1.เอกสาร การประเมินมูลค่าความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม

เอกสารจากเวทีเสวนาออนไลน์ Live Stream เวทีสาธารณะออนไลน์ ทางเฟสบุค Greenpeace Thailand เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ในหัวข้อ “#ผนงรจตกม : ปัดตกกฎหมาย! ผู้ก่อมลพิษไม่ต้องจ่าย?” ร่วมจัดโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ X มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม x EEC Watch X Greenpeace Thailand

 นำเสนอโดย สมบัติ เหสกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ เรื่องการประเมินมูลค่าความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ที่ควรคิดต้นทุนทั้งหมดในทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งรวมถึงค่าเสียโอกาสที่รัฐต้องไปเรียกเก็บกับเอกชนที่เป็นผู้ก่อมลพิษ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงความเสียหายทั้งทางตรง ทางอ้อม และในระยะยาว เช่น ผลกระทบทางสุขภาพซึ่งต้องมองถึงผลกระทบระยะยาวกว่า 10 ปี ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการรักษาและการฟื้นฟู

2. เอกสาร Presentation รู้จัก (ร่าง) กฎหมาย PRTR

นำเสนอโดย เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง มูลนิธิบูรณะนิเวศ

Pollutant Release and Transfer Register หรือ PRTR คือทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ 

PRTR จะช่วยให้มีการเปิดเผยข้อมูลปริมาณสารเคมีที่โรงงานแต่ละแห่งใช้ เคลื่อนย้าย หรือปลดปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม หัวใจของหลักการนี้คือการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เพื่อให้ชุมชนและประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง

ประเทศไทยจำเป็นต้องมี PRTR เพื่อใช้ประกอบการวางนโยบาย ไม่เพียงแค่สำหรับภาคอุตสาหกรรม แต่ยังสามารถนำข้อมูลมาบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงสาธารสุข เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการดูแลสุขภาพของประชาชน 


รับชม Live Stream เวทีสาธารณะย้อนหลังได้ ที่นี่

#PRTR

#RightToKnow

#CommunitiesRightToKnow

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม