Shark in Palau. © Alex Hofford / Greenpeace
© Alex Hofford / Greenpeace
ผมไม่มีวันลืมวันแรกที่ได้ดำน้ำกับฉลาม

เหมือนเวลาหยุดเดินไม่ชั่วขณะ เมื่อสัตว์ที่แสนจะงดงามนี้อยู่ตรงหน้าผม ผู้คนจำนวนมากหวาดกลัวฉลาม แต่ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า จริงๆ แล้วอาจเป็นฉลามมากกว่าหรือเปล่าที่ควรหวาดกลัวเรา?

สมัยเด็ก ผมทั้งหลงใหลและหวาดกลัวฉลามมาก ผมชอบดูรายการ Shark Week มากและไม่อาจละสายตาจากทีวีไม่ได้เลย “แจ๊ค เดี๋ยวก็ฝันร้ายหรอก” ผมได้จำคำพูดของแม่ได้ซึ่งแม่เดาถูก แต่ผมก็ยังคงนั่งดูอยู่ไม่ห่างจอ 

ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนักล่าแห่งท้องทะเลเหล่านี้เวลาลงเล่นทะเล และผมมั่นใจว่าไม่ได้มีแต่ผมคนเดียวที่รู้สึกวิตกกังวลเมื่อต้องอยู่ในน้ำระดับที่ไม่สามารถยืนหรือเดินได้ ผมกลัวฉลามมาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อผมโตขึ้นอายุประมาณยี่สิบต้นๆ ความกลัวเหล่านี้หายไปเมื่อผมเริ่มดำน้ำลึก

‘ ความประหลาดใจ ที่ขับไล่ความกลัวให้หายไป’

Grey Reef Shark in Thaiti. © Paul Hilton / Greenpeace
ฉลามสีเทา © Paul Hilton / Greenpeace

ตอนที่ผมเห็นฉลามครั้งแรก พูดตามตรงว่าผมกลัวพวกมันมาก ตอนนั้นคิดแต่ว่าพวกมันจะเข้ามาทำร้าย แต่ทว่าความรู้สึกกลัวเหล่านั้นหายไปเมื่อฉลามว่ายผ่านผมไปโดยไม่ได้สนใจ มันว่ายน้ำออกไปตามวิถีชีวิตและเส้นทางของมัน การเคลื่อนไหวอย่างอิสระและสวยงามของฉลาม ทำให้ผมตกหลุมรักมันทันที ลืมความกลัวในใจที่มาตลอดชั่วชีวิตจนหมดสิ้น และทำให้ผมอยากจะเจอฉลามอีกในทุกๆ ครั้งที่ดำน้ำ

ฉลามตัวใหญ่และน่ากลัวที่สุดที่ผมเคยเจอตอนดำน้ำคือฉลามหางยาว พวกมันมีหางที่ยาวเพื่อทำให้ปลาหรือเหยื่อเกิดอาการมึนงงและง่ายต่อการล่ามากขึ้น ฉลามตัวที่ผมเจอยาวประมาณ4เมตร ตอนนั้นผมอายุ 12 ปีตื่นตะลึงกับขนาดที่ยิ่งใหญ่ของมัน ผมรู้สึกเหมือนกำลังฝันอยู่

ในเวลาที่คุณได้ยืนอยู่ต่อหน้าสัตว์ที่งดงามเหล่านี้คุณจะรู้สึกเหมือนเวลาหยุดชะงัก เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เข้าใจว่าธรรมชาติยิ่งใหญ่แค่ไหน เพราะแม้ว่าผมจะดำน้ำเข้าไปในถิ่นที่พวกมันอาศัยอยู่ แต่ฉลามนักล่าเหล่านี้กลับไม่แสดงท่าทีก้าวร้าวกับแขกผู้มาเยือนเลยสักนิด

Marine Life around FAD in the Pacific Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
© Paul Hilton / Greenpeace

จะบอกว่าผมหมกมุ่นกับฉลามก็ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าผมแค่อยากไปว่ายอยู่ในน้ำอยู่ท่ามกลางฉลามขาวตัวใหญ่เฉยๆ แม้ว่าผู้คนมักชอบไปดำน้ำสัมผัสสิ่งมีชีวิตที่สวยงามเหล่านี้ เพราะมันดูไม่ยุติธรรมเลยหากเรามองว่าฉลามดุร้ายเหมือนกันหมด  ในความจริงมีผู้คนหลายพันคนดำน้ำได้อย่างปลอดภัยแม้มีฉลามว่ายอยู่รอบข้าง แต่กลับไม่ใช่ภาพที่คนทั่วไปนึกถึงเวลาพวกเขานึกถึงฉลาม ฉลามกลายเป็นสัตว์ที่ถูกเข้าใจผิดมากที่สุดชนิดหนึ่ง และขัดแย้งกับความเป็นจริงมากที่สุดในโลก

มนุษย์น่ากลัวกว่าฉลามเสียอีก

ความจริงก็คือ เรามีแนวโน้มจะเสียชีวิตเพราะเดินตกท่อมากกว่าโดนฉลามทำร้ายเสียอีก แต่ผู้คนก็ยังรู้สึกกลัวฉลามมากกว่าการเดินบนฟุตบาธในกรุงเทพฯ ในทางกลับกันฉลามต่างหากที่ควรกลัวเวลาว่ายน้ำเจอมนุษย์ ข้อมูลทางสถิติคาดการณ์ว่า มนุษย์ฆ่าฉลามประมาณหนึ่งร้อยล้านตัวต่อปี นั่นหมายถึงฉลามจำนวน11,415ตัวจะโดนถูกฆ่าในทุกๆหนึ่งชั่วโมง เป็นความจริงที่น่าเศร้าที่1ใน3ของฉลามทุกชนิดกำลังใกล้สูญพันธุ์ 

ฉลามมักถูกฆ่าหลังจากติดมาพร้อมกับอวนประมงของสัตว์เป้าหมายสายพันธุ์อื่นๆ (bycatch) เช่น ทูน่า ) ในปีพ.ศ.2562 กรีนพีซพบว่าเรือประมงในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือจับฉลามมาโกที่ใกล้จะสูญพันธุ์ถึง25,000ตัวต่อปี เรือประมงดังกล่าวตั้งใจที่จะจับปลากระโทงดาบ  แต่กลับสังหารฉลามไปมากกว่าปลากระโทงดายถึง 4เท่า

Spanish Longliner Pedra da Grelo in the Atlantic Ocean. © Tommy Trenchard / Greenpeace
ภาพฉลามถูกจับและถูกดึงขึ้นไปบนเรือบริเวณทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก © Tommy Trenchard / Greenpeace

มนุษย์ล่าฉลามเพื่อต้องการครีบของมัน และเรายังเห็นผลิตภัณฑ์จากฉลามทั้งในอาหารเสริม อาหารสัตว์ หรือแม้แต่เครื่องสำอางอย่างมอยส์เจอร์ไรเซอร์ วางขายทั่วไป ทั้งนี้ เราเข้าใจผิดมาตลอดว่าวัฒนธรรมการบริโภคฉลามเแพร่หลายแค่ในทวีปเอเชียเท่านั้น แต่ในรายงานปีพ.ศ.2562 พบว่า มีเมนูเนื้อฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์เสิร์ฟในร้านอาหารในสหราชอาณาจักร

เราต้องอนุรักษ์ฉลามเพื่อมหาสมุทรอันอุดมสมบูรณ์

ฉลามอาศัยอยู่บนโลกนี้มานานกว่ามนุษย์ ประมาณ 450 ล้านปีมาแล้ว นานกว่าไดโนเสาร์ถึง 200 ล้านปี ก่อนหน้าจะเกิดสายพันธุ์ต้นไม้ขึ้นบนโลก ฉลามคือผู้ล่าที่อยู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร นั่นหมายความว่าฉลามจะช่วยดูแลมหาสมุทร และควบคุมจำนวนประชากรในท้องทะเล  เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ หากปราศจากฉลาม ระบบนิเวศจะสูญเสียความสมดุลไม่มีความสมดุลและอาจพังทลายลงในที่สุด

สิ่งหนึ่งที่คุณจะได้เรียนรู้เมื่อไปดำน้ำและพบฉลาม คือแนวปะการังบริเวณนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ถ้าแนวประการังอุดมสมบูรณ์ นักดำน้ำก็จะมีโอกาสเห็นฉลามมากขึ้นแต่น่าเสียดายที่ไม่ใช่ทุกคนจะพบเห็นฉลามได้ตามแหล่งดำน้ำทั่วโลก การได้พบฉลามตามแนวปะการังโดยบังเอิญนั้นจึงเป็นเรื่องมหัศจรรย์

Grey Reef Sharks in Thaiti. © Paul Hilton / Greenpeace
ฉลามสีเทา © Paul Hilton / Greenpeace

เราจะปกป้องฉลามได้อย่างไร?

FAD in the Pacific Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
© Paul Hilton / Greenpeace

มหาสมุทรอันอุดมสมบูรณ์คือหนึ่งในทางที่ดีที่สุดของการป้องกันวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และมหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์นั้นจำเป็นต้องมีฉลาม หากมหาสมุทรได้รับช่วงเวลาในการฟื้นฟูตัวเอง ผืนน้ำสีน้ำเงินแห่งนี้จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันน่าทึ่งในการฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติ แต่ปัจจุบัน มีพื้นที่มหาสมุทรไม่ถึง5%เท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครองไม่ให้มีกิจกรรมอุตสาหกรรม เช่น การประมงและการขุดเจาะน้ำมัน

เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ที่กรีนพีซรณรงค์ผลักดันให้เกิดการคุ้มครองพื้นที่มหาสมุทรอย่างน้อยร้อยละ 30 เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล (Marine Protection Areas) โดยสงวนห้ามทำกิจกรรมใดๆที่เป็นอันตรายต่อมหาสมุทร เราสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นผ่านสนธิสัญญาทะเลหลวง

ในปีพ.ศ.2562ที่ผ่านมา กรีนพีซเดินเรือสำรวจจากขั้วโลกเหนือจรดขั้วโลกใต้ เพื่อสำรวจและถ่ายทอดเรื่องราวภัยคุกคามมหาสมุทรในสถานที่ต่างๆ  ผ่านการเก็บข้อมูลสัตว์ทะเลที่น่าทึ่งและภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกลางทะเล ปัจจุบันมีผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกร่วมลงชื่อสนับสนุนให้เกิดสนธิสัญญาทะเลหลวงเพื่อปกป้องมหาสมุทร แม้ว่าการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้การเจรจาในประเด็นสนธิสัญญาทะเลหลวงครั้งที่4 ของสหประชาชาติจะถูกระงับไว้ แต่ข่าวดีก็คือ ในปีนี้ พ.ศ.2564 จะมีการเจรจาเประเด็นสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสนธิสัญญาทะเลหลวงขึ้นอีกครั้ง การเจรจาดังกล่าวจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม

Crew of MY Esperanza in Antarctica. © Andrew McConnell / Greenpeace
ในช่วงต้นปี 2563 ภารกิจการสำรวจมหาสมุทรจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ของเรือเอสเพอรันซา กรีนพีซ ประสบความสำเร็จพร้อมกับรายชื่อผู้สนับสนุนให้โลกมีเขตคุ้มครองทะเลและมหาสมุทรโลก ลูกเรือเอสเพอรันซาจึงร่วมกันส่งข้อความขอบคุณจากทวีปแอนตาร์ติก © Andrew McConnell / Greenpeace

สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้คือการผลักดันให้รัฐบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รับรองสนธิสัญญาดังกล่าว เพื่อเราจะได้มีเวลาฟื้นฟูทรัพยากรและเป็นพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับสัตว์ทางทะเลให้เจริญเติบโตได้ นอกจากนี้ กรีนพีซยังคงมุ่งมั่นรณรงค์ ในพื้นที่มหาสมุทรอินเดีย โดยจะใช้เรืออาร์กติกซันไรส์ เบื้องต้น เราพบว่า การประมงแบบทำลายล้าง ส่งผลให้ วาฬ โลมา และฉลามกว่า 100,000 ตัวถูกฆ่าในทุกๆปี ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังชาวประมงท้องถิ่นเพราะพวกเขาไม่สามารถหาปลาได้อีกด้วย

ร่วมกันเป็นกระบอกเสียงในการเรียกร้องเพื่อมหาสมุทรและสัตว์ทะเลได้กลับมาอาศัยอยู่ในบ้านที่อุดมสมบูรณ์ ร่วมผลักดันสนธิสัญญาทะเลหลวงกับกรีนพีซ

บทความนี้แปลจากภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

แปลโดย อลงกรณ์ ลัคนารจิต นักศึกษาฝึกงาน

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม