ขณะที่ 93% ของสัตว์ทะเลกำลังเผชิญหน้ากับประมงเกินขนาด เพียง 1% ของมหาสมุทรทั่วโลกได้รับการปกป้องจากอุตสาหกรรมประมงทำลายล้าง ทำให้ปลาสืบพันธ์ุทดแทนจำนวนที่โดนจับไปไม่ทัน

แต่หลายคนยังนิ่งเฉย พร้อมประโยคสุดฮิต “ยังเหลือปลาอีกเยอะแยะ” 

หารู้ไม่ว่า ตอนนี้ความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรตกอยู่ในเงื้อมมือของอุตสาหกรรมประมงพาณิชย์ การทำเหมือง หรือการขนส่งสินค้าไปแล้ว

อุปกรณ์ล่อปลาแบบโครงสร้างถาวร (Fish Aggregating Devices หรือ FADs) 

ความล้มเหลวของระบบ 

สิ่งหนึ่งที่อุตสาหกรรมที่กล่าวไปข้างต้นมีร่วมกันคือ การหากินบนความทุกข์ของท้องทะเล 

การประมงทูน่าครีบเหลืองเป็นหนึ่งในตัวอย่าง ทูน่าครีบเหลืองในมหาสมุทรอินเดียเผชิญกับประมงเกินขนาดมาตั้งแต่ปี 2558

การจับปลาเกินขนาดกระทบต่อชุมชนประมงในประเทศเล็กๆอย่างมอริเชียสและเซเชลส์  ชาวประมงพื้นบ้านที่ใช้ประมงยั่งยืนจะเอาอะไรไปแข่งกับเรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทอดแหทีไรได้แต่ “น้ำกับอากาศ”

เพื่อจัดการกับปัญหา เมื่อ 5 ปีที่แล้ว หลายๆรัฐบาลเลยตกลงแผนฟื้นฟูปลาทูน่าครีบเหลือง แต่จากข้อมูลกลับพบว่ามีการจับเกินขนาดมากขึ้นเสียอีก 

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าหากยังเป็นแบบนี้ต่อไป ทูน่าครีบเหลืองมีโอกาสสูญพันธุ์ก่อนปี 2567 

เรืออวนลากเชิงอุตสาหกรรมที่กวาดต้อนสัตว์น้ำทุกชนิด

รอไม่ไหว เราทำอะไรได้บ้าง

นานแค่ไหนแล้วที่เรารอให้ภาครัฐหรือผู้มีอำนาจแก้ปัญหาการประมงทำลายล้าง ที่กวาดล้างทรัพยากรทางทะเลแลกกับความมั่งคั่งส่วนตัว

ความล้มเหลวในการจัดการกับประมงทำลายล้างทำให้จำนวนฉลามลดลงฮวบฮาบ ทูน่าครีบเหลืองก็ใกล้สูญพันธุ์เต็มที ส่วนอุตสาหกรรมประมงก็ยังคงเดินหน้าทำลายท้องทะเล กินพื้นที่มากขึ้นเรื่อย ๆ 

ครีบฉลามตากแห้งบนเรือที่สัญชาติญี่ปุ่นที่ใช้อุกรณ์ประมงผิดกฎหมายเช่นเบ็ดราว (Matsuei Maru no 11)

ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่าเราหวังให้ผู้มีอำนาจลงมือเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว เราต้องลงมือทำด้วยตัวเราเอง 

กรีนพีซจึงอยากชวนคุณร่วมลงนามใน สนธิสัญญาทะเลหลวง กับคนนับล้านทั่วโลกเพื่อบอกรัฐบาลว่ามันถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงซะที  

สนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) จะช่วยกระจายเสียงของเราให้รัฐบาลรู้ว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในมหาสมุทรมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูของสิ่งมีชีวิต มหาสมุทรต้องปราศจากการทำเหมือง มลภาวะ และการทำประมงทำลายล้าง 

สนธิสัญญานี้จะช่วยปกป้องมหาสมุทรอินเดีย ฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับชุมชนชายฝั่งและสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล และปกป้องพวกเขาจากประมงทำลายล้างและภัยคุกคามอื่น ๆ 

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม