หากต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเราจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับระบบทั้งหมด

City Trash Hunt and Brand Audit in South Korea. © Soojung Do / Greenpeace
© Soojung Do / Greenpeace

เกิดอะไรขึ้น

บริษัทหลายแห่งอย่างโคคา-โคล่า เป๊ปซี่ และเนสท์เล่ยังคงใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งในผลิตภัณฑ์ของตน ซึ่งนอกจากจะสร้างมลพิษให้กับโลกและขยะพลาสติกมากมายแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมก๊าซและน้ำมันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

หลายบริษัทในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลาสติกอย่าง ExxonMobil, Shell, Ineos, และ Chevron Phillips นอกจากต้องรับผิดชอบต่อปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศแล้ว พวกเขายังต้องรับผิดชอบต่อการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งให้กับแบรนด์ใหญ่ ๆ ด้วย 

น่าเสียดายที่แม้ว่าผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคตระหนักถึงความเลวร้ายของปัญหาพลาสติก นำเสนอแผนประชาสัมพันธ์ว่าตนเองตระหนักถึงเรื่องนี้และทำโครงการนำร่องให้ลูกค้าใช้ภาชนะใช้ซ้ำ แต่สุดท้ายแล้วผู้ผลิตก็ยังคงทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ซึ่งหมายความว่าจะยังคงมีการสร้างพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งออกมาอีกมากมาย และเป็นการทำงานเพื่อรักษารูปแบบธุรกิจแบบเดิมของตนไว้ ภาคธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 

Ship Channel and Oil Facilities in Texas. © Aaron Sprecher / Greenpeace
© Aaron Sprecher / Greenpeace

แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร

พวกเรากำลังโดนหลอก

โคคา-โคล่าหรือโค้ก รวมถึงบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ อ้างว่ากำลังจัดการกับปัญหามลพิษพลาสติก แต่ในขณะเดียวกันพวกเขายังคงร่วมงานกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล คำโกหกที่พวกเขาใช้คือ “ทางออกของการยุติมลพิษพลาสติกคือการรีไซเคิล”

มีขยะพลาสติกเพียง 2% เท่านั้นจากขยะพลาสติกทั้งหมดที่ถูกนำไปรีไซเคิล ทั้ง ๆ ที่มันเป็นจำนวนที่น้อยมาก ๆ แต่ในคำมั่นสัญญาของแบรนด์ในการรีไซเคิล แบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคยังคงใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งมาห่อ (Wrapping) ผลิตภัณฑ์ได้ เพื่อช่วยในเรื่องความสะดวกสบายเพียงแค่ไม่กี่วินาที แต่พลาสติกชิ้นดังกล่าวจะอยู่บนโลกใบนี้ไปอีกนานนับร้อยปี

“พลาสติก” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัญหาขยะที่ถูกทิ้งให้ลอยอยู่ตามมหาสมุทร แต่มันคือปัญหาที่เกี่ยวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ สุขภาพ และความยุติธรรมทางสังคมด้วยเช่นกัน 99% ของพลาสติกผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศผ่านวงจรชีวิตพลาสติก พลาสติกคือมลพิษทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วินาทีแรกที่มันถูกผลิตขึ้นมา 

Project North Sea: Activists Prepare for Action in Denmark. © Andrew McConnell / Greenpeace
© Andrew McConnell / Greenpeace

เราทำอะไรได้บ้าง

เรากำลังขัดขวางธุรกิจที่ก่อมลพิษของพวกเขา

ผู้คนทั่วโลกกว่าล้านคนกำลังดำเนินการกับบริษัทต่าง ๆ เช่น โคคา-โคล่า เป๊ปซี่ และเนสท์เล่ เพื่อเรียกร้องให้บริษัทหยุดใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น ลงชื่อผ่านข้อเรียกร้อง ร่วมมือกับธุรกิจในท้องถิ่น ล็อบบี้กับทางภาครัฐ กดดันนักลงทุนและทำงานในระดับชุมชนเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจที่ใช้ภาชนะแบบใช้ซ้ำ

การเคลื่อนไหวนี้ส่งผลกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาครัฐทั่วโลก  ทุกภาคส่วนมีความเห็นตรงกันว่าเราต้องจัดการกับปัญหานี้อย่างจริงจังได้แล้ว

ความคิดเห็นของกรีนพีซ

อาบิเกล อกริลลา ผู้ประสานงานรณรงค์พลาสติก กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า “ไม่แปลกใจที่ผลการตรวจสอบแบรนด์จากขยะพลาสติกพบว่า บริษัทข้ามชาติรายใหญ่ที่เป็นผู้ก่อมลพิษพลาสติกอันดับต้น ๆ ของโลกติดต่อกันสามปี บริษัทเหล่านี้อ้างว่าตนกำลังจัดการกับปัญหามลพิษพลาสติก แต่ในขณะเดียวกันพวกเขายังคงลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกอย่างผิด ๆ โดยการร่วมมือกับบริษัทน้ำมันเพื่อผลิตพลาสติกให้ได้มากขึ้น หากต้องการแก้ไขปัญหานี้และต่อสู้กับปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศแบรนด์ใหญ่ ๆ ต้องยุติการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งและหลีกเลี่ยงเชื้อเพลิงฟอสซิล”

สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นตอนนี้

โคคา-โคล่า เนสท์เล่ และเป๊ปซี่ มีพลังในการสร้างความแตกต่างสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน เพื่อลดรอยเท้าพลาสติกและต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ บริษัทต้องหยุดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ถอยห่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และสนับสนุนกฎหมายที่เข้มแข็งของภาครัฐ

เมื่อไหร่ที่คนออกมาพูด แบรนด์ใหญ่ ๆ จะรับฟัง หากมีคนจำนวนมากออกมาเรียกร้องก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ให้บริษัทต่าง ๆ หยุดก่อมลพิษพลาสติก

เรียกร้องให้บริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมลดรอยเท้าพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง และหันมาลงทุนในระบบเติมและใช้ซ้ำแทน

_____________________________________________________

Graham Forbes is the Global Plastic Project Lead at Greenpeace USA