจึงอ่อนกำลังลงและพัดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา

ภาพจากมหานครนิวยอร์กแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากเฮอริเคนต่อระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคม อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นอีกว่าโลกของเรายังไม่พร้อมที่จะรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นจากสภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้วซึ่งมีสาเหตุจากการนำเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้ เป็นตัวการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในช่วงเวลาเดือนเศษๆ นิวยอร์กต้องเจอกับฝนตกหนักทำลายสถิติเดิมถึง 2 ครั้ง ปริมาณน้ำฝน 1 ชั่วโมงที่วัดได้ในเซ็นทรัลปาร์คเมื่อวันที่ 1 กันยายนสูงถึง 3.15 นิ้ว ทำลายสถิติปริมาณน้ำฝนของพายุโซนร้อนอองรี (Henri) ในวันที่ 21 สิงหาคม ซึ่งก่อนหน้านี้สถิติสูงสุดถูกบันทึกไว้เมื่อ 133 ปีก่อน

ทั้งนี้เหตุการณ์น้ำท่วมแบบนี้ไม่ได้เป็นอันตรายแค่ในนิวยอร์กเท่านั้น แต่ทางตอนใต้ของรัฐนิวเจอซี่ก็เคยเจอกับผลกระทบจากทอร์นาโด ยังมีรัฐคอนเนคติคัต รัฐเพนซิเวเนียร์ และรัฐแมร์รี่แลนด์

พายุเหล่านี้ไม่ได้นึกอยากจะเกิดก็เกิด แต่หลายสัปดาห์ไม่นานมานี้เกิดภัยพิบัติทั่วโลก เป็นผลพวงมาจากผลกระทบสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งภัยพิบัติด้านต่างๆเช่น ไฟป่าในแคลิฟอเนียร์และป่าแอมะซอน ตุรกี กรีซ รัสเซีย และอีกหลายเมือง ก่อนหน้านี้ก็เกิดคลื่นความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นในแคนาดาไปจนถึงโมร็อกโก ส่วนที่ญี่ปุ่น บังคลาเทศ คิวบา และเบลเยียม ล้วนเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมทั้งสิ้น

ในขณะเดียวกัน เมืองชายฝั่งทั่วเอเชียกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากน้ำท่วมที่มากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุโซนร้อนที่เข้มข้นมากขึ้น คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) เตือนว่า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ระหว่าง 0.43-0.84 เมตรภายในปี พ.ศ.2643 (IPCC, 2019) ขณะเดียวกัน ตลอดศตวรรษที่ 21 พายุมีความเร็วลมรุนแรงซึ่งสร้างความเสียหายมากขึ้น คลื่นพายุซัดฝั่งที่สูงขึ้น และปริมาณน้ำฝนที่มีสภาวะสุดขีดมากกว่าในอดีต

Overflight in Sena Madureira under Flood, Acre, Brazil. © Alexandre Noronha / Greenpeace
แม้ว่าบราซิลยังคงอยู่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ยังต้องต่อสู้เพื่อที่ดินทำกินกับอุตสาหกรรมใหญ่ที่เข้ามายึดครองพื้นที่เพื่ออุตสาหกรรมเกษตร และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ของเกษตรกรบางคนจมอยู่ใต้น้ำเนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 © Alexandre Noronha / Greenpeace

จากรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (the Sixth Assessment Report) ส่วนที่ 1 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่ระบุถึงการเกี่ยวโยงระหว่างการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเป็นสิ่งชัดเจนแล้วว่าเราจำเป็นต้องลงมือแก้ปัญหา ‘เดี๋ยวนี้’ ดังที่ U.N. Secretary-General António Guterres ให้คำนิยามรายงานชิ้นนี้ว่าเป็น ‘รหัสฉุกเฉินสำหรับมนุษยชาติ’ 

ไกซ่า โคโซเนน ที่ปรึกษาทางการเมืองอาวุโสของกรีนพีซ ให้ความเห็นว่า “เราจะไม่ปล่อยให้รายงาน IPCC นี้เก็บไว้บนหิ้งแล้วไม่ทำอะไรเลย เราจะใช้เพื่อเรียกร้องการที่รายงาน IPCC ยืนยันอย่างหนักแน่นถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมของมนุษย์และสภาพอากาศที่รุนแรงสุดขั้วนั้นทำให้เราทุกคนไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อทำให้อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและรัฐบาลต่าง ๆ รับผิดชอบโดยตรงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้คือคำสั่งศาลที่ให้บริษัทเชลล์ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เราตระหนักว่าวิทยาศาสตร์ในรายงานของ IPCC นั้นทรงพลังเพียงใด”

Floods in South Kalimantan. © Putra / Greenpeace
เหตุการณ์น้ำท่วมหนักในทางตอนใต้ของกาลิมันตัน © Putra / Greenpeace

แม้ว่าหลายประเทศได้ประกาศให้คำมั่นสัญญาที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อชะลอไม่ให้สภาพภูมิอากาศที่วิกฤตอยู่แล้วเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม อย่างไรก็ดีเรายังไม่เห็นถึงความจริงจังต่อประเด็นนี้มากพอ ไม่ต้องมองไปถึงประเทศที่อยู่ไกลออกไปเพราะเพียงแค่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วเราก็ยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวหรือแรงผลักดันในการแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมเลย 

ดังนั้น รัฐบาลและบริษัทอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เห็นผลประโยชน์มากกว่าชีวิตประชาชนจะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

เราคงไม่ต้องสงสัยแล้วว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นหรือยัง เพราะตอนนี้มันได้เกิดขึ้นแล้วและเราคงไม่ต้องการให้อนาคตของโลกเลวร้ายไปมากกว่านี้ ดังนั้นเราจะต้องเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิล มาเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดแทน


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ New York City flooding is the new climate crisis normal

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม