เมื่อพูดถึงวาฬ เรามักจะนึกถึงวาฬที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งขนาดตัวของมันมีความยาวเทียบเท่ากับรถบัส ฝูงช้างหรือไดโนเสาร์ เรื่องราวที่เราจะเสนอต่อจากนี้อาจเซอร์ไพรซ์คุณเพราะเป็นเรื่องที่เราอาจคาดไม่ถึงเลยนั่นคือ วาฬปิ๊กมี่น้ำเงินที่อาศัยอยูในมหาสมุทรอินเดีย

วาฬปิ๊กมี่น้ำเงินเป็นวาฬสายพันธ์ุหนึ่งของวาฬสีน้ำเงินที่อาศัยในแถบโลกเขตร้อน พวกมันมีความยาวเพียง24เมตร เมื่อเทียบกับญาติวาฬน้ำเงินที่มีความยาวประมาณ30เมตร อีกทั้งพวกมันยังมีน้ำหนักโดยรวมเพียงครึ่งหนึ่งของวาฬน้ำเงินทั้งหมดในแอนตาร์กติก

เพิ่งจะมีการค้นพบวาฬสายพันธุ์ย่อยหลายชนิดเมื่อไม่นานมานี้ ในขณะที่วาฬสายพันธุ์ใหญ่โดยเฉพาะวาฬสีน้ำเงินนั้นถูกล่าในเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และ 20 การค้นพบนี้ทำให้เราได้รู้ว่าการล่าวาฬกลายเป็นภัยคุกคามที่ทำให้จำนวนวาฬลดลง ทั้งประชากรโดยรวมและวาฬสายพันธุ์ท้องถิ่น เมื่อเหล่าประเทศที่ล่าวาฬในเชิงพาณิชย์วางแผนร่วมจัดตั้งคณะกรรมการล่าวางวาฬระหว่างประเทศในปีพ.ศ.2489 เราจึงทราบถึงจำนวนที่แท้จริงของวาฬที่ถูกล่า อย่างไรก็ตามก็ยังมีการโต้เถียงถึงการบันทึกจำนวนสายพันธุ์วาฬอยู่ ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก็แสดงให้เห็นว่า ที่ผ่านมาเรายังไม่รู้จักโลกของวาฬมากพอ ทั้งในเรื่องนิสัยการผสมพันธุ์รวมไปถึงการสื่อสารและวิถีชีวิตในฝูง ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีการค้นพบวาฬสายพันธุ์ใหม่ๆอยู่

วาฬปิ๊กมี่น้ำเงินโผล่ขึ้นเหนือน้ำที่มีความลึกถึง 250ไมล์ทางตะวันตกของมาปูโต เมืองหลวงประเทศโมซัมบิก © Paul Hilton / Greenpeace

แล้วจำนวนประชากรวาฬสำคัญต่อเราอย่างไร ?  คำตอบคือ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เราได้ทราบว่าวาฬ(หรือสัตว์สายพันธุ์อื่นๆที่มีลักษณะเหมือนกัน) เป็นสัตว์ที่ไม่ได้มีเครือญาติมากมาย ยิ่งทำให้พวกมันอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์มากกว่าเดิม ดังนั้นการเปิดให้มีเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลกและการจำกัดการรบกวนของมนุษย์จะมีส่วนสำคัญเนื่องจากวาฬมีจำนวนประชากรที่น้อยมาก

ผลจากการล่าวาฬเชิงพาณิชย์ทำให้จำนวนวาฬน้ำเงินทั่วโลกลดลงเหลือประมาณร้อยละหนึ่งจากจำนวนก่อนหน้านี้  และเราอาจจะสูญเสียจำนวนประชากรวาฬสายพันธุ์ย่อยต่างๆโดยที่เราไม่รู้ตัว

นิทรรศการความหวังแห่งท้องทะเล ณ สถานีกลางโคเปนเฮเกน โดยแสดงให้เห็นถึงความสวยงามและภัยคุกคามที่มหาสมุทรโลกกำลังเผชิญ © Mathilde Grafström / Greenpeace

วาฬปิ๊กมี่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรอินเดียมีลักษณะแตกต่างจากเครือญาติวาฬที่อยู่อาศัยในแอนตาร์กติก เพราะว่าพวกมันต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามของอุตสาหกรรมในมหาสมุทร ถูกรบกวนจากมลพิษทางเสียงในมหาสมุทร เช่นเรือขนาดใหญ่และการทำลายถิ่นอาศัยของพวกมัน ซึ่งนับว่าเป็นภัยอันตรายที่รุนแรงต่อความเป็นอยู่ของวาฬชนิดดังกล่าวและยังมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

วาฬน้ำเงินปิ๊กมี่กำลังว่ายน้ำผ่านแสงที่ลอดลงมาในน้ำทะเล © Greenpeace / Paul Hilton

ในขณะเดียวกัน เรารู้ดีว่าสัตว์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ต้องการสิทธิในการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดีเท่านั้น แต่ยังต้องการพลังจากคนทั่วโลกที่จะมาช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทำให้มหาสมุทรมีความอุดมสมบูรณ์และเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิต

เหล่าวาฬปิ๊กมี่ตัวน้อยมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ เราจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรที่เป็นดั่งบ้านของวาฬเพื่ออนาคตที่อุดมสมบูรณ์ วาฬคือสัตว์ทะเลที่มีอายุยืนยาวและสัตว์ที่สามารถเดินทางไกล เราต้องมั่นใจว่าพื้นที่อันกว้างใหญ่ในมหาสมุทรจะเป็นเขตคุ้มครองทางทะเลที่คอยปกป้องพวกมัน เป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์และเป็นพื้นที่ในการฟื้นฟูสายพันธุ์สัตว์ทะเล

ลูกเรือกรีนพีซมองไปยังธารน้ำแข็งจากหัวเรืออาร์กติกซันไรส์ที่อยู่ใกล้กับขอบน้ำแข็งทะเล © Daniella Zalcman / Greenpeace

เราขอขอบคุณเสียงสนับสนุนจากประชาชนทั่วโลกที่ทำให้มีการสั่งห้ามการล่าวาฬเชิงพาณิชย์ในระดับโลกในปีพ.ศ.2529  ซึ่งในตอนนี้เราต้องการความร่วมมือจากทั่วโลกอย่างเร่งด่วนอีกครั้ง เพื่อสร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลและมหาสมุทรโลกเพื่อการปกป้องวาฬและถิ่นอาศัย โดยเรืออาร์กติกซันไรส์ของกรีนพีซเดินทางไปยังมหาสมุทรอินเดียเพื่อสำรวจภัยคุกคามในมหาสุมทรและเรียกร้องต่อผู้นำโลกในการปกป้องวาฬ ซึ่งตอนนี้มีผู้เข้าร่วมถึง3.5ล้านคนจากทั่วโลก ร่วมลงนามในการร้องเรียนการปกป้องวาฬและมหาสมุทรที่เป็นดั่งบ้านของเหล่าวาฬกันเถอะ 

บทความนี้แปลจากภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

แปลโดย อลงกรณ์ ลัคนารจิต นักศึกษาฝึกงาน

วาดภาพ ปรียนันท์ ล้อธนวิจิตร นักศึกษาฝึกงาน

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม